อำเภอเมืองนครราชสีมา
เมืองนครราชสีมา เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวนอำเภอทั้งหมด 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด และหน่วยงานราชการต่าง ๆ และเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัด
อำเภอเมืองนครราชสีมา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Nakhon Ratchasima |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอเมืองนครราชสีมา | |
พิกัด: 14°58′16″N 102°5′59″E / 14.97111°N 102.09972°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 755.6 ตร.กม. (291.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 466,098 คน |
• ความหนาแน่น | 616.85 คน/ตร.กม. (1,597.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30000, 30280 (ตำบลโคกกรวด), 30310 (ตำบลโคกสูง, จอหอ, บ้านโพธิ์, ตลาด, หนองไข่น้ำ) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3001 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา ถนนสรรพสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติศาสตร์
แก้อำเภอเมืองนครราชสีมามีชื่อเรียกตามความถนัดของชาวพื้นเมืองว่า "โคราช" เรียกตามภาษาราชการว่า "เมืองนครราชสีมา" เหตุที่เรียก 2 ชื่อ ด้วยปรากฏว่าตามหลักฐานโบราณคดีเรื่องงานข้างต้นวินิจฉัยชื่อเมืองนครราชสีมาว่า ก่อนที่จะสร้างขึ้นในสถานที่ปัจจุบัน เดิมมีเมืองโบราณอยู่ 2 เมือง ซึ่งอยู่ทางขวาของลำตะคอง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน เมืองที่หนึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำตะคองมีชื่อเรียกว่า เมืองโคราช จากหลักฐานที่ได้สำรวจพบว่าในบริเวณเมืองทั้งสอง เมืองเสมาสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ ต่อมาได้ข้ามมาสร้างเมืองโคราชขึ้นอีกเป็นเมืองใหม่ ทิ้งเมืองเสมาให้เป็นเมืองร้างในที่สุด
ชื่อเมืองโคราช น่าจะเพี้ยนมาจากชื่อเมือง "นครราช" ในภาษาเขมร และไม่น่านำมาจากชื่อเมือง "โคราฆะปุระ" ในมัชฌิมประเทศ เนื่องจากเมืองโคราฆะปุระเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในอินเดีย ราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งมีอายุน้อยกว่าอารยธรรมขอม-ทวาราวดีของเมืองเสมามาก
ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงย้ายเมืองโคราชและเมืองเสมามาสร้างในที่ตั้งปัจจุบัน และตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองนครราชสีมา เมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองหน้าด่าน มีคูล้อมรอบและมีประตูเมือง 4 ประตู คือ
- ทิศเหนือ เรียกว่า ประตูพลแสน หรือ ประตูน้ำ
- ทิศใต้ เรียกว่า ประตูไชยณรงค์ หรือ ประตูผี
- ทิศตะวันออก เรียกว่า ประตูพลล้าน
- ทิศตะวันตก เรียกว่า ประตูชุมพล
ข้อมูลพื้นฐาน
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเมืองนครราชสีมาตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด บนที่ราบสูงโคราช ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14-15 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 101-102 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 180-210 เมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 259 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโนนไทยและอำเภอโนนสูง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโชคชัยและอำเภอปักธงชัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสูงเนินและอำเภอขามทะเลสอ
พื้นที่และประชากร
แก้เนื้อที่ทั้งหมดของอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 755.60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 468,704 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.69 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดนครราชสีมา[3]
มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 466,848 คน เป็นชาย 227,312 คน เป็นหญิง 239,536 คน จำนวนบ้าน 235,050 หลัง ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่เท่ากับ 617.85 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร อำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[4]
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
แก้ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอเมืองนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งสภาพพื้นที่ดังนี้คือ บริเวณพื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอ มีลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดชัน ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ และบริเวณทางตอนใต้ค่อนไปทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าสงวนห้วยยางครอบคลุมพื้นที่ ในเขตตำบลไชยมงคล ตำบลหนองจะบก ตำบลบ้านใหม่ และตำบลโคกกรวด ส่วนบริเวณพื้นที่ตอนล่างมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองลำตะคอง คลองส่งน้ำชลประทานและเป็นที่ตั้งของเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และส่วนบริเวณทางตอนเหนือมีลักษณะพื้นที่เกือบราบถึงราบ
แหล่งน้ำ
แก้พื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมาสามารถแบ่งลุ่มน้ำออกเป็น 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำลำตะคอง ลุ่มน้ำลำช่องโค และลุ่มน้ำลำเชิงไกร
- ลุ่มน้ำลำตะคอง อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองนครราชสีมา ลำน้ำตอนต้นไหลผ่านหุบเขาเขตอำเภอปากช่องและอำเภอสีคิ้วที่มีความลาดชันมาก มีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำทั้งหมดรวม 14 ตำบล 129 หมู่บ้าน
- ลุ่มน้ำลำช่องโค อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นลำน้ำซึ่งรับน้ำมาจากลำมูล มีหมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำ 1 ตำบล คือ ตำบลหนองระเวียง จำนวน 6 หมู่บ้าน
- ลุ่มน้ำลำเชิงไกร อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองนครราชสีมา ต้นน้ำไหลมาจากแม่น้ำป่าสัก มีหมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำ 1 ตำบล คือ ตำบลโคกสูง จำนวน 12 หมู่บ้าน
พื้นที่นอกเขตลุ่มน้ำ คือ พื้นที่ตำบลโพธิ์กลาง หนองบัวศาลา ไชยมงคล และสุรนารี ตั้งอยู่ในที่ราบสูง ไม่มีแหล่งน้ำไหลผ่านและไม่สามารถจะจัดเป็นลุ่มน้ำได้ แต่ในแต่ละตำบลและหมู่บ้านดังกล่าวมีหนองน้ำและบึงขนาดใหญ่ รวมถึงอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานอยู่ด้วย การผลิตน้ำประปาเพื่อให้บริการประชาชนในเขตเทศบาล อยู่ในความรับผิดชอบของกองประปาเทศบาลนครนครราชสีมา โดยอาศัยแหล่งน้ำดิบจากเขื่อนลำตะคอง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว
เหตุการณ์สำคัญ
แก้- 13 สิงหาคม พ.ศ. 2536 โรงแรมรอยัลพลาซ่าเกิดถล่มลงมามีผู้เสียชีวิต 137 ราย [5]บาดเจ็บ 227 ราย และทุพพลภาพจำนวนมาก
- 8-9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เกิดเหตุกราดยิง มีผู้เสียชีวิตรวม 30 ราย
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเมืองนครราชสีมาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 25 ตำบล 234 หมู่บ้าน ได้แก่
- ในเมือง (Nai Mueang)
- โพธิ์กลาง (Pho Klang)
- หนองจะบก (Nong Chabok)
- โคกสูง (Khok Sung)
- มะเริง (Maroeng)
- หนองระเวียง (Nong Rawiang)
- ปรุใหญ่ (Pru Yai)
- หมื่นไวย (Muen Wai)
- พลกรัง (Phon Krang)
- หนองไผ่ล้อม (Nong Phai Lom)
- หัวทะเล (Hua Thale)
- บ้านเกาะ (Ban Ko)
- บ้านใหม่ (Ban Mai)
- พุดซา (Phutsa)
- บ้านโพธิ์ (Ban Pho)
- จอหอ (Cho Ho)
- โคกกรวด (Khok Kruat)
- ไชยมงคล (Chai Mongkhon)
- หนองบัวศาลา (Nong Bua Sala)
- สุรนารี (Suranari)
- สีมุม (Si Mum)
- ตลาด (Talat)
- พะเนา (Phanao)
- หนองกระทุ่ม (Nong Krathum)
- หนองไข่น้ำ (Nong Khai Nam)
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้อำเภอเมืองนครราชสีมามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 27 แห่ง แบ่งตามรูปแบบการบริหารและจัดการ 2 รูปแบบคือ เทศบาล และอบต. (อบต.) เทศบาลมีทั้งสิ้น 16 แห่ง แบ่งเป็น เทศบาลนครจำนวน 1 แห่ง และเทศบาลตำบลจำนวน 15 แห่ง ส่วนอบต.มีทั้งสิ้น 11 แห่ง ซึ่งบริหารในพื้นที่ตำบลนอกเขตเทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองนครราชสีมามีรายชื่อดังนี้[6]
ชื่อ | ประเภท | ครอบคลุมตำบล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร พ.ศ. 2555 (คน) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
จำนวนบ้าน (หลัง) |
ระยะทางจาก ที่ว่าการอำเภอ (กม.) | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งหมด | บางส่วน | |||||||
นครราชสีมา | ทน. | ในเมือง | — | 37.50 | 120,354 | 3,209.44 | 72,306 | 1.3 |
โพธิ์กลาง | ทต. | โพธิ์กลาง | — | 55.23 | 29,468 | 533.55 | 13,508 | 8.5 |
หัวทะเล | ทต. | หัวทะเล | — | 15.59 | 27,729 | 1,778.64 | 13,858 | 8 |
สุรนารี | ทต. | สุรนารี | — | 49.90 | 21,074 | 422.32 | 11,722 | 15 |
บ้านใหม่ | ทต. | บ้านใหม่ | — | 19.55 | 19,465 | 955.65 | 8,248 | 10 |
จอหอ | ทต. | — | จอหอ, บ้านเกาะ | 9.50 | 16,968 | 1,786.10 | 9,909 | 8 |
เมืองใหม่โคกกรวด | ทต. | — | โคกกรวด | 64.17 | 15,430 | 240.45 | 7,500 | 13 |
หนองไผ่ล้อม | ทต. | หนองไผ่ล้อม | — | 17.89 | 15,186 | 848.85 | 11,300 | 3 |
โคกสูง | ทต. | โคกสูง | — | 30.56 | 11,493 | 376.07 | 5,202 | 15 |
บ้านโพธิ์ | ทต. | บ้านโพธิ์ | — | 44.36 | 10,422 | 234.94 | 4,583 | 18 |
ตลาด | ทต. | ตลาด | — | 22.20 | 10,332 | 465.40 | 5,509 | 12 |
พุดซา | ทต. | พุดซา | — | 39.36 | 10,240 | 260.16 | 3,430 | 16 |
ปรุใหญ่ | ทต. | ปรุใหญ่ | — | 16.63 | 9,861 | 592.96 | 5,156 | 11 |
ไชยมงคล | ทต. | ไชยมงคล | — | 60.18 | 8,724 | 144.96 | 4,234 | 18 |
โคกกรวด | ทต. | — | โคกกรวด | 3.00 | 7,093 | 2,364.33 | 4,687 | 18 |
หนองไข่น้ำ | ทต. | หนองไข่น้ำ | — | 43.44 | 6,149 | 141.55 | 1,841 | 19 |
หนองบัวศาลา | อบต. | หนองบัวศาลา | — | 36.61 | 25,647 | 700.54 | 14,960 | 10 |
จอหอ | อบต. | — | จอหอ | 26.97 | 14,960 | 554.69 | 8,261 | 12.5 |
หนองจะบก | อบต. | หนองจะบก | — | 23.56 | 14,447 | 613.20 | 7,055 | 7 |
หนองระเวียง | อบต. | หนองระเวียง | — | 54.77 | 13,150 | 240.09 | 5,350 | 16 |
บ้านเกาะ | อบต. | — | บ้านเกาะ | 11.30 | 11,731 | 1038.14 | 6,783 | 6 |
หมื่นไวย | อบต. | หมื่นไวย | — | 9.76 | 10,824 | 1,109.01 | 5,860 | 5 |
หนองกระทุ่ม | อบต. | หนองกระทุ่ม | — | 18.50 | 9,702 | 524.43 | 5,295 | 8 |
มะเริง | อบต. | มะเริง | — | 10.25 | 9,156 | 893.26 | 4,102 | 10.5 |
สีมุม | อบต. | สีมุม | — | 15.0 | 6,497 | 433.13 | 2,274 | 15 |
พะเนา | อบต. | พะเนา | — | 18.16 | 5,251 | 289.15 | 1,852 | 9 |
พลกรัง | อบต. | พลกรัง | — | 18.65 | 4,745 | 254.42 | 1,384 | 17 |
สถานีตำรวจ
แก้- กองบังคับการตำรวจภูธรภาค 3
- สถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมา
- สถานีตำรวจภูธรโพธิ์กลาง
- สถานีตำรวจภูธรจอหอ
- สถานีตำรวจภูธรพลกรัง
- สถานีตำรวจภูธรมะเริง
สถาบันอุดมศึกษา
แก้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
แก้- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา)
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย และศูนย์การศึกษาโคราช
- สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วนศ.นครราชสีมา)
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
แก้- มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
- วิทยาลัยนครราชสีมา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์
- สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครราชสีมา
- วิทยาลัยพิชญบัณฑิต นครราชสีมา
- วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ วิทยาเขตนครราชสีมา
- สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หน่วยการเรียนทางไกลจังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียน
แก้โรงเรียนรัฐบาล
แก้- โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (โรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัด)
- โรงเรียนสุรนารีวิทยา (โรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัด)
- โรงเรียนบุญวัฒนา
- โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์
- โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา
- โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์
- โรงเรียนอนุบาลเมืองนครราชสีมา
- โรงเรียนโคราชพิทยาคม
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- โรงเรียนบุญวัฒนา 2
- โรงเรียนพุดซาพิทยาคม
- โรงเรียนมหิศราธิบดี
- โรงเรียนสุรนารีวิทยา 2
โรงเรียนเอกชน
แก้- โรงเรียนมารีย์วิทยา
- โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
- โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครราชสีมา
- โรงเรียนสารสาสน์วิเทศโคราช นครราชสีมา 2
- โรงเรียนปลูกปัญญา
- โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์ นครราชสีมา
- โรงเรียนเตชะวิทย์
- โรงเรียนเกียรติคุณวิทยา
- โรงเรียนรวมมิตรวิทยา
- โรงเรียนโคราชวิทยา
- โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สถานที่สำคัญ
แก้สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
- สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนน้ำโคราช
- ปราสาทหินพนมวัน
- พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
- พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
- วัดสุทธจินดาวรวิหาร
- วัดศาลาลอย
- วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร
- วัดป่าสาลวัน
- วัดพายัพ
- ศาลหลักเมืองนครราชสีมา
- สวนน้ำบุ่งตาหลั่วเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙
- หาดสุรนารี อ่างเก็บน้ำห้วยยาง
การคมนาคม
แก้อำเภอเมืองนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางคมนาคมและการขนส่ง โดยเป็นชุมทางสำหรับการติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยใช้เส้นทางรถยนต์ ทางรถไฟ และทางอากาศ มีรายละเอียดดังนี้
ทางรถยนต์
แก้เส้นทางรถยนต์ ถนนสายหลักที่ใช้ติดกับจังหวัด อำเภอใกล้เคียง
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 หรือ ถนนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา (ให้บริการบางส่วนช่วงเทศกาล)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เส้นทางสระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย ใช้สำหรับติดต่อกับจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินเส้นหนึ่งที่มีลักษณะเป็นวงแหวนวนรอบตัวเมืองนครราชสีมา (เปิดให้บริการบางส่วน)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (ถนนสุรนารายณ์) เส้นทางนครราชสีมา-ชัยภูมิ-ลพบุรี ใช้สำหรับติดต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและภาคกลาง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 (ถนนนครราชสีมา-โชคชัย) เส้นทางนครราชสีมา-อุบลราชธานี ใช้สำหรับติดต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ถนนนครราชสีมา-จักราช) เส้นทางนครราชสีมา-บุรีรัมย์-อุบลราชธานี ใช้ติดต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ถนนนครราชสีมา-กบินทร์บุรี) เส้นทางนครราชสีมา-ฉะเชิงเทรา ใช้สำหรับติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออก
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2068 เส้นทางตำบลโคกกรวด-อำเภอโนนไทย ใช้สำหรับติดต่อกับอำเภอขามทะเลสอและอำเภอโนนไทย
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2162 เส้นทางอำเภอเมืองนครราชสีมา-อำเภอห้วยแถลง ใช้สำหรับติดต่อกับอำเภอจักราชและอำเภอห้วยแถลง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2198 เส้นทางตำบลโคกสูง-อำเภอขามทะเลสอ ใช้สำหรับติดต่อกับอำเภอเมืองนครราชสีมากับอำเภอขามทะเลสอ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2310 เส้นทางตำบลไชยมงคล-อำเภอโชคชัย ใช้สำหรับติดต่อกับอำเภอเมืองนครราชสีมากับอำเภอโชคชัย
ทางรถไฟ
แก้มีสถานีรถไฟในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมาจำนวน 6 สถานี รองรับรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 2 เส้นทาง โดยเริ่มจากสถานีดังต่อไปนี้
- สถานีรถไฟโคกกรวด เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-นครราชสีมา กิโลเมตรที่ 249.94 ตั้งอยู่ในเขตตำบลโคกกรวด ระยะห่างถึงสถานีรถไฟภูเขาลาดประมาณ 7.5 กิโลเมตร
- สถานีรถไฟภูเขาลาด เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-นครราชสีมา กิโลเมตรที่ 257.44 ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านใหม่ ระยะห่างถึงสถานีรถไฟนครราชสีมาประมาณ 6.21 กิโลเมตร
- สถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี และสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 263.65 เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มแรกกิจการรถไฟของประเทศไทย ตั้งอยู่ตำบลในเมือง เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองนครราชสีมา บนถนนมุขมนตรี (เป็นสถานีร่วมสถานีรถไฟความเร็วสูงนครราชสีมา)
- สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ เป็นสถานีรถไฟชุมทางในเส้นทางสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี และสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 266.28 เป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดและความสำคัญรองลงมาจากสถานีนครราชสีมา ตั้งอยู่ตำบลในเมือง เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ทิศใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา โดยที่สถานีแห่งนี้ ได้แยกเส้นทางรถไฟออกเป็น 2 สาย คือ
- สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ผ่านไปยังอำเภอโนนสูง คง บ้านเหลื่อม บัวใหญ่ เรื่อยไปจนถึงจังหวัดหนองคาย ระยะทางประมาณ 624 กิโลเมตร
- สถานีรถไฟบ้านเกาะ เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 272.50 ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเกาะ มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 6.22 กิโลเมตร
- ที่หยุดรถไฟสระธรรมขันธ์ เป็นที่หยุดรถในเส้นทางสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 278 ตั้งอยู่ในเขตตำบลจอหอ มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 11.72 กิโลเมตร
- ที่หยุดรถไฟหนองไข่น้ำ เป็นที่หยุดรถในเส้นทางสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 282.92 ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองไข่น้ำ มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 16.64 กิโลเมตร
- สถานีรถไฟบ้านกระโดน เป็นที่หยุดรถในเส้นทางสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 284.67 ตั้งอยู่ในเขตตำบลโคกสูง มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 18.39 กิโลเมตร
- สายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ผ่านไปยังอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จักราช ห้วยแถลง เรื่อยไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 575 กิโลเมตร
- ที่หยุดรถไฟบ้านพะไล เป็นที่หยุดรถในเส้นทางสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี กิโลเมตรที่ 271.59 ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวทะเล มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 5.31 กิโลเมตร
- สถานีรถไฟบ้านพะเนา เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี กิโลเมตรที่ 276.35 ตั้งอยู่ในเขตตำบลพะเนา มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 10.07 กิโลเมตร
สถานีขนส่ง
แก้- สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศสายที่ 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมาให้บริการ ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว/วัน หรือประมาณ 730,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 50,000 คน/วัน หรือประมาณ 18,000,000 ล้านคน/ปี
- สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,300 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 470,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 11,000,000 ล้านคน/ปี
หน่วยกู้ภัย
แก้- มูลนิธิพุทธธรรม 31 (กู้ภัยฮุก 31)
- มูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน (กู้ภัยสว่างเมตตา)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] ข้อมูลประชากร ตำบลในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (ธันวาคม 2564) .จาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ 2.0 2.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] ข้อมูลประชากร เขตเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา (ธันวาคม 2564) .จาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
- ↑ สถิติประชากร ปี พ.ศ. 2555 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/103549
- ↑ "ศูนย์ข้อมูลพื้นฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-06.