รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน)

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย [1](อังกฤษ: The Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People's Republic of China on Bangkok - Nong Khai HSR Development for Regional Connectivity) หรือ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพมหานคร - หนองคาย - เวียงจันทน์) (อังกฤษ: North Eastern High Speed Rail, Thailand-Chinese High Speed Rail) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษที่เป็นหนึ่งในเส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง - สิงคโปร์ สาย Central Route ซึ่งเป็นโครงข่ายที่จะเชื่อมต่อประเทศกลุ่มซีเอ็มแอลวีเข้าเป็นผืนแผ่นเดียวกัน

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน)
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งช่วงที่ 1: กรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, นครราชสีมา
ช่วงที่ 2: ขอนแก่น, อุดรธานี, หนองคาย, เวียงจันทน์ (ลาว)
ปลายทาง
จำนวนสถานี11 สถานี แบ่งเป็น
2 (สถานีร่วม)
4 (ก่อสร้างใหม่)
5 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟความเร็วสูง
ระบบโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย
ผู้ดำเนินงานไทยการรถไฟแห่งประเทศไทย
จีนChina Railway Corporation
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย
ขบวนรถCR300 ซีรีส์ (8 ตู้โดยสาร 594 ที่นั่ง)
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2569 (ช่วงที่ 1 กรุงเทพ - นครราชสีมา: 253 กม.)
ไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต) (ช่วงที่ 2 นครราชสีมา - หนองคาย 354.5 กม.)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง608 กิโลเมตร
จำนวนทางวิ่ง2 (ทางคู่)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
ความเร็ว350 km/h (ทดสอบ)
250 km/h ให้บริการในประเทศไทย
อาณัติสัญญาณCTCS Level 2 [1]
แผนที่เส้นทาง

(ไปเวียงจันทน์ ลาว)
หนองคาย (ตรวจคนเข้าเมือง)
อุดรธานี
บ้านไผ่
ขอนแก่น
บัวใหญ่
นครราชสีมา
ปากช่อง
สายแยก ไป
เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน
สระบุรี
สายเหนือ ไปลพบุรี
63+500 กม. อยุธยา
สายสีแดงเข้ม
13+800 กม. ดอนเมือง
การเคหะ
หลักสี่
ทุ่งสองห้อง
บางเขน
วัดเสมียนนารี
จตุจักร
ไปหัวหิน สายใต้
0+000 กม. บางซื่อ (สถานีกลาง)
สายสีแดงเข้ม ไป หัวลำโพง
เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน ไปอู่ตะเภา

ประวัติ

แก้
 
ฟู่ซิงห้าว CR300AF ขบวนรถที่จะนำมาใช้ในโครงการ

โครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน เป็นหนึ่งในสี่เส้นทางระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย มีจุดหมายเพื่อทดแทนระบบรถไฟชานเมืองและรถไฟสายต่าง ๆ ในประเทศไทย เชื่อมต่อภาคธุรกิจเข้ากับตัวเมืองอย่างรวดเร็ว โครงการเริ่มศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ในสมัยที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน (MoU) กับรัฐบาลจีน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการร่วมกัน ซึ่งทางรัฐบาลจีนเองก็มุ่งหวังที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทยให้เชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จีน - ลาว (คุนหมิง - เวียงจันทน์) อันจะก่อให้เกิดเป็นเส้นทางสายไหมเส้นใหม่ (Belt and Road Initiative) ที่จะเชื่อมต่อประเทศกลุ่มซีเอ็มแอลวี อันได้แก่ จีน ลาว มาเลเซีย และเวียดนาม เข้ากับประเทศไทยให้เป็นผืนแผ่นเดียวกัน โดยมีกรอบวงเงินลงทุนที่ 180,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลไทยจะลงทุนในสัดส่วน 51% และรัฐบาลจีนจะร่วมลงทุนในสัดส่วน 49% แต่สัญญากลับไม่คืบหน้าเนื่องจากรัฐบาลประกาศยุบสภาเสียก่อน

ต่อมาใน พ.ศ. 2556 สมัยที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทบทวนการศึกษาของโครงการดังกล่าวอีกครั้งร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก และได้ผลักดันให้สายอีสานกับสายตะวันออกเป็นหนึ่งในสองเส้นทางนำร่องเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งต่อมารัฐบาลจีนได้ยื่นข้อเสนอว่าจะลงทุนเอง 100% โดยแลกกับสัมปทานการบริหารโครงการจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นระยะเวลา 50 ปี อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2557 เกิดเหตุรัฐประหารขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทำให้โครงการศึกษาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและโครงการระบบรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ต้องหยุดชะงักลง

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 รัฐบาล คสช. ได้มีการทำบันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานกับรัฐบาลจีนอีกครั้ง เพื่อร่วมกันศึกษาแนวทางการก่อสร้างเส้นทางระบบรถไฟความเร็วสูงสายอีสานภายในระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งต่อมาได้มีข้อสรุปในเดือนพฤศจิกายนของปีถัดมา (พ.ศ. 2558) กล่าวคือรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน จะร่วมกันจัดตั้งกิจการร่วมค้าเพื่อเป็นตัวกลางในการดำเนินโครงการ และรัฐบาลจีนจะเป็นตัวแทนในการจัดหาระบบที่เหมาะสม และดำเนินงานเชิงพาณิชย์และซ่อมบำรุง (O&M) ภายในระยะเวลา 3 ปีแรกนับจากวันที่เปิดให้บริการ ก่อนดำเนินการถ่ายโอนองค์ความรู้ การดำเนินการงานซ่อมบำรุง และงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใหักับการรถไฟแห่งประเทศไทยภายในปีที่ 4-6 ก่อนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเข้าดำเนินการเต็มรูปแบบในปีที่ 7 ของสัญญา ซึ่งต่อมากระทรวงคมนาคมได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมืออย่างเป็นทางการ โดยมีกรอบเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. รัฐบาลไทยจะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนด้านงานโยธาทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวภายใต้กรอบวงเงิน 179,000 ล้านบาท
  2. รัฐบาลไทยจะเป็นผู้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ริมทางรถไฟเพื่อให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนภายในประเทศ
  3. ผู้รับเหมาก่อสร้าง จะต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนภายในประเทศไทย
  4. วัสดุก่อสร้างจะใช้วัสดุภายในประเทศเป็นหลัก
  5. แรงงานก่อสร้างจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ห้ามไม่ให้มีการนำเข้าแรงงานจากประเทศจีน ยกเว้นสถาปนิกและวิศวกรที่อนุญาตให้เป็นสัญชาติจีนเป็นกรณีพิเศษ

โครงการได้แบ่งช่วงการดำเนินการออกเป็นทั้งหมด 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงกรุงเทพฯ (บางซื่อ) - แก่งคอย และแก่งคอย - นครราชสีมา ที่เริ่มต้นการก่อสร้างเมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการเริ่มต้นการก่อสร้าง การก่อสร้างจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 11 ช่วง 14 สัญญาเริ่มจากช่วงกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรเป็นช่วงแรก การก่อสร้างช่วงนี้ล่าช้าไปอย่างมาก จากนั้นทางจีนจะเริ่มจัดส่งแบบช่วงต่อไปมาให้ประเทศไทยตรวจสอบจนครบทั้งโครงการภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้แยกช่วง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะทาง 14.5 กิโลเมตรออกมาให้เอกชนผู้ชนะของสายตะวันออกเป็นผู้ดำเนินการแทน เพื่อลดข้อครหาเรื่องการใช้ทางร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทย รัฐบาลจีน และรัฐบาลญี่ปุ่นที่เข้ามาดำเนินโครงการสายเหนือ คาดว่าจะประมูลครบทั้ง 14 สัญญาภายในต้นปี พ.ศ. 2562 และเปิดดำเนินการได้ใน พ.ศ. 2571[2] และอีกสองช่วงได้แก่ ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย และแก่งคอย - คลอง 19 - ฉะเชิงเทรา กำลังอยู่ในระหว่างการออกแบบเส้นทาง

แนวเส้นทาง

แก้

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายอีสานเป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างระดับดินและยกระดับตลอดโครงการ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางจากชานเมืองทางทิศเหนือกรุงเทพมหานครฝั่งเหนือและจังหวัดใกล้เคียงด้านเหนือและภาคอีสาน เข้าสู่เขตใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ วิ่งตรงไปทางทิศเหนือในเส้นทางเดียวกับรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากนั้นวิ่งตรงไปตามแนวทางรถไฟสายเหนือไปจนถึงชุมทางบ้านภาชี แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปใช้แนวเส้นทางรถไฟสายอีสานไปตลอดทางจนถึงสถานีแก่งคอย ซึ่งจะเป็นสถานีชุมทางที่แยกสายไปเชื่อมต่อเข้ากับสายตะวันออกที่สถานีฉะเชิงเทรา จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและสิ้นสุดเส้นทางในระยะแยกที่สถานีนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาเดิม รวมระยะทางในช่วงแรก 253 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาทีจากกรุงเทพมหานคร จากนั้นเส้นทางจะมุ่งขึ้นทางเหนือเพื่อไปยังประเทศลาวโดยผ่าน สถานีชุมทางบัวใหญ่ ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย ระยะทาง 354.5 กิโลเมตร รวมระยะทางตลอดเส้นทางกว่า 608 กิโลเมตร [3]ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 15 นาที จากนครราชสีมา และ 3 ชั่วโมง 45 นาที จากกรุงเทพมหานคร

แนวเส้นทางต่อจากนี้จะเป็นแนวเส้นทางรถไฟสายลาว-จีน เพื่อเดินทางไปยังเวียงจันทน์ ประเทศลาว และต่อเนื่องไปยัง คุนหมิง ประเทศจีน ระยะทางรวมกว่า 1,011 กิโลเมตรเฉพาะในประเทศลาว 417 กิโลเมตร โดยใช้ระยะเวลาเดินทางรวมจากกรุงเทพมหานคร ถึงคุนหมิง 13 ชั่วโมง 30 นาที โดยแนวเส้นทางในลาวจะเป็นทางเดี่ยวทั้งหมด

รูปแบบของโครงการ

แก้
  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่ง แนวเส้นทางส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางระดับดิน โดยมีช่วงยกระดับเมื่อต้องผ่านตัวเมือง ยกเว้นช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง-บ้านภาชี ที่ยกระดับที่ความสูง 20 เมตรตลอดทาง เนื่องจากเป็นเส้นทางร่วมกันระหว่างรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก และสายเหนือ
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 600 คนต่อขบวน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

แก้

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่และศูนย์ควบคุมการเดินรถทั้งระบบตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และยังจัดให้มีทางซ่อมบำรุงเป็นระยะ รวมถึงมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยและย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟนาทาเดิม ในพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ที่จะยกเลิกการใช้งาน

สถานี

แก้

มีทั้งหมด 11 สถานี เป็นสถานีรูปแบบอาคารผู้โดยสาร 10 สถานี และสถานียกระดับ 1 สถานี

รูปแบบสถานี

สถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 8 ตู้โดยสาร ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ

ขบวนรถไฟฟ้า

แก้
ความเร็วของตัวรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการเป็นรถไฟฟ้าประเภทความเร็วสูง ซึ่งมีความเร็วสูงสุดที่ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ให้บริการในประเทศไทย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แต่มีความเร็วขณะเข้าประแจที่ 40 - 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีความเร็วขณะเข้าประแจลงศูนย์ซ่อมบำรุงที่ 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ลักษณะขบวนรถ

ใช้ขบวนรถรุ่น CR300AF "ฟู่ซิงห้าว" ผลิตโดยซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล มีความเร็วสูงสุดที่ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง(ให้บริการในประเทศไทย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แบ่งประเภทที่นั่งออกเป็นทั้งหมดสามระดับ ได้แก่ ที่นั่งชั้นหนึ่ง เป็นที่นั่งแบบเก้าอี้เดี่ยว ใช้ตู้โดยสารหลังห้องคนขับ ที่นั่งชั้น 2 จะเป็นที่นั่งประเภทธุรกิจ จัดเรียงแบบ 2-2 ตลอดตู้โดยสาร และที่นั่งชั้น 3 จะจัดเรียงแบบ 3-2 ตลอดความยาวตู้โดยสาร ภายในขบวนรถมีห้องน้ำแบบระบบปิดให้บริการ

รายชื่อสถานีและจุดเปลี่ยนเส้นทาง

แก้
รหัส ชื่อสถานี รูปแบบสถานี รูปแบบชานชาลา หมายเหตุ จุดเปลี่ยนเส้นทาง
บางซื่อ – นครราชสีมา
HNE1 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (Krung Thep Aphiwat) อาคารผู้โดยสาร เกาะกลาง สายสีแดงเข้ม
สายสีแดงอ่อน
สายซิตี้
สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ)
HNE2 ดอนเมือง (Don Mueang Airport) ยกระดับ ด้านข้าง สายสีแดงเข้ม
สายซิตี้
HNE3 อยุธยา (Ayutthaya) อาคารผู้โดยสาร (3 ชั้น) เกาะกลาง ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ สายสีแดงเข้ม
รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น (สายเหนือ)
HNE4 สระบุรี (Saraburi) อาคารผู้โดยสาร (4 ชั้น) เกาะกลาง สายแยก แก่งคอย - คลอง 19 - ฉะเชิงเทรา
ไปสายเชื่อมสนามบิน
อุโมงค์ลอด มวกเหล็ก-แก่งคอย
สะพานข้ามภูเขา บันไดม้า - ลำตะคอง
HNE5 ปากช่อง (Pak Chong) อาคารผู้โดยสาร (2 ชั้น) ด้านข้าง
HNE6 นครราชสีมา (Nakhon Ratchasima) อาคารผู้โดยสาร (3 ชั้น) ด้านข้าง
นครราชสีมา – หนองคาย
HNE7 บัวใหญ่ (Bua Yai) อาคารผู้โดยสาร ด้านข้าง
HNE8 บ้านไผ่ (Ban Phai) อาคารผู้โดยสาร ด้านข้าง
HNE9 ขอนแก่น (Khon Kaen) อาคารผู้โดยสาร ด้านข้าง
HNE10 อุดรธานี (Udon Thani) อาคารผู้โดยสาร ด้านข้าง
HNE11 หนองคาย (Nong Khai)
(Border Control)
อาคารผู้โดยสาร ด้านข้าง รถไฟลาว-จีน ช่วงหนองคาย-เวียงจันทร์-คุนหมิง
แก่งคอย – คลอง 19 -ฉะเชิงเทรา
เป็นเพียงแผนแม่บท ยังไม่เปิดเผย

สัญญาการก่อสร้าง

แก้

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นโครงการที่ทางฝั่งประเทศไทยจะเป็นผู้ลงทุนงานโยธาทั้งหมดด้วยวิธีการเปิดประมูลเป็นรายสัญญาแบบเดียวกับการก่อสร้างของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร โดยในส่วนของงานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล ทางฝั่งประเทศจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยการว่าจ้าง บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำกัด ผู้ผลิตรถไฟฟ้าบีทีเอสรุ่นที่สอง (EMU-B: Bombardier Movia) เป็นผู้ผลิตตัวรถไฟฟ้าและจัดหาระบบเดินรถไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในโครงการทั้งหมด

สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล ความคืบหน้า

(ภาพรวม 34.97% ณ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567)[4]

1-1 งานก่อสร้างคันทางระดับดิน ช่วงกลางดง - ปางอโศก
ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (2.2 ไมล์)
425 กรมทางหลวง ก่อสร้างเสร็จแล้ว
2-1 งานก่อสร้างคันทางระดับดิน ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก
ระยะทาง 11 กิโลเมตร (6.8 ไมล์)
3,115 บจ. ซีวิลเอ็นจิเนียริง ก่อสร้างเสร็จแล้ว
3-1 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงแก่งคอย - กลางดง และปางอโศก - บันไดม้า
ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร (18.77 ไมล์)
9,330 ITD-CREC No.10JV (ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับพันธมิตร ซีอาร์อีซี (CREC: China railway Engineering corporation) 0.52%
3-2 งานก่อสร้างอุโมงค์ลอดภูเขา ช่วงมวกเหล็ก - ลำตะคอง
ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร (7.60 ไมล์)
4,729.3 บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ 74.06%
3-3 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงบันไดม้า - ลำตะคอง
ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร (16.22 ไมล์)
รวมงานก่อสร้างสถานีปากช่อง
9,838 บจ.กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง 52.73%
3-4 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงลำตะคอง - สีคิ้ว และกุดจิก - โคกกรวด
ระยะทาง 37.45 กิโลเมตร (23.27 ไมล์)
9,788 บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 77.82%
3-5 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา
ระยะทาง 13.69 กิโลเมตร (8.51 ไมล์)
รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา
7,750 กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท

บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)

9.41%
4-1 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงสถานีกลางบางซื่อ (กม.11) - ท่าอากาศยานดอนเมือง
ระยะทาง 11.83 กิโลเมตร (7.35 ไมล์)
รวมงานปรับปรุงและเชื่อมต่อสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง
รวมงานโยธาให้ผู้ชนะการประมูลสายเชื่อม 3 สนามบิน (บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)) เป็นผู้ดำเนินการ
4-2 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงดอนเมือง - นวนคร
ระยะทาง 21.80 กิโลเมตร (13.55 ไมล์)
10,570 บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
0.66%
4-3 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงนวนคร - บ้านโพ
ระยะทาง 23 กิโลเมตร (14 ไมล์)
11,525 กิจการร่วมค้าซีเอส - เอ็นดับบลิวอาร์ - เอเอส
(บจ. ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชัน, บมจ. เนาวรัตน์พัฒนาการ, บจ. เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1994))
37.50%
4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 6,514.4 บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 16.57%
4-5 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงบ้านโพ - พระแก้ว
ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร (8.26 ไมล์)
รวมงานก่อสร้างสถานีอยุธยา
9,913 บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ อยู่ระหว่างกระบวนการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
4-6 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงพระแก้ว - สระบุรี
ระยะทาง 31.6 กิโลเมตร (19.6 ไมล์)
9,429 บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 5.23%
4-7 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงสระบุรี - แก่งคอย
ระยะทาง 12.99 กิโลเมตร (8.07 ไมล์)
รวมงานก่อสร้างสถานีสระบุรี และปรับปรุงสถานีรถไฟแก่งคอย
8,560 บจ. ซีวิลเอ็นจิเนียริง 56.67%

อุบัติเหตุ

แก้

กลางดึกวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ในระหว่างการก่อสร้างได้เกิดเหตุอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงถล่ม เป็นอุโมงค์ช่วงสถานีรถไฟคลองขนานจิต ริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา บริเวณกิโลเมตรที่ 189+435 ห่างจากปากอุโมงค์ฝั่งคลองไผ่ ราว 1.6 กิโลเมตร โดยมีชาวจีน 2 ราย และชาวพม่า 1 ราย ติดอยู่ภายใน[5] วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ค้นพบร่างผู้เสียชีวิตรายแรก[6] วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567 พบร่างผู้เสียชีวิตอีกสองราย ห่างจากจุดที่พบร่างผู้เสียชีวิตรายแรกสามเมตร[7]

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1057547391350406/
  2. 'วีริศ' ผู้ว่าการรถไฟฯ คนที่ 30 รับโจทย์ปิดจ๊อบลงทุนระบบราง 6.39 แสนล้าน
  3. Bangkok-Nong Khai high-speed rail contract inked with China
  4. "ความคืบหน้างานก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน". รถไฟความเร็วสูงไทย – จีน. 22 กรกฎาคม 2024.
  5. พบพิกัด 3 ชีวิต อุโมงค์รถไฟความเร็วสูง ถล่มที่โคราช khaosod
  6. พบศพแรก คนงานติดในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง thairath
  7. พบร่าง 2 คนงานติดในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงถล่ม เสียชีวิตห่างรายแรก 3 เมตร mgronline

ดูเพิ่ม

แก้