ภาวะหลงผิดคิดตนเขื่อง

ภาวะหลงผิดคิดตนเขื่อง (อังกฤษ: grandiose delusions, delusions of grandeur, expansive delusions ตัวย่อ GD[1]) เป็นแบบย่อยของอาการหลงผิด (delusion) ที่เกิดในคนไข้โรคทางจิตเวชหลายอย่าง รวมทั้ง 2/3 ของคนไข้ที่มีอาการฟุ้งพล่านเหตุโรคอารมณ์สองขั้ว, ครึ่งหนึ่งของคนไข้โรคจิตเภท, คนไข้โรคหลงผิด (delusional disorder) ในแบบย่อยที่คิดว่าตนเขื่อง (grandiose) และในคนไข้โรคใช้ยาเสพติด (substance abuse) เป็นจำนวนสำคัญ[2][3] GD มีอาการเป็นความเชื่อเพ้อฝันหรือน่าอัศจรรย์ว่า ตนมีชื่อเสียง มีอำนาจไม่สิ้นสุด รวย หรือไม่ก็มีอำนาจมาก ความหลงผิดทั่วไปจะเป็นเรื่องเพ้อฝันหรือน่าอัศจรรย์ และปกติจะมีตีมทางศาสนา นิยายวิทยาศาสตร์ หรือเหนือธรรมชาติ/ไสยศาสตร์ ไม่ค่อยมีงานวิจัยในเรื่องนี้ เทียบกับอาการหลงผิดแบบคนตามรังควาน (persecutory delusion) หรือประสาทหลอนทางหู คนปกติประมาณ 10% ประสบกับความคิดว่าตนเขื่อง แต่ก็ไม่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยอย่างบริบูรณ์ว่าเป็น GD[3]

ภาวะหลงผิดคิดตนเขื่อง
(Grandiose delusions)
คนไข้ผู้มีภาวะหลงผิดคิดตนเขื่องยึดว่าตนมีสถานะสูงอย่างผิด ๆ

อาการ แก้

ตามเกณฑ์คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น DSM-IV-TR สำหรับโรคหลงผิด (delusional disorder) ภาวะหลงผิดคิดตนเขื่องมีความเชื่อเกินปกติไปมากในเรื่อง

ตัวอย่างเช่น คนไข้ที่เชื่อผิด ๆ ว่าตนมีอำนาจ อาจเชื่อว่า ตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองราชย์และสมควรได้การประพฤติจากคนอื่นตามนั้น[6] ความหลงผิดว่าตนเขื่องนั้นจะรุนแรงไม่เท่ากันสำหรับคนไข้ต่าง ๆ คนไข้บางคนเชื่อว่าตนเป็นพระเป็นเจ้า เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร เป็นลูกชายของประธานาธิบดี เป็นนักร้องร็อกผู้มีชื่อเสียง เป็นต้น คนอื่นอาจไม่ใหญ่โตขนาดนั้นแต่คิดว่าตนเป็นนักกีฬาผู้สามารถหรือเป็นนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่[7]

ความหลงผิดอาจดำรงอยู่ได้เพราะประสาทหลอนทางหู ซึ่งคอยบอกคนไข้ว่าตนสำคัญ หรือเพราะการกุเหตุ (confabulation) เช่น เมื่อคนไข้เล่าเรื่องการขึ้นครองราชย์หรือการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าแผ่นดินอย่างละเอียดพิสดาร ความหลงผิดว่าตนเขื่องอาจเป็นส่วนของความหลงผิดแบบพิสดารที่รวมความหลงผิดแบบอื่น ๆ หลายอย่าง[7]

ผลในเชิงบวก แก้

ความหลงผิดนี้มักมีผลบวกต่อบุคคลเพราะธำรงรักษาหรือเพิ่มความภูมิใจในตน ดังนั้น จึงสำคัญที่จะพิจารณาว่า การกำจัดความหลงผิดนี้จะมีผลอย่างไรต่อความภูมิใจแห่งตนเมื่อบำบัดคนไข้[4] ในหลายกรณี การปรับความหลงผิดนี้เพียงบางส่วนเป็นเรื่องเหมาะสม โดยปล่อยองค์ที่สำคัญในการธำรงรักษาความภูมิใจในตน ตัวอย่างเช่น บุคคลที่เชื่อว่าตนเป็นตำรวจลับอาจได้ความภูมิใจในตนและมีเป้าหมายที่ดี ดังนั้น ถ้ายังไม่พบเรื่องภูมิใจอื่น ๆ ก็อาจดีสุดถ้าไม่เปลี่ยนความหลงผิดนี้[4]

เหตุของความหลงผิด แก้

ความหลงผิดคิดตนเขื่องมีเหตุที่เป็นไปได้ 2 อย่าง คือ[8]

  • เป็นการป้องกัน คือป้องกันตัวจากการไม่มีความภูมิใจในตนและความซึมเศร้า
  • เหมาะสมกับอารมณ์อื่น ๆ โดยเป็นผลจากการมีอารมณ์เกินปกติ

วินิจฉัย แก้

คนไข้ความผิดปกติทางจิตหลายประเภทซึ่งรบกวนการทำงานของสมอง จะประสบอาการหลงผิดแบบต่าง ๆ รวมทั้งแบบนี้[9] อาการหลงผิดแบบนี้ปกติเกิดในคนไข้ที่มีอาการฟุ้งพล่านแบบทุติยภูมิ (ที่โรคทางจิตเวชไม่ใช่เหตุ) เช่น โรคฮันติงตัน[10] โรคพาร์คินสัน[11] และโรควิลสัน[A][13] อาการฟุ้งพล่านทุติยภูมิยังอาจเกิดจากสารเช่น L-DOPA และยาปฏิชีวนะรักษาวัณโรคคือ isoniazid ซึ่งเปลี่ยนการทำงานของสารสื่อประสาทแบบ monoaminergic (รวมเซโรโทนิน, โดพามีน, norepinephrine และเอพิเนฟรีน, เมลาโทนิน)[14] ภาวะต่าง ๆ รวมทั้งการขาดวิตามินบี12[15] ภาวะเลือดมียูเรีย (uremia)[16] ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน[17] และ carcinoid syndrome ซึ่งเป็นอาการทุติยภูมิจากเนื้องอก carcinoid (คือเนื้องอกที่โตช้า ๆ ในระบบประสาทร่วมต่อมไร้ท่อ)[18] ก็พบว่าก่ออาการฟุ้งพล่านทุติยภูมิ และดังนั้น ก็ก่ออาการหลงผิดแบบนี้

เพื่อวินิจฉัยอาการหลงผิด แพทย์อาจใช้แบบประเมิน MacArthur-Maudsley Assessment of Delusions Schedule กับคนไข้[19]

โรคที่เกิดร่วม แก้

โรคจิตเภท แก้

โรคจิตเภทเป็นความผิดปกติทางจิตใจที่มีอาการไม่รู้ความจริงและมีพฤติกรรมโรคจิตรวมทั้งประสาทหลอนและอาการหลงผิด (คือความเชื่อที่ไม่จริงซึ่งคงยืนแม้มีหลักฐานขัดแย้ง)[20] อาการหลงผิดอาจรวมไอเดียที่มีเรื่อย ๆ แต่ไม่จริงว่า ถูกติดตามหรือถูกวางยาพิษ หรือว่าความคิดของตนกำลังส่งกระจายให้คนอื่นรู้ได้ อาการหลงผิดในโรคจิตเภทมักเกิดเป็นการตอบสนองเมื่อคนไข้พยายามอธิบายประสาทหลอนของตน[20] คนไข้ที่เกิดประสาทหลอนทางหูซ้ำ ๆ อาจหลงผิดว่า คนอื่นกำลังวางแผนทำร้ายตนหรือคนอื่นโกหกเมื่อกล่าวว่าไม่ได้ยินเสียงที่คนไข้เชื่อว่าตนได้ยิน[20] โดยเฉพาะแล้ว อาการหลงผิดว่าตนเขื่องมักพบในโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (paranoid schizophrenia) ที่คนไข้มีความรู้สึกเกินจริงเกี่ยวกับความสำคัญ บุคลิกภาพ ความรู้ หรืออำนาจของตนเกินจริงไปอย่างมาก ตัวอย่างเช่น คนไข้อาจบอกว่าตนเป็นเจ้าของบริษัทใหญ่ และเสนอเขียนเช็คให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 172 ล้านบาท) ถ้าช่วยคนไข้ให้หนีออกจาก รพ.[21] อาการหลงผิดว่าตนเขื่องที่สามัญอีกอย่างหนึ่งในโรคจิตเภท (สำหรับคนตะวันตก) มีตีมเกี่ยวกับศาสนา เช่น เชื่อว่าตนเป็นพระเยซู[22]

โรคอารมณ์สองขั้ว แก้

โรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 1 (bipolar I disorder) อาจทำให้อารมณ์ผิดปกติอย่างรุนแรง หรือทำให้อารมณ์สลับระหว่างความซึมเศร้ากับอาการฟุ้งพล่าน[23] ในอาการเกือบฟุ้งพล่านหรือฟุ้งพล่าน คนไข้โรคนี้บางคนจะมีอาการหลงผิดคิดตนเขื่อง ในรูปแบบที่รุนแรงสุด การไม่ได้นอนเป็นวัน ๆ หรือประสาทหลอนทางหูหรือทางอื่น ๆ หรือความคิดแล่นพล่านที่ควบคุมไม่ได้อาจเสริมแรงอาการหลงผิดเช่นนี้ ในอาการฟุ้งพล่าน โรคนี้ไม่มีผลต่อเพียงอารมณ์ แต่อาจทำให้ทำอะไรไม่ยั้งคิด และคิดสับสน ซึ่งอาจเพิ่มความรู้สึกเขื่องยิ่งขึ้น การปกป้องความคิด/ความรู้สึกแบบหลงผิดเช่นนี้อาจทำให้หงุดหงิด หวาดระแวง และกลัวอย่างรุนแรง บางครั้งคนไข้อาจวิตกกังวลจนกระทั่งเชื่อว่าคนอื่นอิจฉาตน และดังนั้น จึงพยายามบ่อนทำลายความสามารถพิเศษของตน ตามรังแกตน หรือแม้แต่พยายามยึดครองสิ่งที่ตนมี[24]

คนไข้โรคอารมณ์สองขั้วโดยมากไม่ค่อยมีอาการหลงผิด ปกติเมื่อเกิดระยะความตื่นเต้นที่เรียกว่า อาการฟุ้งพล่าน (mania) คนไข้อาจประสบกับความรู้สึกดีใจ ความเดือดดาล พร้อมกับความคิดและความเชื่อคิดว่าตนเขื่อง ซึ่งอาจแสดงเป็นความเชื่อที่มีกำลังว่า คนไข้รวยมาก หรือมีชื่อเสียง หรือมีความสามารถเหนือมนุษย์ หรือแม้แต่ก่อความคิดฆ่าตัวตายแบบหนัก[25] ในรูปแบบที่รุนแรงสุด ซึ่งเคยเรียกว่า megalomania คนไข้อาจได้ยินเสียงซึ่งสนับสนุนความเชื่อเขื่อง ๆ เหล่านี้ เมื่อมีอาการหลงผิด อาจเชื่อว่า ตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือคนอัจฉริยะในการสร้างสรรค์ และสามารถแม้กำจัดความยากจนในโลกเพราะตนมีจิตใจกว้างขวางอย่างสุด ๆ[26]

ลักษณะทางกายวิภาค แก้

รอยโรคในสมองกลีบขมับโดยหลักจะรายงานในคนไข้ที่มีอาการหลงผิดว่ามีคนตามรังควานและอาการหลงผิดที่ทำให้รู้สึกผิด (ในสิ่งที่ตนไม่ได้เกี่ยวข้อง) ในขณะที่รอยโรคที่สมองกลีบหน้าและสมองส่วนกลีบหน้า-ขมับ (frontotemporal) จะเกิดในคนไข้ที่มีอาการหลงผิดแบบนี้, ในคนไข้โรค Cotard’s syndrome และในคนไข้โรค delusional misidentification syndrome[27]

การรักษา แก้

คนไข้โรคจิตเภทผู้มีอาการหลงผิดนี้และที่เกี่ยวกับศาสนาพบว่า ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมน้อยที่สุด[19] ซึ่งเป็นจิตบำบัดรูปแบบหนึ่งที่เบื้องต้นใช้รักษาความซึมเศร้า[28] แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตหลายอย่างเพื่อบรรเทาความทุกข์และความพิการ[29]

ในช่วงบำบัด แพทย์พยาบาลจะเชื่อมความหลงผิดนี้กับความเชื่อที่เป็นมูลฐานโดยตามลำดับการอนุมานต่อ ๆ กัน (inference chaining)[28][30] คือพยายามหาจุดประสงค์/ความหมายสำหรับคนไข้และลำดับการคิดที่เป็นมูลฐานของความเชื่อเช่นนี้[31] เช่น ถามว่า "ถ้านี่เป็นจริง มันหมายความว่าอย่างไรสำหรับคุณ ? คำอธิบายอันไหนคุณอยากจะให้เป็นจริง ?"[32] การรักษาบางอย่างเพื่อปรับปรุงสภาพของคนไข้เล็งตีมการหลงผิดโดยเฉพาะ ๆ, เล็งอธิบายคำที่คนไข้สร้างขึ้นมาใหม่ และเล็งเชื่อมโยงความคิด[30] เมื่อเชื่อมโยงความคิด แพทย์พยาบาลจะถามคนไข้อย่างซ้ำ ๆ ให้อธิบายการเปลี่ยนความคิดของคนไข้จากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกัน[30]

คนไข้ความผิดปกติทางจิตใจที่มีอาการหลงผิดคิดตนเขื่องพบว่า เสี่ยงคิดและพยายามฆ่าตัวตายน้อยกว่า[33]

วิทยาการระบาด แก้

งานปี 2006 ที่วิจัยคนไข้ 1,000 คนที่มีพื้นเพประวัติต่าง ๆ กันมาก พบว่า ความหลงผิดคิดตนเขื่องเป็นอาการหลงผิดที่สามัญที่สุดต่อจากการมีคนตามรังควาน[3] ความต่าง ๆ กันของการเกิดความหลงผิดคิดตนเขื่องในคนไข้โรคจิตเภทต่างวัฒนธรรมก็พบด้วยในงานวิจัยต่าง ๆ[34][35] งานหนึ่งพบว่า GD ในคนไข้โรคอารมณ์สองขั้ว (59%) สามัญกว่าคนไข้โรคจิตเภท (49%) ตามด้วยคนไข้โรคใช้ยาเสพติด (SUD) (30%) และคนไข้โรคซึมเศร้า (21%)[36]

อายุที่เริ่มเกิดโรคอารมณ์สองขั้วอ้างว่า สัมพันธ์กับการเกิด GD ตามงานปี 2000 GD เกิดในคนไข้ 74% ผู้มีอายุ 21 ปีหรือน้อยกว่าเมื่อเกิดโรค เทียบกับเกิดกับคนไข้ 40% ผู้มีอายุ 30 ปีหรือมากกว่าเมื่อเกิดโรค[37]

ความชุก แก้

งานวิจัยแสดงว่า ความรุนแรงของ GD สัมพันธ์โดยตรงกับความภูมิใจในตนที่สูงกว่าในบุคคล และสัมพันธ์อย่างผกผันกับระดับความซึมเศร้าหรือระดับการประเมินตัวเองในเชิงลบของคนไข้[38] งานศึกษาพบว่า การเกิด GD ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศที่สำคัญ[39][40] แต่ก็พบว่าสิ่งที่หลงผิด (contents) จะต่างกันระหว่างเพศ[41] อนึ่ง ยังพบด้วยว่า การเกิด GD ในบุคคลที่ได้การศึกษาอย่างน้อยระดับปฐมศึกษาหรือมัธยมศึกษาจะสูงกว่าคนที่ได้การศึกษาน้อยกว่า การเกิด GD ในพี่คนโตจะมากกว่าน้องคนเล็ก[39]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. โรควิลสัน (อังกฤษ: Wilson's disease) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ร่างกายเก็บสะสมทองแดง อาการปกติจะเกี่ยวกับสมองและตับ อาการเกี่ยวกับตับรวมการอาเจียน อ่อนเพลีย น้ำสะสมในท้อง ขาบวม ผิวเหลือง และคัน อาการเกี่ยวกับสมองรวมการสั่น กล้ามเนื้อเกร็ง ปัญหาการพูด บุคลิกภาพเปลี่ยน วิตกกังวล เห็นหรือได้ยินสิ่งที่คนอื่นไม่เห็นไม่ได้ยิน[12]

อ้างอิง แก้

  1. Corsini, Ray (2016). The Dictionary of Psychology. Taylor & Francis. p. 985. ISBN 978-1-317-70570-3.
  2. American Psychiatric Association (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th, text (DSM-IV-TR) ed.). American Psychiatric Association.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 Knowles, R; McCarthy-Jones, S; Rowse, G (2011). "Grandiose delusions: A review and theoretical integration of cognitive and affective perspectives". Clinical Psychology Review. 31 (4): 684–696. doi:10.1016/j.cpr.2011.02.009. PMID 21482326. อ้างอิง Stompe, T; Karakula, H; Rudalevičiene, P; Okribelashvili, N; Chaudhry, HR; Idemudia, EE; และคณะ (2006). "The pathoplastic effect of culture on psychotic symptoms in schizophrenia". World Cultural Psychiatry Research Review: 157–163.
  4. 4.0 4.1 4.2 Nelson, H.E. (2005). Cognitive-Behavioural Therapy with Delusions and Hallucinations: A Practice Manual. Nelson Thornes. p. 339. ISBN 9780748792566. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
  5. Sadock, B. J.; Sadock, VA (2008). "11.3 Delusional Disorder and Shared Psychotic Disorder". Kaplan and Sadock's Concise Textbook of Clinical Psychiatry. Lippincott Williams & Wilkins. DIAGNOSIS AND CLINICAL FEATURES, Mental Status, Table 11.3–1 DSM-IV-TR Diagnostic Criteria for Delusional Disorder, p. 184. ISBN 9780781787468. Grandiose type: delusions of inflated worth, power, knowledge, identity, or special relationship to a deity or famous person
  6. Davies, J.L.; Janosik E.H. (1991). Mental Health and Psychiatric Nursing: A Caring Approach. Boston, MA: Jones & Bartlett Learning. p. 760. ISBN 9780867204421.
  7. 7.0 7.1 Casey, P.R.; Brendan K. (2007). Fish's Clinical Psychopathology: Signs and Symptoms in Psychiatry. UK: RCPsych Publications. p. 138. ISBN 9781904671329.
  8. Smith, N; Freeman, D; Kuipers, E (2005). "Grandiose Delusions: An Experimental Investigation of the Delusion as Defense". Journal of Nervous and Mental Disease. 193 (7): 480–487. doi:10.1097/01.nmd.0000168235.60469.cc. PMID 15985843.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Cummings, Jeffrey L. (1985). "Organic delusions: phenomenology, anatomical correlations and review". The British Journal of Psychiatry. 146 (2): 184–197. doi:10.1192/bjp.146.2.184. PMID 3156653.
  10. McHugh, P.R; Folstein, M.F (1975). "Psychiatric syndromes in Huntington's chorea". Psychiatric Aspectes of Neurological Disease.
  11. Bromberg, W. (1930). "Mental states in chronic encephalitis". Psychiatric Quarterly. 4 (4): 537–566. doi:10.1007/bf01563408.
  12. "Wilson Disease". NIDDK. October 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-09.
  13. Pandy, R.S.; Sreenivas, K.N.; Paith N.M.; Swamy, H.S. (1981). "Dopamine beta-hydroxylase in a patient with Wilson's disease and mania". The American Journal of Psychiatry. 138 (12): 1628–1629. doi:10.1176/ajp.138.12.1628. PMID 7304799.
  14. Lin, J-T Y.; Ziegler, D. (1976). "Psychiatric symptoms with initiation of carbidopa-levodopa treatment". Neurology. 26 (7): 679–700. doi:10.1212/wnl.26.7.699. PMID 945518.
  15. Goggans, F.C. (1983). "A case of mania secondary to vitamin B12 deficiency". The American Journal of Psychiatry. 141: 300–301.
  16. Cooper, A.T. (1967). "Hypomanic psychosis precipitated by hemodialysis". Comprehensive Psychiatry. 8 (3): 168–172. doi:10.1016/s0010-440x(67)80020-8. PMID 6046067.
  17. Jefferson, J.W.; Marshall, J.R. "Neuropsychiatric Features of Medical Disorders". New York: Plenum :Medical Book Company.
  18. Lehmann, J. (1966). "Mental disturbances followed by stupor in a patient with carcinoidosis". Acta Psychiatrica Scandinavica. 42 (2): 153–161. doi:10.1111/j.1600-0447.1966.tb01921.x. PMID 5958539.
  19. 19.0 19.1 Appelbaum, P.S.; Clark Robbins, P.; Roth, L. H. (1999). "Dimensional approach to delusions: Comparison across types and diagnoses". The American Journal of Psychiatry. 156 (12): 1938–1943. doi:10.1176/ajp.156.12.1938 (inactive 2019-08-20). PMID 10588408.{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of สิงหาคม 2019 (ลิงก์)
  20. 20.0 20.1 20.2 Magill's Encyclopedia of Social Science: Psychology. California: Salem Press, Inc. 2003. pp. 718–719.
  21. Noll, R. (2009). The Encyclopedia of Schizophrenia and Other Psychotic Disorders. New York: Facts on File, Inc. p. 122. ISBN 9780816075089.
  22. Hunsley, J.; Mash E.J. (2008). A Guide to Assessment that Work. Oxford University Press. p. 676. ISBN 9780198042457.
  23. Barlow, D.H. (2007). Clinical Handbook of Psychological Disorders: A Step by Step Treatment Manual. New York: Guilford. p. 722. ISBN 9781606237656.
  24. Kantor, M. (2004). Understanding Paranoia: A Guide for Professionals, Families, and Sufferers. West Port: Greenwoord. p. 252. ISBN 9780275981525.
  25. Isaac, G. (2001). Bipolar Not Adhd: Unrecognized Epidemic of Manic Depressive Illness in Children. Lincoln: Writers Club Press. p. 184. ISBN 9781475906493.
  26. Fieve, R. R. (2009). Bipolar Breakthrough: The Essential Guide to Going Beyond Moodswings to Harness Your Highs, Escape the Cycles of Recurrent Depression, and Thrive with Bipolar II. Rodale. p. 288. ISBN 9781605296456.
  27. Tonkonogy, Joseph M; Tonkonogiĭ, TM; Puente, AE (2009). "5 Disturbances in the Recognition of the Social World". Localization of Clinical Syndromes in Neuropsychology and Neuroscience. New York, NY: Springer Publishing Company. Conclusion, p. 288. ISBN 9780826119681. 2. Temporal lobe lesions have been primarily reported in patients with delusions of persecution and of guilt, while frontal and frontotem- poral involvement have described in patients with grandiose delusions, Cotard’s syndrome, and delusional misidentification syndrome.
  28. 28.0 28.1 Beck, A.T.; Rush, AJ; Shaw, BF; Emergy, G (1979). "Cognitive Therapy of Depression". New York, NY. Guilford Press.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  29. Salkovskis, P.M. (1996). Frontiers of Cognitive Therapy. New York: Guillford.
  30. 30.0 30.1 30.2 Sensky, T.; และคณะ (2000). "A randomized controlled trial of Cognitive-Behavioral Therapy for Persistent Symptoms in Schizophrenia resistant to medication". Archives of General Psychiatry. 57 (2): 165–172. doi:10.1001/archpsyc.57.2.165. PMID 10665619.
  31. O'Shea, Brian (2010). "10 Schizophrenia and other non-affective, non-organic psychoses". Textbook of Psychological Medicine (5th ed.). The College of Psychiatry of Ireland. Treatment strategies, Cognitive behaviour therapy (CBT), p. 349. ‘Inference chaining’ involves discovery of the meaning for the patient and the trail of thinking underlying such beliefs.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. Garrett, Michael D (2017). "33.16 Individual Psychodynamic Psychotherapy and Cognitive Behavioral Therapy for Psychosis". ใน Sadock, Benjamin; Sadock, Virginia; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan and Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). New York: Wolters Kluwer. Applying These Models to the Patient’s Experience and Begin Investigating Core Psychotic Beliefs. inference chaining (“If this turned out to be true, what would it mean to you? Which explanation would you prefer to be true?”)
  33. Oquendo, M.A.; และคณะ (2000). "Suicidal behavior in bipolar mood disorder: clinical characteristics of attempters and nonattempters". Journal of Affective Disorders. 59 (2): 107–117. doi:10.1016/s0165-0327(99)00129-9.
  34. Stompe, T.; และคณะ (2007). "Paranoid-hallucinatory syndromes in schizophrenia results of the international study on psychotic symptoms". World Cultural Psychiatry Review: 63–68.
  35. Suhail, K. (2003). "Phenomenology of delusions in Pakistani patients: effect of gender and social class". Psychopathology. 36 (4): 195–199. doi:10.1159/000072789. PMID 14504453.
  36. Knowles et al. (2011) อ้างอิง Appelbaum, PS; Robbins, PC; Roth, LH (1999). "A dimensional approach to delusions: Comparison across delusion types and diagnoses". American Journal of Psychiatry. 156: 1938–1943.
  37. Knowles et al. (2011) อ้างอิง Carlson, GA; Bromet, EJ; Sievers, S (2000). "Phenomenology and outcome of subjects with early- and adult-onset psychotic mania". American Journal of Psychiatry. 157: 213–219.
  38. Smith, N.; และคณะ (2006). "Emotion and psychosis: Links between depression, self-esteem, negative schematic beliefs and delusions and hallucinations". Schizophrenia Research. 86 (1): 181–188. doi:10.1016/j.schres.2006.06.018. PMID 16857346.
  39. 39.0 39.1 Lucas, C.J.; และคณะ (1962). "A social and clinical study of delusions in schizophrenia". The Journal of Mental Science. 108 (457): 747–758. doi:10.1192/bjp.108.457.747.
  40. Knowles et al. (2011) อ้างอิง de Portugal, E; González, M; Haro, JM; Usall, J; Cervilla, JA (2010). "Gender differences in delusional disorder: Evidence from an outpatient sample". Psychiatry Research. 177: 235–239.
  41. Knowles et al. (2011) อ้างอิง Rudalevičienė, P; Stompe, T; Narbekovas, A; Raškauskienė, N; Bunevičius, R (2008). "Are religious delusions related to religiosity in schizophrenia?". Medicina (Kaunas). 44: 529–535.