แคแสด
แคแสด | |
---|---|
แคแสด | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Violales |
วงศ์: | Bignoniaceae |
สกุล: | Spathodea |
สปีชีส์: | S. campanulata |
ชื่อทวินาม | |
Spathodea campanulata P.Beauv |
แคแสด (อังกฤษ: African tulip tree, Fire bell, Fouain tree, Flame of the Forest) เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของแอฟริกา ปัจจุบันกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน สามารถปลูกในทรายริมทะเลได้ ถ้าปลูกในที่แห้งจะผลัดใบ แต่ไม่พร้อมกันทั้งต้น[1] มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ดังนี้ : แคแดง (กรุงเทพฯ) , ยามแดง[2]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้แคแสดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาวประมาณ 30-45 ซม. ใบย่อยมี 4-9 คู่ รูปรีถึงรูปไข่ ขอบใบเป็นริ้วเล็กน้อย ปลายใบแหลมและมักจะงุ้มลง มีขนเล็กน้อย มีขนาดยาว 5-12 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ดอกเป็นช่อตั้ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแผ่เป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ กลีบดอกยับย่น สีส้มแสดถึงสีแดงแสด ดอกทยอยบาน ร่วงง่าย ออกดอกราวเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ ผลแบนคล้ายฝัก ปลายแหลม ผลแก่สีน้ำตาลดำ ผลแก่จะแตกเป็นด้านเดียวเมล็ดเล็กแบนมีปีก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด จะเริ่มให้ดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 - 8 ปี
การดูแล
แก้ชอบที่แจ้ง แดดจัด
ประโยชน์
แก้เปลือกรักษาแผล โรคผิวหนัง แผลเรื้อรัง แก้บิด ใบและดอก ใช้พอกแผล ดอก ใช้รักษาแผลเรื้อรัง ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและยังสามารถปลูกเพื่อให้ร่มเงาได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำดอกมาประกอบอาหารได้เหมือนแคบ้าน
เกร็ด
แก้- ต้นไม้ประจำ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
- กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
- โรงเรียนบ้านดู่ ตำบลหนองบัวบาน อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
- โรงเรียนชุมชนบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
- โรงเรียนวัดตำหนักใต้ (วิลาศโอสถานนท์นุเคราะห์) อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
อ้างอิง
แก้- ↑ ISBN 974-7751-66-6 หน้า 442
- ↑ เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549