เทศบาลเมืองเขาสามยอด

เทศบาลเมืองในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย

เขาสามยอด เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จัดว่าเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากกว่าเขตเทศบาลเมืองลพบุรี เทศบาลเมืองเขาสามยอดมีเนื้อที่โดยประมาณ 32.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 20,148 ไร่ มีประชากรในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 30,176 คน

เทศบาลเมืองเขาสามยอด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang khaosamyod
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองเขาสามยอด
ตรา
ทม.เขาสามยอดตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี
ทม.เขาสามยอด
ทม.เขาสามยอด
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองเขาสามยอด
พิกัด: 14°49′26″N 100°39′24″E / 14.823889°N 100.6567755°E / 14.823889; 100.6567755
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอเมืองลพบุรี
จัดตั้ง
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 (อบต.)
  • 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 (เทศบาลเมือง)[1]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสายใจ เลิศวิริยะประภา
พื้นที่
 • ทั้งหมด32.50 ตร.กม. (12.55 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[2]
 • ทั้งหมด30,176 คน
 • ความหนาแน่น928.49 คน/ตร.กม. (2,404.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04160103
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนหนองบัวขาว-วัดพระบาทน้ำพุ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
เว็บไซต์www.khaosamyod.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เขาสามยอด เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของตำบลทะเลชุบศร แต่ต่อมาได้แยกออกมาเป็นตำบลเขาสามยอด เพราะพื้นที่ตำบลทะเลชุบศรนั้นกว้างใหญ่มาก ทำให้ไม่สามารถดูแลทุกข์สุขของราษฎรได้อย่างทั่วถึง สำหรับชื่อตำบลเขาสามยอดนั้น มีที่มาจากชื่อของภูเขาลูกโต จำนวน 3 ลูก ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลนี้เป็นป่ารก ชาวบ้านจึงต้องทำมาหากินโดยการหาของป่าบนภูเขา ทำให้ภูเขาทั้ง 3 ลูกนี้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชน จึงเป็นที่มาของชื่อว่า ตำบลเขาสามยอด จนถึงปัจจุบัน เดิมองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามยอด จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 111 ตอนที่ 53 ก ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 และได้ทำการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เป็น อบต.ชั้น 2 ปรับเป็น อบต.ขนาดกลาง และปรับเป็น อบต.ขนาดใหญ่ ตามมติประชุม ก.อบต.จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 1/2547 ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 ด้วยความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การขยายตัวของเมืองและชุมชน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ถึงแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546 มาตรา 42 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ถึงแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2546 มาตรา 7 และ 10 โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2550 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามยอด เป็นเทศบาลเมืองเขาสามยอด ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2550[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

  • ทิศเหนือ ติดต่อเขตกองบิน 2 กองพลบินที่ 1 กองบัญชาการยุทธทางอากาศฐานบินโคกกะเทียม ตำบลเขาพระงาม
  • ทิศใต้ ติดกับถนนพหลโยธิน ตั้งแต่วงเวียนเทพสตรี (ที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) จนถึงทางแยกนิคมสร้างตนเอง ตำบลท่าศาลา
  • ทิศตะวันออก ติดกับทางหลวงหมายเลข 3017 (สายลพบุรี-พัฒนานิคม) ตั้งแต่สามแยกนิคมสร้างตนเอง จนถึงสนามทดลองอาวุธ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธกองทัพบก บ้านท่ามะเดื่อ ตำบลนิคมสร้างตนเอง
  • ทิศตะวันตก ติดกับถนนพหลโยธิน ตั้งแต่วงเวียนเทพสตรี กิโลเมตรที่ 155 จนถึงเขตกองบิน 2 กองพลบินที่ 1 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ กิโลเมตรที่ 162 เขตติดต่อกับตำบลท่าแค ตำบลถนนใหญ่ ตำบลทะเลชุบศร และศาลากลางจังหวัดลพบุรี โดยมีถนนพหลโยธินเป็นเส้นแบ่งเขต

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

เทศบาลเมืองเขาสามยอด แบ่งการปกครองตามรูปแบบหมู่บ้าน มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน และชุมชน 34 ชุมชนภายในเขตเทศบาล ดังนี้

หมู่บ้าน
  • หมู่ที่ 1 บ้านสระมะเกลือ
  • หมู่ที่ 2-3 บ้านน้ำจั้น
  • หมู่ที่ 4-5 บ้านหนองบัวขาว
  • หมู่ที่ 6 บ้านดงสวอง
  • หมู่ที่ 7 บ้านโนนหัวช้าง
ชุมชน
  • ชุมชนเขาสามยอด 1 (พร้อมสุข แสนดี สมศรี อ่อนนุช โพธิ์ทอง 38)
  • ชุมชนเขาสามยอด 2 (สระมะเกลือ อยู่สุขเจริญทรัพย์ เทพราชนิเวศน์)
  • ชุมชนเขาสามยอด 3 (ราชภัฏ 2 เสถียรวิลล์ เอราวัณสปอร์ตคลับ กรุณา )
  • ชุมชนเขาสามยอด 4 (แยกเอราวัณ สันติสุข สุขสวัสดิ์ บ้านครู ผลไม้)
  • ชุมชนเขาสามยอด 5 (หลังไฟฟ้า ลมโชย พัฒนา ปราโมทย์ เทวี 1-2)
  • ชุมชนเขาสามยอด 6 (ลพบุรีวิลล์ ซอยเจ้าสัว)
  • ชุมชนเขาสามยอด 7 (บ้านน้ำจั้น)
  • ชุมชนเขาสามยอด 8 (กลุ่มโพธิ์ทองพัฒนา ดงบ้านเก่า บ้านตามั่น หนองหมื่น)
  • ชุมชนเขาสามยอด 9 (บ้านน้อยพัฒนา)
  • ชุมชนเขาสามยอด 10 (อรุณี วิไลใจดี จามจุรี)
  • ชุมชนเขาสามยอด 11 (บ้านใหญ่)
  • ชุมชนเขาสามยอด 12 (เลคบุษบา หนองบัวขาวฝั่งอนามัย)
  • ชุมชนเขาสามยอด 13 (หลังวัด)
  • ชุมชนเขาสามยอด 14 (ศรีละโว้ 1-2 ปรางค์อรุณ)
  • ชุมชนเขาสามยอด 15 (ศรีละโว้ 3-4 รัตนพล ภู่บางชัย)
  • ชุมชนเขาสามยอด 16 (สังวาล สวัสดี ร่วมมิตร ร่วมฤดี)
  • ชุมชนเขาสามยอด 17 (ศรีอานันท์ 1-3 บ้านสองหลัง)
  • ชุมชนเขาสามยอด 18 (จิตตสุภา เถลิงขวัญ มิตรสัมพันธ์ จันโอ รัตนารักษ์)
  • ชุมชนเขาสามยอด 19 (บ้านดงสวอง)
  • ชุมชนเขาสามยอด 20 (บ้านบานเย็น)
  • ชุมชนเขาสามยอด 21 (บ้านเขาสามยอดพัฒนา)
  • ชุมชนเขาสามยอด 22 (บ้านโนนหัวช้าง)
  • ชุมชนเขาสามยอด 23 (บ้านโนนมะกอก)
  • ชุมชนเขาสามยอด 24 (ชุมชนทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์)
  • ชุมชนเขาสามยอด 25 (ชุมชนกองพลาธิการส่งกำลังทางอากาศ)
  • ชุมชนเขาสามยอด 26 (ชุมชนกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหาราบที่ 31 รักษาพระองค์)
  • ชุมชนเขาสามยอด 27 (ชุมชนกองพลรบพิเศษที่ 1)
  • ชุมชนเขาสามยอด 28 (ธำรงฤทธิ์ ร่มฉัตร นิลพานิช)
  • ชุมชนเขาสามยอด 29 (ชุมชนทหารกองพันจู่โจม)
  • ชุมชนเขาสามยอด 30 (ชุมชนทหารกองพันทหารสื่อสาร 35)
  • ชุมชนเขาสามยอด 31 (เอราวัณนคร วันเฉลิม วีนัส หมูทอง)
  • ชุมชนเขาสามยอด 32 (ชุมชนทหารกรมรบพิเศษที่ 3)
  • ชุมชนเขาสามยอด 33 (ชุมชนโรงพยาบาลอานันทมหิดล)
  • ชุมชนเขาสามยอด 34 (ชุมชนศอว.ศอพท.)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นเทศบาลเมืองเขาสามยอด.
  2. http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showZoneData.php?rcode=1683&statType=1&year=62

แหล่งข้อมูลอื่น แก้