เจ้าคณะภาค
เจ้าคณะภาค เป็นพระสังฆาธิการที่ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช โดยผ่านมติการเห็นชอบของมหาเถรสมาคม มีอำนาจหน้าที่การปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ในเขตจังหวัดของตน เจ้าคณะภาค คือพระสังฆาธิการผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดับภาค[2]
เจ้าคณะภาค | |
---|---|
จวน | วัด |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ โดยพระราชดำริ,สมเด็จพระสังฆราช โดยพระบัญชา |
เงินตอบแทน | 17,100บาท[1] |
อำนาจหน้าที่ แก้
ข้อ 10 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ กำหนดให้เจ้าคณะภาคมีอำนาจหน้าที่การปกครองคณะสงฆ์ในเขตภาคของตน ดังนี้[3]
- ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
- ควบคุมและส่งเสริมการรักษาความเรียบร้อยดีงาม การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ ให้ดำเนินไปด้วยดี
- วินิจฉัยการลงนิคหกรรม วินิจฉัยข้ออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชั้นจังหวัด
- แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าคณะจังหวัดให้เป็นไปโดยชอบ
- ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าคณะและเจ้าอาวาส ตลอดถึงพระภิกษุสามเณรผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรืออยู่ในเขตปกครองของตน และชี้แจงแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ในบังคับบัญชา ให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย
- ตรวจการและประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครองของตน
คุณสมบัติ แก้
ข้อ 6 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ กำหนดให้พระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้[4]
- มีพรรษาสมควรแก่ตำแหน่ง
- มีความรู้สมควรแก่ตำแหน่ง
- มีความประพฤติเรียบร้อยตามพระธรรมวินัย
- เป็นผู้ฉลาดสามารถในการปกครองคณะสงฆ์
- ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคเรื้อน หรือเป็นวัณโรคในระยะอันตรายจนเป็นที่น่ารังเกียจ
- ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยลงโทษในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อน
- ไม่เคยถูกถอดถอนหรือถูกปลดจากตำแหน่งใด เพราะความผิดมาก่อน
และในข้อ 10 ได้กำหนดให้พระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค ต้องมีคุณสมบัติโดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้
- มีพรรษา 20 พรรษาขึ้นไป และ
- กำลังดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาคนั้นมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรือ
- กำลังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ในภาคนั้น ไม่ต่ำกว่า 4 ปี หรือ
- มีสมณศักดิ์ไม่ต่ำกว่าพระราชาคณะชั้นเทพ หรือ
- เป็นพระราชาคณะซึ่งเป็นพระคณาจารย์เอก หรือเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค
- ในกรณีที่คัดเลือกพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติขั้นต้นไม่ได้หรือได้แต่ไม่เหมาะสม มหาเถรสมาคมอาจผ่อนผันได้
เขตปกครอง แก้
การแบ่งเขตปกครองภาค แก้
ตามข้อ 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยอำนาจและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค กำหนดให้มีจำนวนภาค 18 ภาค และให้รวมเขตปกครองจังหวัดต่าง ๆ เป็นเขตปกครองภาค ดังต่อไปนี้[5]
คณะสงฆ์ | จำนวนจังหวัด | จังหวัดในเขตปกครอง |
---|---|---|
ภาค 1 | 4 จังหวัด | กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ |
ภาค 2 | 3 จังหวัด | พระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, สระบุรี |
ภาค 3 | 4 จังหวัด | ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี |
ภาค 4 | 4 จังหวัด | นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์ |
ภาค 5 | 4 จังหวัด | สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, ตาก |
ภาค 6 | 5 จังหวัด | ลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน |
ภาค 7 | 3 จังหวัด | เชียงใหม่, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน |
ภาค 8 | 6 จังหวัด | อุดรธานี, หนองคาย, เลย, สกลนคร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ |
ภาค 9 | 4 จังหวัด | ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด |
ภาค 10 | 6 จังหวัด | อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครพนม, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ |
ภาค 11 | 4 จังหวัด | นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์ |
ภาค 12 | 4 จังหวัด | ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว |
ภาค 13 | 4 จังหวัด | ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด |
ภาค 14 | 4 จังหวัด | นครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร |
ภาค 15 | 4 จังหวัด | ราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์ |
ภาค 16 | 3 จังหวัด | นครศรีธรรมราช, ชุมพร, สุราษฏร์ธานี |
ภาค 17 | 5 จังหวัด | ภูเก็ต, ตรัง, กระบี่, พังงา, ระนอง |
ภาค 18 | 6 จังหวัด | สงขลา, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส |
การรวมเขตภาคในคณะธรรมยุต แก้
ในคณะธรรมยุตกำหนดให้เขตภาคบางเขตอยู่ใต้การปกครองของเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน ดังนี้[6]
ลำดับที่ | ภาคที่มีเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน | จำนวนจังหวัดในเขตปกครอง |
---|---|---|
1 | ภาค 1, ภาค 2, ภาค 3 | 9 จังหวัด 24 เขต/อำเภอ 50 แขวง/ตำบล |
2 | ภาค 4, ภาค 5 | 5 จังหวัด 21 อำเภอ 69 ตำบล |
3 | ภาค 6, ภาค 7 | 4 จังหวัด อำเภอ ตำบล |
4 | ภาค 8 | 5 จังหวัด 48 อำเภอ 206 ตำบล |
5 | ภาค 9 | 4 จังหวัด 38 อำเภอ 150 ตำบล |
6 | ภาค 10 | 6 จังหวัด 28 อำเภอ 106 ตำบล |
7 | ภาค 11 | 4 จังหวัด 20 อำเภอ 78 ตำบล |
8 | ภาค 12, ภาค 13 | 7 จังหวัด อำเภอ ตำบล |
9 | ภาค 14, ภาค 15 | 6 จังหวัด 8 อำเภอ 18 ตำบล |
10 | ภาค 16 | 3 จังหวัด อำเภอ ตำบล |
11 | ภาค 17, ภาค 18 | 4 จังหวัด 22 อำเภอ 34 ตำบล |
รายนาม แก้
ฝ่ายมหานิกาย แก้
ฝ่ายธรรมยุต แก้
ตำแหน่ง/ภาค | รายนามเจ้าคณะภาค | วัด | จังหวัด | จังหวัดในเขตปกครอง |
---|---|---|---|---|
เจ้าคณะภาค 1-2-3 | พระราชวัชราภรณ์ (สมพงษ์ ฐิตวํโส)[12] | วัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง | พระนครศรีอยุธยา | กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, สระบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี |
รองเจ้าคณะภาค 1-2-3 | พระราชบัณฑิต (สุดใจ ปสิทฺธิโก) | วัดธาตุทอง พระอารามหลวง | กรุงเทพมหานคร | |
เจ้าคณะภาค 4-5 | พระธรรมวชิรเมธาจารย์ (ยุทธศักดิ์ กิตฺติยุตฺโต)[12] | วัดโสมนัสราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | นครสวรรค์, กำแพงเพชร-พิจิตร, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, ตาก |
รองเจ้าคณะภาค 4-5 | พระราชปริยัติบัณฑิต (ถนอม ปณฺฑิโต) | วัดสนธิกรประชาราม | เพชรบูรณ์ | |
เจ้าคณะภาค 6-7 | พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย)[12] | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | ลำปาง-แพร่, พะเยา-น่าน, เชียงราย, เชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน |
รองเจ้าคณะภาค 6-7 | พระเทพวัชรเมธี (สมคิด จินฺตามโย) | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | |
เจ้าคณะภาค 8 | พระเทพวชิรมุนี (ม.ล.คิวปิด ปิยโรจโน)[12] | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | อุดรธานี, เลย, หนองคาย, สกลนคร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ |
รองเจ้าคณะภาค 8 | พระราชธรรมกวี (วราวุฒิ วรวุฑฺโฒ) | วัดสัมมาชัญญาวาส | กรุงเทพมหานคร | |
เจ้าคณะภาค 9 | พระเทพดิลก (วัชรพันธ์ นนฺทิโย)[12] | วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด |
รองเจ้าคณะภาค 9 | พระราชวัชรปัญญาเมธี (สุภาพ สุภาโว) | วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | |
เจ้าคณะภาค 10 | พระธรรมวิสุทธาจารย์ (แสวง ธมฺเมสโก)[12] | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | อุบลราชธานี, ยโสธร, ศรีสะเกษ, นครพนม, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ |
รองเจ้าคณะภาค 10 | พระอมรมุนี (ชูชาติ โชติธมฺโม) | วัดนรนาถสุนทริการาม พระอารามหลวง | กรุงเทพมหานคร | |
เจ้าคณะภาค 11 | พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม)[12] | วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์ |
รองเจ้าคณะภาค 11 | พระศรีปริยัติมงคล (นิยม กิตฺติเมธี) | วัดลำผักชี | กรุงเทพมหานคร | |
เจ้าคณะภาค 12-13 | พระราชเมธากรกวี (วินัย ถิรวินโย)[12] | วัดสนามพราหมณ์ | เพชรบุรี | ปราจีนบุรี-สระแก้ว, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด |
รองเจ้าคณะภาค 12-13 | พระราชวชิรกวี (รุ่งโรจน์ ฐิตโรจโน) | วัดเทพนิมิตร | ฉะเชิงเทรา | |
เจ้าคณะภาค 14-15 | พระเทพวชิรปาโมกข์ (อาชว์ อาชฺชวปเสฏโฐ)[12] | วัดตรีทศเทพวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | นครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร, ราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์ |
รองเจ้าคณะภาค 14-15 | พระศรีมงคลเมธี (วิชาญ กัลยาณธมฺโม) | วัดจันทน์กะพ้อ พระอารามหลวง | ปทุมธานี | |
เจ้าคณะภาค 16 | พระราชวิสุทธิกวี (ไมตรี ปภารตโน) | วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร | นครศรีธรรมราช | นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, ชุมพร |
รองเจ้าคณะภาค 16 | พระศรีวิสุทธิญาณ (เนรมิต ธมฺมวีโร) | วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร | กรุงเทพมหานคร | |
เจ้าคณะภาค 17-18 | พระเทพมงคลโสภณ (โสภณ ปญฺญาโสภโณ)[12] | วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร | พระนครศรีอยุธยา | ภูเก็ต-กระบี่-ตรัง, พังงา-ระนอง, สงขลา-สตูล, พัทลุง, ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส |
รองเจ้าคณะภาค 17-18 | พระเทพวชิรดิลก (เปลี่ยน โชตฺยาวตฺโต) | วัดบุรณศิริมาตยาราม พระอารามหลวง | กรุงเทพมหานคร |
การถอดถอน แก้
ดูรายละเอียดที่ พระสังฆาธิการ
อ้างอิง แก้
- รายนามเจ้าคณะภาค-รองเจ้าคณะภาค เก็บถาวร 2007-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 335 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
- ↑ "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์". วัดโมลีโลกยาราม. 2553. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ". วัดโมลีโลกยาราม. 2553. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยอำนาจและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค". วัดโมลีโลกยาราม. 2553. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "มติมหาเถรสมาคม ที่ 1/2564 เรื่อง ขออนุมัติแบ่งเขตการปกครองระดับภาคของคณะธรรมยุต" (PDF). สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. 26 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ เพิ่มตำแหน่งตามมติมหาเถรสมาคมที่ 81/2564 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 เพิ่มตำแหน่งตามมติมหาเถรสมาคม วันที่ 9 มิถุนายน 2566
- ↑ https://www.facebook.com/264690833722118/photos/a.264697770388091.1073741829.264690833722118/421141228077077/?type=1&theater
- ↑ 10.0 10.1 เพิ่มตำแหน่งตามมติมหาเถรสมาคม วันที่ 10 กรกฎาคม 2566
- ↑ เพิ่มตำแหน่งตามมติมหาเถรสมาคม วันที่ 30 มิถุนายน 2564
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 12.9 "'สมเด็จพระสังฆราช' มีพระบัญชาตั้งเจ้าคณะภาคทั่วประเทศแล้ว". dailynews. 2021-05-12.