พระธรรมมุนี (แพ เขมงฺกโร)

พระธรรมมุนี นามเดิม แพ ใจมั่นคง ฉายา เขมงฺกโร เป็นเกจิอาจารย์และพระราชาคณะชั้นธรรมฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุลทองและเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

พระธรรมมุนี

(แพ เขมงฺกโร)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ชื่ออื่นหลวงพ่อแพ
ส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2448 (94 ปี 40 วัน ปี)
มรณภาพ10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 4 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
บรรพชา15 เมษายน พ.ศ. 2463
อุปสมบท21 เมษายน พ.ศ. 2469
พรรษา73
ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

ประวัติ แก้

หลวงพ่อแพ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ณ บ้านสวนกล้วย ตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรของนายเทียนและนางหน่าย ใจมั่นคง เมื่ออายุได้ 8 เดือน มารดาถึงแก่กรรม นายบุญและนางเพียร ขำวิบูลย์ จึงรับไปเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุได้ 11 ปี ท่านมาศึกษาอักษรขอมกับพระอาจารย์สมที่วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร จนอายุ 16 ปีจึงกลับสิงห์บุรีเพื่อบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดพิกุลทอง แล้วกลับมาศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่วัดชนะสงคราม จนสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ตาอักเสบเนื่องจากหักโหมดูหนังสือ จึงหันไปศึกษากรรมฐานที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร แล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2469 โดยมีพระมงคลทิพมุนี (มุ้ย ปณฑิโต) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมงฺกโร" แล้วกลับไปจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม[1]

พ.ศ. 2474 ท่านรับนิมนต์จากชาวบ้านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทองแทนเจ้าอาวาสรูปเดิมที่ลาสิกขา ระหว่างดำรงตำแหน่งท่านมีชื่อเสียงจากการสร้างพระเครื่องหลายรุ่น และได้พัฒนาวัดและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์หลายประการ เช่น สร้างโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีอนามัย โรงเรียน สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น[2]

หลวงพ่อแพมรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 สิริอายุได้ 94 ปี 40 วัน

สมณศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2484 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศรีพรหมโสภิต[3]
  • พ.ศ. 2515 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ
  • พ.ศ. 2521 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุนทรธรรมภาณี[4]
  • พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสิงหคณาจารย์ พิศาลมงคลกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิงหบุราจารย์ ไพศาลสิทธิมงคล วิมลศาสนกิจจาทร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 โปรดตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมุนี สุทธศีลาจาร ไพศาลประชานารถ โอภาสศาสนกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]

อ้างอิง แก้

  1. ราม วัชรประดิษฐ์ (14 มกราคม 2562). "หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง : พันธ์ุแท้พระเครื่อง". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
  2. ราม วัชรประดิษฐ์ (15 เมษายน 2563). "หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย อริยสงฆ์ผู้เปี่ยมเมตตาแห่งสิงห์บุรี". สยามรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
  3. "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 501. 11 มีนาคม 2484. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
  4. "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (60 ง ฉบับพิเศษ): 11. 16 เมษายน 2523. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
  5. "ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (253 ง ฉบับพิเศษ): 8. 5 ธันวาคม 2530. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
  6. "ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (101 ง ฉบับพิเศษ): 4. 12 สิงหาคม 2535. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
  7. "ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (10 ข): 6. 7 มิถุนายน 2539. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.


ก่อนหน้า พระธรรมมุนี (แพ เขมงฺกโร) ถัดไป
พระพรหมโมลี (ทองสุข สุนฺทราจาโร)    
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
  พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)