นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์

นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ หรือที่รู้จักกันดีในฉายา น้าต๋อย เซมเบ้[1] เป็นนักพากย์การ์ตูน โทรทัศน์ และภาพยนตร์ ที่เป็นที่รู้จักคนหนึ่งของเมืองไทย โดยสร้างชื่อจากการพากย์การ์ตูน ในรายการ ช่อง 9 การ์ตูน ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (ปัจจุบันคือเอ็มคอตเอชดี) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524

นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย
อาชีพนักพากย์, พิธีกร
คู่สมรสอัญชลี บุณยรัตพันธุ์
บุตรชิษณุ บุณยรัตพันธุ์
ภาณุ บุณยรัตพันธุ์

นิรันดร์เคยเลิกพากย์อนิเมะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ด้วยปัญหาสุขภาพ โดยป่วยเป็นโรคหอบหืด และหันไปพากย์ภาพยนตร์จีนและซีรีส์เกาหลีทางช่อง 7 แทน[2] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2559 เขาได้มีโอกาสกลับมาพากย์อนิเมะเซเลอร์มูน คริสตัล อีกครั้งในบทบาทของ "หน้ากากทักซิโด้"[3]

ประวัติ แก้

นิรันดร์สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เริ่มฝึกพากย์จากการชมภาพยนตร์ฮอลลีวูด แต่มีชื่อเสียงจากการพากย์การ์ตูน โดยการ์ตูนที่พากษ์เป็นเรื่องแรกคือ หน้ากากเสือ ส่วนการพากษ์อันเป็นที่จดจำคือ บท ดร. โนริมากิ เซมเบ้ ผู้สร้างหุ่นแอนดรอยด์ชื่ออาราเล่ ในเรื่อง ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่ จนเป็นที่มาของฉายาว่า น้าต๋อยเซมเบ้

ในระยะหลัง นิรันดร์พากย์ภาพยนตร์ชุดเกาหลี และภาพยนตร์ช่วงบิ๊กซินีมา ทางช่อง 7 สี มากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ลดบทบาทการพากย์ในโมเดิร์นไนน์การ์ตูน ทั้งนี้ ในการ์ตูนหลายเรื่อง นิรันดร์และสุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (น้าติ่ง) ยังพากย์เป็นตัวละคร ที่มีความสัมพันธ์กัน เช่นคู่หู (ดิจิมอนเซฟเวอร์ส, คู่ซ่าฮาเฮx2) พี่น้อง (เทพอสูรจิ้งจอกเงิน) พ่อ-ลูก (ศึกจอมเวทปราบมาร) เป็นต้น

นิรันดร์มีบุตรชายที่เป็นนักพากย์การ์ตูนเหมือนกันคือ ชิษณุ (ต๋อม) และภาณุ (ตั๋ม) ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 นิรันดร์เปิดเผยผ่านสื่อสังคมว่า ตนป่วยเป็นโรคหอบหืด ปัจจุบันรับงานพากย์ภาพยนตร์จีนและเกาหลี ที่มักเป็นตัวร้ายและตัวตลก ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และเลิกพากย์การ์ตูนทางโมเดิร์นไนน์ทีวี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554[2]

ผู้ที่พากย์เสียงแทน แก้

ในช่วงที่นิรันดร์ป่วยและไม่สามารถรับงานพากย์เสียงให้กับทางช่อง 9 จึงทำให้นักพากย์คนอื่นๆ ได้ถูกมารับงานพากย์ต่อ ทั้งเรื่องที่ได้ถูกนำไปพากย์เสียงใหม่และเรื่องที่ยังออกอากาศอยู่ ยกเว้นบางเรื่องที่ยังให้พากย์เสียงได้นั่นก็คือ โดราเอมอน (เฉพาะภาพยนตร์), เซเลอร์มูน เป็นต้น

นักพากย์ บทพากย์ เรื่อง หมายเหตุ
ธนกฤต เจนครองธรรม โกดะ ทาเคชิ โดราเอมอน พากย์เฉพาะทีวีซีรีส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน
โนริมากิ เซมเบ้ ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่ พากย์ใหม่ เฉพาะทีวีซีรีส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2560
อภินันท์ ธีระนันทกุล ทาเคชิ โปเกมอน พากย์เฉพาะภาค ไดมอนด์ & เพิร์ล
ไกวัล วัฒนไกร คูรุรุ
ผู้บรรยายเรื่อง
เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก พากย์ตั้งแต่ปี 5 เป็นต้นไป

ผลงาน แก้

ผลงานที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำของแฟนการ์ตูนเมืองไทย มีดังนี้

การ์ตูนญี่ปุ่น แก้

ภาพยนตร์แนวโทคุชัทสึ แก้

การ์ตูนไทย แก้

  • ม้าเหล็ก (การ์ตูนแอนนิเมชัน เปิดตัว อัลบั้ม ม้าเหล็ก ของ อำพล ลำพูน) รับบทเป็น ม้าเหล็ก, ผู้บรรยาย, ลูกสมุนโรงงานนรก
  • สี่สหายล่าเหรียญพลัง รับบทเป็น บันไซ
  • ซุปเปอร์มอลต์พิทักษ์โลก (การ์ตูนแอนิเมชัน ของโอวัลติน) รับบทเป็น ซุปเปอร์มอลต์, วิมปี้
  • เดอะไดอารี่ บันทึกประวัติศาสตร์ชาติไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รับบทเป็น คุณปู่

ภาพยนตร์ต่างประเทศ แก้

ผลงานการแสดง แก้

เกม แก้

อื่น ๆ แก้

  • เป็นเจ้าของบริษัท ตูนส์ ทาวน์ ผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่อง "คริสตัลไนท์" หนังฮีโร่แนวแปลงร่างของไทย ซึ่งนิรันดร์ได้เป็นผู้เขียนบท กำกับ และร่วมแสดงด้วย
  • คู่หู คู่ฮา
  • ฮงกิลดง จอมโจรโดนใจ
  • พากย์ซีรีส์เกาหลีของช่อง 7 (เฉพาะบางเรื่อง)
  • พากย์ภาพยนตร์ในช่วง บิ๊กซีนีม่า (เฉพาะบางเรื่อง) เช่นมนุษย์ตัวเขียวจอมพลังภาค 1-ภาค 2
  • Spelling IS FUN WITH WILLY BEETLE เกมฝึกทักษะการสะกดคำภาษาอังกฤษ เสียงพากย์เป็น แมลงเต่าทองวิลลี
  • เสียงพากย์มวยไทย ในละคร มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 7 (2538)
  • การ์ตูนอะนิเมชั่น เดอะไดอารี่ บันทึกประวัติศาสตร์ชาติไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์" ผลิตโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และ ดิจิตัลทีวี

อ้างอิง แก้

  1. การ์ตูนไทยไปถึงไหนแล้ว? EP.2 เจาะลึกถึงแก่น...เหตุใดการ์ตูนไทยไม่บูม! - ไทยรัฐ
  2. 2.0 2.1 "'น้าต๋อย เซมเบ้' ป่วย! น้ำหนักลด 10 กก. เผยหยุดพากย์การ์ตูน 3 ปีแล้ว". ไทยรัฐออนไลน์. 28 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ""น้าต๋อย เซมเบ้" เตรียมคืนจอ พากย์ "เซเลอร์มูน" หลังป่วยหนักห่างจอร่วม 4 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-29. สืบค้นเมื่อ 2016-04-28.
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้