ปิยบุตร แสงกนกกุล
รองศาสตราจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล ต.ม. จ.ช. (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2522) ชื่อเล่น ป๊อก เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร และอดีตเลขาธิการพรรคพรรคอนาคตใหม่ อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกคณะนิติราษฎร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยและฝรั่งเศสและปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะก้าวหน้า
ปิยบุตร แสงกนกกุล | |
---|---|
ปิยบุตร ใน พ.ศ. 2563 | |
เลขาธิการคณะก้าวหน้า | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 มีนาคม พ.ศ. 2563 (4 ปี 233 วัน) | |
เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (1 ปี 270 วัน) | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งพรรค |
ถัดไป | ชัยธวัช ตุลาธน (พรรคก้าวไกล) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (0 ปี 334 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2522 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) คณะก้าวหน้า (2563-ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | คณะนิติราษฎร์ |
คู่สมรส | เออเชนี เมรีโอ |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ | อาจารย์ นักการเมือง |
ทรัพย์สินสุทธิ | 7.7 ล้านบาท (พ.ศ. 2562) |
ชื่อเล่น | ป๊อก |
ประวัติ
แก้ปิยบุตร เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2522 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คน ชื่อของเขามีที่มาจากวันเกิดของเขาซึ่งตรงกับวันปิยมหาราช เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางเชื้อสายจีน แต่พ่อแม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาของลูก ๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งต้องแลกกับการใช้ชีวิตอย่างเหน็ดเหนื่อย ทำงานหนักและอดออม แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังลงท้ายด้วยภาระหนี้สินจากความต้องการสร้างอนาคตให้ลูก
ปิยบุตร จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ[1] (ร่วมรุ่นกับ จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์) แล้วเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบได้รับเกียรตินิยมอันดับ 2 เขาได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ปิยบุตรจบปริญญาโท DEA (Master 2) สาขากฎหมายมหาชนและกฎหมายสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส วิทยานิพนธ์เรื่อง “ข้อความคิดเรื่องผู้มีส่วนได้เสียในคดีปกครองสิ่งแวดล้อม” (2546 - 2547) และ ปริญญาเอก เกียรตินิยมดีมาก โดยมติเอกฉันท์ (Mention Très Honorable avec Félicitations) มหาวิทยาลัยตูลูส (Toulouse) ประเทศฝรั่งเศส (2553) วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศาลปกครอง: การกำเนิดของสถาบัน”[2]
ปิยบุตรให้ความสนใจประเด็นต่าง ๆ ทางสังคมมาโดยตลอด แม้ในระหว่างที่เขาได้รับทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ไปเรียนปริญญาโทและเอกอยู่ที่นั่น ก็ไม่ได้ศึกษาเฉพาะวิชากฎหมายที่ตัวเองเรียนอยู่เท่านั้น แต่ยังใช้เวลาค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม รวมทั้งขบวนการทางสังคมที่เคลื่อนไหวผลักดันประเด็นต่าง ๆ ทั้งในฝรั่งเศสและประเทศยุโรปอื่น ๆ ในขณะที่ยังคงติดตามการเมืองไทยและแสดงความคิดเห็นอยู่โดยตลอด
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปิยบุตร ได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยตำแหน่งสุดท้ายคือ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน หลังรับราชการมาตั้งแต่ปี 2547[3][4][5][6][7][8][9]เพื่อจับมือกับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองคล้ายกันอีกจำนวนหนึ่ง ยื่นจดจัดตั้งพรรคการเมืองในนามพรรคอนาคตใหม่ ด้วยความตั้งมั่นจะสร้างการเมืองใหม่แห่งความหวัง การกลับคืนสู่หนทางที่การปกครองจะยึดโยงอยู่กับประชาชน และสร้างสรรค์ประเทศไทยที่อนาคตอยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง[10]
บทบาททางการเมือง
แก้วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปิยบุตร และธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตนักธุรกิจในเครือไทยซัมมิท และผู้สนับสนุนจำนวน 24 คน ได้ยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองภายใต้ชื่อพรรคอนาคตใหม่[11] ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต่อมานายธนาธรได้รับมติเห็นชอบ 473 เสียงจากที่ประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก โดยตำแหน่งหัวหน้าพรรคดังกล่าวจะมีวาระตามข้อกำหนดของพรรค 4 ปี ในขณะที่ ปิยบุตร แสงกนกกุล ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับการโหวตจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาให้ได้รับฉายาว่า "ดาวเด่น" จากการเปิดประเด็นเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ไม่ครบถ้อยคำตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด[12] หลังศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เขาแยกออกมาตั้งกลุ่มชื่อ คณะก้าวหน้า
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เขาได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคณะประชาชนปลดแอก ร่วมกับ วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ บริเวณทำเนียบรัฐบาลไทย เขาเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[13]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ด้านชีวิตส่วนตัวสมรสกับ เออเชนี เมรีโอ (Eugenie Merieau)[14] อดีตอาจารย์ชาวฝรั่งเศส ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยปัจจุบันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน ประเทศเยอรมนี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[15]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ปิยบุตร ยันเอง อยู่ห้องเดียวกับ 'สุกรี' ผู้มาก่อนกาล ตั้งแต่ ป.1/3". มติชนออนไลน์. 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ปิยบุตร แสงกนกกุล – สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน". sameskybooks.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-15. สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.
- ↑ การเมืองและการต่อสู้เรื่องการุณยฆาต ในฝรั่งเศส (ปิยบุตร แสงกนกกุล , 2547)
- ↑ "บทวิเคราะห์ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ โดย อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล". www.public-law.net.
- ↑ ปิยบุตร แสงกนกกุล รัฐประหารในกฎหมายไทย 2550
- ↑ ปิยบุตร แสงกนกกุล: ทำความรู้จัก “ศาลฎีกาคดีอาญานักการเมือง”
- ↑ "การเมืองเรื่องที่น่าสนใจในประเทศฝรั่งเศส โดยอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล". www.public-law.net.
- ↑ "สืบค้นสารสนเทศ : ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ELIB". elibrary.constitutionalcourt.or.th.
- ↑ ""หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" อาวุธทรงพลังในหมู่ "ลูกแกะ" โดย อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล". www.public-law.net.
- ↑ ปิยบุตร แสงกนกกุล: ชัยชนะของอนาคตใหม่คือการเปลี่ยนความคิด
- ↑ ธนาธรและเพื่อน เปิดตัวทีมงาน พร้อมจดชื่อ ‘พรรคอนาคตใหม่’
- ↑ ฉายารัฐสภา “ดงงูเห่า” ตีตราวุฒิ สภาทหารเกณฑ์
- ↑ “ปิยบุตร” ร่วมม็อบ 14 ตุลา ปัดอยู่เบื้องหลัง เรียกร้อง “บิ๊กตู่” ลาออก
- ↑ Dr. Eugénie Mérieau - Georg-August-Universität Göttingen
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๓๒, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๒๐๙, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑