อำเภอพิมาย

อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

พิมาย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา

อำเภอพิมาย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phimai
ปราสาทหินพิมาย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญประจำอำเภอ
ปราสาทหินพิมาย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญประจำอำเภอ
คำขวัญ: 
ถิ่นอุตสาหกรรม เครื่องหวายงามล้ำค่า กระยาสารทรสเด็ด เป็ดย่างรสดี ผัดหมี่พิมาย ยอดมวยไทยยักษ์สุข สนุกพายเรือแข่ง แหล่งแมวสีสวาท ปราสาทหินถิ่นไทรงาม เรืองนามประเพณี วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์พระพุทธวิมายะ
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอพิมาย
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอพิมาย
พิกัด: 15°13′14″N 102°29′9″E / 15.22056°N 102.48583°E / 15.22056; 102.48583
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
พื้นที่
 • ทั้งหมด896.9 ตร.กม. (346.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด127,883 คน
 • ความหนาแน่น142.58 คน/ตร.กม. (369.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30110
รหัสภูมิศาสตร์3015
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพิมาย หมู่ที่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์ แก้

เมืองพิมายมีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรโคตรบูรณ์ของขอม สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมผู้ปกครองมีกรมการเมือง ปลัดเมือง ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ชั้นพระ หลวง ขุน มาเป็นผู้ปกครองอำเภอพิมาย เดิมชื่อ "อำเภอเมืองพิมาย" มีฐานะเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2443 โดยมีขุนขจิตสารกรรม ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2454 สมเด็จพระศรีพัชรินทร์พระบรมราชินีนาถในรัชการที่ 5 (สมเด็จพระพันปีหลวง) ได้เสด็จประพาสเมืองพิมายและได้เสด็จทรงพักผ่อนที่ไทรงามด้วย คณะกรมการเมืองได้จัดรับเสด็จ โดยจัดสถานที่ประทับข้างลำน้ำตลาด (บริเวณติดลำน้ำด้านทิศใต้ของโรงเรียนพิมายวิทยาในปัจจุบัน) ซึ่งเรียกชื่อสถานที่ในขณะนั้นว่า "วังเก่า" ในปี พ.ศ. 2457 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมาย (บริเวณที่จอดรถหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมายในปัจจุบัน) ผู้ปกครองมีคณะกรรมการเมือง นายอำเภอ ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ชั้น หลวง ขุน หม่อมเจ้า ดำรงตำแหน่ง และกำนันประจำตำบลจะมีบรรดาศักดิ์ชั้น ขุน หมื่น มาดำรงตำแหน่ง

  • พ.ศ. 2440 ตั้งอำเภอมีชื่อว่า เมืองพิมาย
  • วันที่ 15 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนชื่ออำเภอจากอำเภอเมืองพิมาย มาเป็น อำเภอพิมาย[1]
  • วันที่ 14 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลในเมือง [2]
  • วันที่ 29 สิงหาคม 2500 ตั้งตำบลดอนมัน แยกออกจากตำบลชีวาน และ ตั้งตำบลท่าลาด แยกออกจากตำบลโบสถ์ [3]
  • วันที่ 30 สิงหาคม 2500 แยกพื้นที่ตำบลประสุข ตำบลกระเบื้องนอก ตำบลขุย ตำบลสาหร่าย ตำบลดอนมัน และตำบลท่าลาด อำเภอพิมาย ไปตั้งกิ่งอำเภอชุมพวง ขึ้นกับอำเภอพิมาย [4]
  • วันที่ 1 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลรังกาใหญ่ แยกออกจากตำบลในเมือง ตั้งตำบลเมืองพลับพลา แยกออกจากตำบลงิ้ว และ ตั้งตำบลห้วยแถลง แยกออกจากตำบลงิ้ว [5]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชุมพวง อำเภอพิมาย เป็นอำเภอชุมพวง [6]
  • วันที่ 1 มกราคม 2504 แยกพื้นที่ตำบลห้วยแถลง ตำบลหินดาด ตำบลงิ้ว และตำบลเมืองพลับพลา อำเภอพิมาย มาตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยแถลง ขึ้นกับอำเภอพิมาย [7]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอห้วยแถลง อำเภอพิมาย เป็นอำเภอห้วยแถลง [8]
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลนิคมสร้างตนเอง แยกออกจากตำบลในเมือง และตำบลหนองพลวง [9]
  • วันที่ 1 เมษายน 2511 ยุบตำบลหนองพลวง [10] และวันเดียวกัน ตั้งตำบลหนองพลวง อีกครั้งหนึ่ง [11]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2511 โอนตำบลหนองพลวง ไปขึ้นกับอำเภอจักราช [12]
  • วันที่ 15 กันยายน 2514 โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในตอนนั้น) จากตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง มาขึ้นกับตำบลนิคมสร้างตนเอง [13]
  • วันที่ 15 กันยายน 2523 ตั้งตำบลกระชอน แยกออกจากตำบลชีวาน [14]
  • วันที่ 15 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลดงใหญ่ แยกออกจากตำบลท่าหลวง [15]
  • วันที่ 6 กันยายน 2528 ตั้งตำบลธารละหลอด แยกออกจากตำบลสัมฤทธิ์ และ ตั้งตำบลหนองระเวียง แยกออกจากตำบลนิคมสร้างตนเอง [16]
  • วันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เปลี่ยนชื่อสุขาภิบาลในเมือง เป็น สุขาภิบาลพิมาย [17]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลพิมาย เป็น เทศบาลตำบลพิมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอพิมายตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

เขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอพิมายแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 213 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอพิมายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพิมาย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลในเมือง
  • เทศบาลตำบลรังกาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังกาใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมือง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพิมาย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสัมฤทธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสัมฤทธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโบสถ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระเบื้องใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเบื้องใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชีวาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชีวานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสร้างตนเอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมสร้างตนเองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระชอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระชอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธารละหลอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารละหลอดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองระเวียงทั้งตำบล

ประชากร แก้

ชื่อ ปีที่จัดตั้ง พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2555)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2555)
เทศบาลตำบลพิมาย 2542
2.156
8,843
4,101.57
2,635
เทศบาลตำบลรังกาใหญ่ 2551 (2539)
74.346
14,471
194.64
4,125
องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง 2539
45.91
16,118
351.07
6,063
องค์การบริหารส่วนตำบลสัมฤทธิ์ 2539
51.56
9,076
176.02
2,523
องค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ 2538
156.3
19,458
124.49
4,868
องค์การบริหารส่วนตำบลกระเบื้องใหญ่ 2538
80.32
6,301
78.44
1,718
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง 2538
???
5,767
???
1,469
องค์การบริหารส่วนตำบลชีวาน 2538
61.63
4,588
74.44
1,172
องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสร้างตนเอง 2538
89.6
10,922
121.89
3,024
องค์การบริหารส่วนตำบลกระชอน 2539
97.7
8,504
87.04
2,170
องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ 2539
84.43
10,957
129.77
2,957
องค์การบริหารส่วนตำบลธารละหลอด 2539
48
3,950
82.29
1,117
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียง 2539
116
10,894
93.91
3,005
ทั้งหมด 896.9 129,849 144.77 36,846

แหล่งท่องเที่ยว แก้

เมืองพิมายมีลักษณะเป็นเมืองโบราณ สถานี่ท่องเที่ยวจึงเป็นลักษณะของเมืองประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอ โดยสถิติการท่องเที่ยวข้อมูลปี พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 9,260 คน / ปี นักท่องเที่ยวชาวไทย 166,500 คน /ปี รายได้เฉลี่ย / นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 370,400 บาท /ปี รายได้เฉลี่ย / นักท่องเที่ยวชาวไทย 1,665,000 บาท /ปี [18]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–666. 14 พฤศจิกายน 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-05-11.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 45 ง): 25–26. 30 พฤษภาคม 2499.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (76 ง): 2254–2257. 17 กันยายน 2500.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (76 ง): 2257–2258. 17 กันยายน 2500. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-25.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสิทธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราชจังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (109 ง): 3084–3117. 23 ธันวาคม 2501.
  6. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. 2502" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): 8–11. 10 ธันวาคม 2502. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-04-25.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (108 ง): 2562–2564. 27 ธันวาคม 2503. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2010-04-25.
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. 2506" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. 16 กรกฎาคม 2506. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-25.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (17 ง): 527–531. 20 กุมภาพันธ์ 2511.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบตำบลในท้องที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (33 ง): 1150. 16 เมษายน 2511.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (33 ง): 1151–1152. 16 เมษายน 2511.
  12. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพิมายและอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2511" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (119 ก): 967–969. 24 ธันวาคม 2511.
  13. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอห้วยแถลงและอำเภอพิมาย กับอำเภอโนนไทย และอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2514" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (98 ก): 621–624. 14 กันยายน 2514.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (166 ง): 3694–3698. 28 ตุลาคม 2523.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (146 ง): 3306–3321. 13 กันยายน 2526.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอครบุรี อำเภอบัวใหญ่ อำเภอจักราช และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (192 ง): 6095–6133. 17 ธันวาคม 2528.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อสุขาภิบาล "สุขาภิบาลในเมือง" เป็น "สุขาภิบาลพิมาย" อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (พิเศษ 33 ง): 5. 21 พฤษภาคม 2542.
  18. อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตามหนังสืออุทยาประวัติศาสตร์พิมาย ที่ วธ 0426/292. ลงวันที่ 30 เมษายน 2551