แม่น้ำน้อย เป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านอำเภอสรรคบุรี เข้าเขตจังหวัดสิงห์บุรี ผ่านอำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน และอำเภอท่าช้าง แล้วเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง กับอำเภอท่าช้างและอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เข้าเขตจังหวัดอ่างทอง ผ่านอำเภอโพธิ์ทองและอำเภอวิเศษชัยชาญ จากนั้นเข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านอำเภอผักไห่ อำเภอเสนา และอำเภอบางบาล แล้วไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อำเภอบางไทร

แม่น้ำน้อย
แม่น้ำแควผักไห่, คลองสีกุก, แควสีกุก
แม่น้ำน้อยในเขตตำบลเที่ยงแท้และตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
 • ตำแหน่งตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
 • พิกัดภูมิศาสตร์15°09′27.4″N 100°09′21.4″E / 15.157611°N 100.155944°E / 15.157611; 100.155944
ปากน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
 • ตำแหน่ง
ตำบลสนามชัยและตำบลบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 • พิกัด
14°12′05.7″N 100°30′24.8″E / 14.201583°N 100.506889°E / 14.201583; 100.506889
ความยาว155 กิโลเมตร (96 ไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำน้อยมีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี มีชื่อเรียกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ตอนที่ไหลผ่านอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกว่า "แม่น้ำแควผักไห่" หรือตอนที่ไหลผ่านอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน เรียกว่า "คลองสีกุก" หรือ "แควสีกุก" เป็นต้น และยังมีแควสาขาเป็นคลองสายต่าง ๆ ที่ไหลและแยกตัวกันอีก เช่น คลองบางปลากด คลองศาลาแดง คลองไชโย เป็นต้น[1]

นอกจากนี้ แม่น้ำน้อยยังเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการค้นพบปลาในสกุล Sikukia หรือปลาน้ำฝาย อันเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดย ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักวิชาการประมงชาวอเมริกัน จึงมีการตั้งชื่อสกุลปลาให้เป็นเกียรติว่า สีกุกเกีย[2]

อ้างอิง แก้

  1. แม่น้ำน้อย
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ หน้า 173, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9