มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย[2] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ชื่อย่อมว. / VU
คติพจน์จริยธรรม นำปัญญา
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา2 มีนาคม พ.ศ. 2527 (40 ปี)
(สถาปนาวิทยาลัย)
10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 (29 ปี)
(เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย)
ผู้ศึกษา2,324 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
สี██ สีแสด
เว็บไซต์www.vu.ac.th

ประวัติ

แก้

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เดิมคือ "วิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล" ซึ่งก่อตั้งโดยนายมุข วงษ์ชวลิตกุล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยแรกก่อตั้ง เปิดสอนเพียง2คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในส่วนภูมิภาคที่ดำเนินการเปิดสอนคณะนิติศาสตร์ ซึ่งเปิดการสอนตั้งแต่ปี2527 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2536 สภาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ได้พิจารณาขอเปลี่ยนประเภทสถาบันเพื่อยกฐานะขึ้นเป็นระดับมหาวิทยาลัย และได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล " ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2537[3]

เดิมนั้นมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เปิดการเรียนการสอนในสองวิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตบ้านเกาะและวิทยาเขตหมื่นไวย (เรียนบางวิชา) ปัจจุบันเปิดการสอนเพียงวิทยาเขตเดียวคือ ที่ตำบลบ้านเกาะ

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

แก้

ตรามหาวิทยาลัย

แก้
 

ใช้เครื่องหมายซึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม มีส่วนโค้งภายในรอบวง 16 วงโค้งต่อเนื่องกัน ถัดเข้ามาตอนบนเป็นชื่อมหาวิทยาลัยเขียนเป็นภาษาไทยว่า " มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล " ภายในวงโค้งตอนล่างเป็นชื่อมหาวิทยาลัยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า " VONGCHAVALITKUL UNIVERSITY " ระหว่างชื่อภาษาไทย และ ชื่อภาษาอังกฤษทั้งสองด้าน มีรูปดอกไม้สี่กลีบ เกษรกลม อยู่ทั้งสองด้านเนื้อที่ตรงกลางของวงกลมมีรูปอนุสารีย์ท้าวสุรนารี และ ซุ้มประตูชุมพล กับมีเส้นวงโค้งก้อนเมฆอยู่เบื้องหลัง และ ด้านล่างของวงกลม มีข้อความปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ

จริยธรรม นำปัญญา

ธง และ สีประจำมหาวิทยาลัย

แก้
 


  • ธงสีแสด มีตรามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ซึ่งเป็นเครื่องหมายมหาวิทยาลัยอยู่กึ่งกลางธง
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสด (   ) หมายถึง สติปัญญาเป็นเลิศ และ ความรุ่งเรือง

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

แก้


 


  • ต้นแคแสด ( Spathodea campanulata P.Beauv ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ดอกเป็นช่อตั้ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแผ่เป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ กลีบดอกยับย่น สีส้มแสดถึงสีแดง

หลักสูตรปริญญาตรี

แก้

ปริญญาตรี 4 ปี

แก้

คณะนิติศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชานิติศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
  • หลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี )

คณะสาธารณสุขศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

คณะศึกษาศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาการประถมศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์

คณะนิเทศศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (เครื่องกล/แมคคาทรอนิกส์)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.บ.)
  • สาขาวิชาวิศกรรมการจัดการและโลจิสติกส์

คณะบริหารธุรกิจ

แก้
  • สาขาวิชาการบัญชี (บช.บ.)
  • สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม (ศศ.บ)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ปริญญาตรี 5 ปี

แก้

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

หลักสูตรปริญญาโท

แก้

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

แก้

คณะบริหารธุรกิจ

แก้
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการเงิน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

แก้

คณะวิศวกรรมศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

แก้

คณะศึกษาศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

หลักสูตรปริญญาเอก

แก้

วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

แก้

คณะวิศวกรรมศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

แก้

คณะศึกษาศาสตร์

แก้
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

แก้

คณะวิชา

แก้

สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. "มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 2007-02-19.
  3. สถาบันอุดมศึกษา เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์ สกอ.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้