มะกล่ำตาช้าง
มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง
มะกล่ำตาช้าง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ Caesalpinioideae |
เคลด: | Mimosoid clade Mimosoid clade |
สกุล: | Adenanthera Adenanthera L. |
สปีชีส์: | Adenanthera pavonina |
ชื่อทวินาม | |
Adenanthera pavonina L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
เป็นพืชที่ตรึงก๊าซไนโตรเจน ใช้เป็นอาหารสัตว์ สมุนไพร และยังเป็นไม้ประดับได้ เนื้อไม้มีความแข็งแกร่งมากใช้ทำเรือและใช้ทำเครื่องเรือน มะกล่ำตาช้างเป็นพืชที่มีพิษ โดยเฉพาะส่วนเมล็ดสีแดงมีพิษสูงมาก หากรับประทานเข้าไป อาจทำให้เสียชีวิตได้ รากมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน เมล็ดและใบแก้ริดสีดวงทวารหนัก ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิ เมล็ดมะกล่ำ 1 เมล็ดใช้เทียบเป็นหน่วยกล่ำในมาตราชั่งตวงวัดโบราณ โดย 2 กล่อมเป็น 1 กล่ำ และ 2 กล่ำเป็น 1 ไพ[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 66 – 67
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Adenanthera pavonina
- Adenanthera pavonina
- USDA Plants Profile: Adenanthera pavonina
- Adenanthera pavonina L. Medicinal Plant Images Database (School of Chinese Medicine, Hong Kong Baptist University) (ในภาษาจีน) (ในภาษาอังกฤษ)
- มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 118