อำเภอเมืองอ่างทอง
อำเภอในจังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย
เมืองอ่างทอง เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การบริหาร เศรษฐกิจ และการศึกษาของจังหวัดอ่างทอง
อำเภอเมืองอ่างทอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Ang Thong |
คำขวัญ: พระศรีเมืองทองคุ้มบ้าน หลวงพ่อสดโอฬาร ถิ่นฐานเกษตรกรรม ธรรมะครองใจ | |
แผนที่จังหวัดอ่างทอง เน้นอำเภอเมืองอ่างทอง | |
พิกัด: 14°35′19″N 100°27′12″E / 14.58861°N 100.45333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อ่างทอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 104.161 ตร.กม. (40.217 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 54,890 คน |
• ความหนาแน่น | 526.97 คน/ตร.กม. (1,364.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 14000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1501 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองอ่างทอง ถนนเทศบาล 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง 14000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเมืองอ่างทองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ทองและอำเภอไชโย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอมหาราช (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอป่าโมก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวิเศษชัยชาญและอำเภอโพธิ์ทอง
ประวัติศาสตร์
แก้อำเภอเมืองอ่างทองเดิมเรียกว่า อำเภอเมือง ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงวัดไชยสงคราม (วัดกะเขา) ตำบลบ้านแห ต่อมาในปี พ.ศ. 2356 ทางราชการได้ย้ายเมืองอ่างทองไปตั้งที่บริเวณใต้ปากคลองบางแก้ว ตำบลบางแก้ว ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองจึงย้ายตามไปด้วย ในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางแก้ว ตามตำบลที่ตั้ง และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองอ่างทอง เมื่อปี พ.ศ. 2481
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเมืองอ่างทองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 81 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[1] |
---|---|---|---|
1. | ตลาดหลวง | Talat Luang | 5,126
|
2. | บางแก้ว | Bang Kaeo | 2,033
|
3. | ศาลาแดง | Sala Daeng | 7,814
|
4. | ป่างิ้ว | Pa Ngio | 5,668
|
5. | บ้านแห | Ban Hae | 4,313
|
6. | ตลาดกรวด | Talat Kruat | 1,986
|
7. | มหาดไทย | Mahatthai | 1,566
|
8. | บ้านอิฐ | Ban It | 6,795
|
9. | หัวไผ่ | Hua Phai | 4,495
|
10. | จำปาหล่อ | Champa Lo | 3,587
|
11. | โพสะ | Phosa | 4,221
|
12. | บ้านรี | Ban Ri | 1,853
|
13. | คลองวัว | Khlong Wua | 2,173
|
14. | ย่านซื่อ | Yan Sue | 3,568
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเมืองอ่างทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองอ่างทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดหลวงและตำบลบางแก้วทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลศาลาแดง ตำบลบ้านแห ตำบลบ้านอิฐ ตำบลโพสะ และตำบลย่านซื่อ
- เทศบาลตำบลศาลาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาแดง (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
- เทศบาลตำบลโพสะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพสะ (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่างิ้วและตำบลมหาดไทยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแห (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดกรวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดกรวดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอิฐ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านรีทั้งตำบลและตำบลบ้านอิฐ (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไผ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาหล่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจำปาหล่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองวัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองวัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านซื่อ (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
ทรัพยากรธรรมชาติ
แก้- ทรัพยากรดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับการเกษตร
- ทรัพยากรน้ำ อำเภอเมืองอ่างทองมีแหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางแก้วที่แยกตัวจากแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมทั้งมีคลองชลประทานครอบคลุมพื้นที่ทุกตำบล ทำให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรได้ตลอดปี
เศรษฐกิจ
แก้- อาชีพหลัก การเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ไม้ผล
- อาชีพเสริม การปศุสัตว์เลี้ยงนกกระทา ไก่พื้นเมือง
สถานศึกษา
แก้การคมนาคม
แก้- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (สายเอเชีย)
- สถานีขนส่งจังหวัดอ่างทอง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.