อำเภอป่าโมก
ป่าโมก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง
อำเภอป่าโมก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pa Mok |
คำขวัญ: โบราณสถานล้ำค่า ตุ๊กตาชาววัง กลองดัง อิฐแกร่ง แหล่งก้านธูป | |
แผนที่จังหวัดอ่างทอง เน้นอำเภอป่าโมก | |
พิกัด: 14°29′24″N 100°26′53″E / 14.49000°N 100.44806°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อ่างทอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 80.9 ตร.กม. (31.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 27,009 คน |
• ความหนาแน่น | 333.86 คน/ตร.กม. (864.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 14130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1503 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอป่าโมก หมู่ที่ 5 ตำบลบางปลากด อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 14130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอป่าโมกมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองอ่างทองและอำเภอวิเศษชัยชาญ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะหันและอำเภอมหาราช (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบาล (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอผักไห่ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ประวัติ
แก้ท้องถิ่นอำเภอป่าโมกมีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารมานานตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งทรงทำสงครามกับพม่าหลายครั้งเพื่อกอบกู้เอกราชของชาติไทย พระองค์เสด็จยกกองทัพเรือมาประทับประชุมพล ณ ตำบลป่าโมก และทำพิธีตัดไม้ข่มนามเอาฤกษ์ชัย ต่อมาท้องถิ่นอำเภอป่าโมก เดิมเป็นที่ส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองอ่างทอง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองเมื่อบริเวณหมู่บ้านป่าโมก ตำบลป่าโมก แขวงเมืองอ่างทอง มณฑลกรุงเก่า เป็นพื้นที่ห่างไกลจากอำเภอเมือง มีหลังคาเรือนประมาณ 900 หลัง และมีประชากรประมาณ 17,000 คน จึงจัดตั้งตำบลป่าโมก ขึ้นเป็น อำเภอป่าโมก[1] กำหนดให้ขึ้นการปกครองกับแขวงเมืองอ่างทอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2444 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ปีเดียวกัน
- วันที่ 7 เมษายน 2444 ยกฐานะหมู่บ้านป่าโมก ตำบลป่าโมก อำเภอเมืองอ่างทอง ขึ้นเป็น อำเภอป่าโมก[1]
- วันที่ 16 มกราคม 2481 ยุบตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก และโอนท้องที่ที่ยุบไปขึ้นกับตำบลบางจัก อำเภอวิเศษไชยชาญ[2]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่ตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก ไปขึ้นกับอำเภอวิเศษไชยชาญ[3]
- วันที่ 15 พฤษภาคม 2482 ยุบตำบลบางปลากด และพื้นที่หมู่ 1-5 (ในขณะนั้น) ของตำบลเอกราช รวมเข้าตำบลป่าโมก และจัดตั้งเป็นตำบลป่าโมก ยุบตำบลโรงช้าง รวมเข้าตำบลสายทอง และจัดตั้งเป็นตำบลสายทอง กับยุบตำบลตะพุ่น ตำบลบางแพ และพื้นที่หมู่ 6-10 (ในขณะนั้น) ของตำบลเอกราช และจัดตั้งเป็นตำบลเอกราช[4]
- วันที่ 12 มิถุนายน 2482 ยุบตำบลปะขาว รวมเข้าตำบลโผงเผง และจัดตั้งเป็นตำบลโผงเผง[5]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2483 จัดตั้งเทศบาลตำบลป่าโมก ในท้องที่ตำบลป่าโมกทั้งตำบล[6]
- วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองอ่างทอง มาขึ้นกับตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก[7]
- วันที่ 25 พฤศจิกายน 2490 ตั้งตำบลบางปลากด แยกออกจากตำบลป่าโมก[8]
- วันที่ 28 มิถุนายน 2492 ตั้งตำบลบางเสด็จ แยกออกจากตำบลโผงเผง ตั้งตำบลนรสิงห์ แยกออกจากตำบลเอกราช และตั้งตำบลโรงช้าง แยกออกจากตำบลสายทอง[9]
- วันที่ 31 กรกฎาคม 2511 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขป่าโมก[10] อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
- วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลบางเสด็จ สภาตำบลโรงช้าง สภาตำบลสายทอง สภาตำบลนรสิงห์ สภาตำบลเอกราช สภาตำบลโผงเผง เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสด็จ องค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง องค์การบริหารส่วนตำบลนรสิงห์ องค์การบริหารส่วนตำบลเอกราช และองค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง[11] ตามลำดับ
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอป่าโมกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 53 หมู่บ้าน (หรือ 47 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลป่าโมกซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[12] |
---|---|---|---|---|
1. | บางปลากด | Bang Pla Kot | 2
|
2,520
|
2. | ป่าโมก | Pa Mok | 4
|
6,114
|
3. | สายทอง | Sai Thong | 8
|
3,129
|
4. | โรงช้าง | Rong Chang | 8
|
3,350
|
5. | บางเสด็จ | Bang Sadet | 6
|
2,906
|
6. | นรสิงห์ | Norasing | 7
|
2,722
|
7. | เอกราช | Ekkarat | 8
|
3,368
|
8. | โผงเผง | Phong Pheng | 10
|
3,140
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอป่าโมกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลป่าโมก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลากดและตำบลป่าโมกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสด็จ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเสด็จทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนรสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนรสิงห์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเอกราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเอกราชทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโผงเผงทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ประกาศการที่ได้ทรงพระอนุโมทนาในส่วนกุศลการสร้างศาลาและสะพานข้ามห้วยขึ้นที่เมืองกุศุมาลย์ ,พระบรมราชานุญาตให้ตั้งอำเภอป่าโมก แขวงเมืองอ่างทอง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (1): 7. April 7, 1901.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3394–3395. January 16, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3239–3241. December 26, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 435. May 15, 1939.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 650–651. June 12, 1939.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ก): 540–544. June 12, 1939.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. February 18, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลในเขตเทศบาลจังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (57 ง): 3056–3058. November 25, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (34 ง): 2854–2856. June 28, 1949.
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขท่าแซะ, จตุรพักตร์พิมาน, วารินชำราบ, ร้องกวาง, แม่แตง, กระทุ่มแบนและป่าโมก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (67): 2436. July 30, 1968.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.