ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินเส้นหนึ่งที่มีลักษณะเป็นวงแหวนวนรอบตัวเมืองนครราชสีมา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรในเขตตัวเมือง แนวถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมาที่ศึกษาเป็นแนวตัดใหม่ทั้งหมด ระยะทางรวมประมาณ 110.7 กิโลเมตร[1] ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมาแบ่งเป็น 7 ช่วง ได้แก่ A, B, C, D, E, F และ G แต่ก่อสร้างแล้วเสร็จเฉพาะช่วง A, B, F และ G เท่านั้น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 | |
---|---|
ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา | |
ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ช่วงที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้สัญจรแล้ว | |
ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมาด้านทิศใต้ ส่วน G | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 66.000 กิโลเมตร (41.010 ไมล์) 110.376 กิโลเมตร (ครบทั้งเส้นทาง) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศใต้ | ถ.ราชสีมา-โชคชัย ใน อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา |
| |
ปลายทางทิศเหนือ | ถ.สุรนารายณ์ ใน อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
รายละเอียดของเส้นทาง
แก้ช่วงที่ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว
แก้- ช่วง G เส้นทางเริ่มจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่หลักกิโลเมตรที่ 126 บริเวณตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน ไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ถนนราชสีมา-กบินทร์บุรี, ถนนสืบศิริ) บริเวณตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 17.941 กิโลเมตร [2]
- ในช่วงนี้เป็นช่วงแรกของโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยเริ่มแรกเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร และได้รับการขยายเป็น 4 ช่องจราจร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562
- ช่วง A เส้นทางเริ่มจากทางหลวงหมายเลข 2 บริเวณตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน ไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2068 (โคกกรวด-โนนไทย) บริเวณตำบลบึงอ้อ อำเภอขามทะเลสอ ระยะทาง 10.811 กิโลเมตร ส่วนนี้เปิดให้บริการเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2564
- ช่วง B เส้นทางเริ่มจากทางหลวงหมายเลข 2068 บริเวณตำบลบึงอ้อ อำเภอขามทะเลสอ ผ่านโครงการถนนบ้านกุดม่วง-นครราชสีมา ผ่านโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ผ่านบึงพุดซา (โครงการศูนย์ราชการนครราชสีมา) ไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (ถนนสุรนารายณ์) บริเวณตำบลโคกสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 23.165 กิโลเมตร ส่วนนี้เปิดให้บริการเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565
- ช่วง F เส้นทางเริ่มจากทางหลวงหมายเลข 224 บริเวณตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมืองนครราชสีมา ผ่านสวนสัตว์นครราชสีมา ไปบรรจบทางหลวงหมายเลข 304 บริเวณตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 14.083 กิโลเมตร ส่วนนี้เปิดให้บริการเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562
ช่วงที่กำลังก่อสร้าง
แก้- ช่วง C เส้นทางเริ่มจากทางหลวงหมายเลข 205 บริเวณตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา-ท่านาแล้ง) ไปบรรจบทางหลวงหมายเลข 2 บริเวณตำบลโตนด อำเภอโนนสูง ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร มีกำหนดสร้างเสร็จและเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2566
- ช่วง D เส้นทางเริ่มจากทางหลวงหมายเลข 2 บริเวณตำบลโตนด อำเภอโนนสูง ไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-อุบลราชธานี) บริเวณตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีกำหนดสร้างเสร็จและเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2566
- ช่วง E เส้นทางเริ่มจากทางหลวงหมายเลข 226 บริเวณตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา-อุบลราชธานี) ผ่านท่าอากาศยานนครราชสีมา ผ่านเขตอุตสาหกรรมสุรนารี ไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 (นครราชสีมา-กาบเชิง) บริเวณตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมืองนครราชสีมา ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ช่วงนี้เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ยกเว้นช่วง บ.หนองยาง-บ.หมูสี มีขนาด 2 ช่องจราจร และอยู่ในระหว่างการขยายเป็น 4 ช่องจราจร[3] และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2564 แต่เนื่องจากส่วนของจุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 226 ยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ไม่สามารถเปิดใช้งานเส้นทางในส่วนนี้ได้ ซึ่งเส้นทางจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2566
รายชื่อทางแยก
แก้จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา (ทิศเหนือ) | |||||
นครราชสีมา | 0+000 | ทางแยกต่างระดับวงแหวนนครราชสีมา | เชื่อมต่อจาก: ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา (ทิศใต้) | ||
ถ.มิตรภาพ ไปสระบุรี, กรุงเทพฯ | ถ.มิตรภาพ เข้าเมืองนครราชสีมา, ไปขอนแก่น | ||||
≈0+740 | สะพาน ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี - ชุมทางถนนจิระ) | ||||
10+811 | − | ทล.2068 ไป อ.ด่านขุนทด | ทล.2068 ไป อ.ขามทะเลสอ, บรรจบถนนมิตรภาพ | ||
≈13+900 | − | ทล.พ.6 ไป อ.สีคิ้ว, อ.บางปะอิน | ทล.พ.6 บรรจบทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา | ||
33+976 | ทางแยกต่างระดับโคกสูง | ถ.สุรนารายณ์ ไป อ.โนนไทย | ถ.สุรนารายณ์ เข้าเมืองนครราชสีมา | ||
สะพาน ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางถนนจิระ - หนองคาย) | |||||
− | ถ.มิตรภาพ ไป อ.พิมาย, ขอนแก่น | ถ.มิตรภาพ ไป ต.จอหอ, เข้าเมืองนครราชสีมา | |||
ตรงไป: ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา (ทิศใต้) | |||||
ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา (ทิศใต้) | |||||
นครราชสีมา | − | เชื่อมต่อจาก: ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา (ทิศเหนือ) | |||
ถ.มิตรภาพ ไป อ.พิมาย, ขอนแก่น | ถ.มิตรภาพ ไป ต.จอหอ, เข้าเมืองนครราชสีมา | ||||
− | ถนนเพชรมาตุคลา ไป อ.เฉลิมพระเกียรติ, อ.จักราช | ถนนเพชรมาตุคลา ไป ต.หัวทะเล, เข้าเมืองนครราชสีมา | |||
สะพาน ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี) | |||||
78+712 | − | ทล.224 ไป อ.โชคชัย, บุรีรัมย์ | ทล.224 ไป ต.หนองบัวศาลา, เข้าเมืองนครราชสีมา | ||
87+086 | − | ทล.2310 ไป อ.โชคชัย | ทล.2310 ไปสวนสัตว์นครราชสีมา | ||
92+795 | − | ทล.304 ไป อ.ปักธงชัย | ทล.304 เข้าเมืองนครราชสีมา ไปขอนแก่น | ||
110+736 | ทางแยกต่างระดับวงแหวนนครราชสีมา | ถ.มิตรภาพ ไปสระบุรี, กรุงเทพฯ | ถ.มิตรภาพ เข้าเมืองนครราชสีมา, ไปขอนแก่น | ||
ตรงไป: ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา (ทิศเหนือ) | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
อ้างอิง
แก้- ↑ ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา - ช่อง My Way Thailand บน YouTube
- ↑ "วงแหวนโคราช พร้อมใช้ ทางหลวงเล็งเวนคืน เร่งสร้างทางต่างระดับรองรับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-20. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.
- ↑ ทะลวงคอขวด5.8กม.”ถนนวงแหวนรอบเมืองโคราช”