อำเภอค่ายบางระจัน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ค่ายบางระจัน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี
อำเภอค่ายบางระจัน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khai Bang Rachan |
คำขวัญ: น้ำตาลสดรสหวาน ถิ่นฐานเกษตรวิถีไทย แดนวิไลพุทธศาสน์ ถิ่นนักรบชาติวีรชน | |
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภอค่ายบางระจัน | |
พิกัด: 14°48′1″N 100°18′39″E / 14.80028°N 100.31083°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สิงห์บุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 88.4 ตร.กม. (34.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 27,466 คน |
• ความหนาแน่น | 310.70 คน/ตร.กม. (804.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 16150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1703 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอค่ายบางระจัน หมู่ที่ 9 ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 16150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้อำเภอค่ายบางระจันเดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอำเภอบางระจัน กำเนิดขึ้นมาเนื่องจากเมื่อ พ.ศ. 2509 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าการบูรณะค่ายบางระจันอันเป็นสถานที่ชาวบ้านบางระจันได้สร้างวีรกรรมปรากฏ จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2308 เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นวีรกรรม ซึ่งแสดงถึงความสามัคคี กล้าหาญ อดทน เสียสละ และเหนือสิ่งอื่นใด คือความรักชาติอันยิ่งใหญ่สมควรเป็นตัวอย่างอันดีงาม แก่อนุชนไทยรุ่นหลังที่จะจดจำไปชั่วกัลปวสาน จึงมอบให้กระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันพิจารณาฟื้นฟูบูรณะค่ายบางระจัน ซึ่งขณะนั้นคงมีเหลือแต่ซากเจดีย์ และวิหารเล็ก ๆ ที่ปรักหักพังกับเนินดินที่ใช้เป็น แนวกำบังต่อสู้พม่าเหลืออยู่เป็นบางตอนเท่านั้น
ผลการประชุมของคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะค่ายบางระจัน ครั้งที่ 1/2509 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2509 มีข้อหนึ่งว่า “การบูรณะท้องที่ให้เจริญก็เช่นเดียวกัน มอบให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ขอให้จังหวัดทำ เรื่องเสนอกระทรวงมหาดไทยให้จัดตั้ง กิ่งอำเภอค่ายบางระจันขึ้นที่ตำบลบางระจัน เพื่อให้ท้องที่นี้เกิดความเจริญเป็นปึกแผ่นด้วย” ในที่สุดกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2515 แบ่งท้องที่อำเภอบางระจันตั้งเป็น กิ่งอำเภอค่ายบางระจัน ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่1 กุมภาพันธ์ 2515 เป็นต้นไป และต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2519
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอค่ายบางระจันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางระจัน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสิงห์บุรีและอำเภอท่าช้าง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าช้าง และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอค่ายบางระจันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[1] |
---|---|---|---|
1. | โพทะเล | Pho Thale | 4,592
|
2. | บางระจัน | Bang Rachan | 7,142
|
3. | โพสังโฆ | Pho Sangkho | 6,435
|
4. | ท่าข้าม | Tha Kham | 4,420
|
5. | คอทราย | Kho Sai | 2,539
|
6. | หนองกระทุ่ม | Nong Krathum | 2,473
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอค่ายบางระจันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลโพสังโฆ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโพสังโฆ
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพทะเลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบางระจัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางระจันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพสังโฆ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพสังโฆ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโพสังโฆ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคอทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอทรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.