อำเภอปากช่อง
ปากช่อง เป็นอำเภอหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครราชสีมา เป็นอำเภอแรกสุดของการเดินทางจากถนนมิตรภาพเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,825.2 ตารางกิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่สุดในจังหวัดนครราชสีมา และมีประชากรมากเป็นอันดับสองรองจากอำเภอเมืองนครราชสีมา อยู่ห่างจากเมืองนครราชสีมาประมาณ 85 กิโลเมตร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอสีคิ้ว[1]
อำเภอปากช่อง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pak Chong |
ที่ว่าการอำเภอปากช่อง | |
คำขวัญ: เขาใหญ่ชวนชม วัวนมพันธุ์ดี หินอ่อนหลากสี ข้าวโพดหวานมากมี น้อยหน่าดีที่ปากช่อง | |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอปากช่อง | |
พิกัด: 14°24′42″N 101°25′18″E / 14.41167°N 101.42167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,825.2 ตร.กม. (704.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 197,345 คน |
• ความหนาแน่น | 108.12 คน/ตร.กม. (280.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30130 (ไปรษณีย์ปากช่อง - เฉพาะตำบลคลองม่วง ตำบลจันทึก ตำบลปากช่อง ตำบลวังกะทะ ตำบลวังไทร ตำบลหนองสาหร่าย รวมไปถึงตำบลลำพญากลาง และตำบลลำสมพุง ในเขตอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี), 30320 (ไปรษณีย์กลางดง - เฉพาะตำบลกลางดง และตำบลพญาเย็น), 30450 (ไปรษณีย์เขาใหญ่ - เฉพาะตำบลหมูสี ตำบลหนองน้ำแดง ตำบลโป่งตาลอง และตำบลขนงพระ) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3021 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปากช่อง ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอปากช่องมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก (จังหวัดสระบุรี) และอำเภอสีคิ้ว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสูงเนินและอำเภอวังน้ำเขียว
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอประจันตคาม (จังหวัดปราจีนบุรี) อำเภอปากพลี และอำเภอเมืองนครนายก (จังหวัดนครนายก)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก (จังหวัดสระบุรี)
ประวัติ
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2430 บ้านปากช่องขึ้นกับตำบลขนงพระ อำเภอจันทึก ต่อมาปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างทางรถไฟสายแรกกรุงเทพ-นครราชสีมา สร้างทางผ่านกลางหมู่บ้าน จำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวางทางรถไฟ จึงทำให้หมู่บ้านถูกระเบิดหินทำทางรถไฟเป็นช่อง จึงเรียกว่า "บ้านปากช่อง"
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลปากช่อง แยกออกจากตำบลจันทึก[2]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลปากช่อง ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากช่อง อำเภอสีคิ้ว[3]
- วันที่ 22 มกราคม 2500 แยกพื้นที่ตำบลปากช่อง ตำบลจันทึก ตำบลกลางดง และตำบลหมูสี ของอำเภอสีคิ้ว มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอปากช่อง[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสีคิ้ว
- วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะกิ่งอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว เป็น อำเภอปากช่อง[4]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลกลางดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลกลางดง[5]
- วันที่ 19 กันยายน 2515 ตั้งตำบลขนงพระ แยกออกจากตำบลปากช่อง[6]
- วันที่ 28 สิงหาคม 2516 ตั้งตำบลหนองสาหร่าย แยกออกจากตำบลจันทึก[7]
- วันที่ 26 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลวังกะทะ แยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย[8]
- วันที่ 24 มิถุนายน 2524 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากช่อง เป็น เทศบาลตำบลปากช่อง[9]
- วันที่ 1 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลโป่งตาลอง แยกออกจากตำบลหมูสี และตั้งตำบลคลองม่วง แยกออกจากตำบลวังกะทะ[10]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลหนองน้ำแดง แยกออกจากตำบลขนงพระ และตั้งตำบลวังไทร แยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย[11]
- วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลพญาเย็น แยกออกมาจากตำบลกลางดง[12]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกลางดง เป็นเทศบาลตำบลกลางดง[13] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลปากช่อง เป็นเทศบาลเมืองปากช่อง[14]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองท้องที่
แก้อำเภอปากช่องแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 219 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ปากช่อง | (Pak Chong) | 22 หมู่บ้าน | |||
2. | กลางดง | (Klang Dong) | 15 หมู่บ้าน | |||
3. | จันทึก | (Chanthuek) | 22 หมู่บ้าน | |||
4. | วังกะทะ | (Wang Katha) | 24 หมู่บ้าน | |||
5. | หมูสี | (Mu Si) | 19 หมู่บ้าน | |||
6. | หนองสาหร่าย | (Nong Sarai) | 25 หมู่บ้าน | |||
7. | ขนงพระ | (Khanong Phra | 15 หมู่บ้าน[15][16] | |||
8. | โป่งตาลอง | (Pong Talong | 13 หมู่บ้าน | |||
9. | คลองม่วง | (khlong Muang) | 21 หมู่บ้าน | |||
10. | หนองน้ำแดง | (Nong Nam Daeng) | 11 หมู่บ้าน | |||
11. | วังไทร | (Wang Sai) | 18 หมู่บ้าน | |||
12. | พญาเย็น | (Phaya Yen) | 14 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอปากช่องประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองปากช่อง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปากช่องและตำบลหนองสาหร่าย
- เทศบาลตำบลกลางดง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกลางดงและตำบลพญาเย็น
- เทศบาลตำบลสีมามงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลางดง (นอกเขตเทศบาลตำบลกลางดง)
- เทศบาลตำบลหมูสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมูสีทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลวังไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังไทรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากช่อง (นอกเขตเทศบาลเมืองปากช่อง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลจันทึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทึกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังกะทะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังกะทะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสาหร่าย (นอกเขตเทศบาลเมืองปากช่อง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลขนงพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขนงพระทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งตาลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งตาลองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองน้ำแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพญาเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพญาเย็น (นอกเขตเทศบาลตำบลกลางดง)
การขนส่ง
แก้- รถไฟ
- การรถไฟแห่งประเทศไทย: ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (สายอีสานตอนล่าง ชุมทางบ้านภาชี–อุบลราชธานี)
- ทางหลวง
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6
- ถนนมิตรภาพ
- ถนนธนะรัชต์
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2220
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2235
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2243
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2247
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2274
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2422
การท่องเที่ยว
แก้อำเภอปากช่องมีเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งทางขึ้นอุทยานด้านอำเภอปากช่องเป็นถนนที่สามารถขึ้นไปถึงบริเวณอุทยานได้สะดวก เนื่องจากเขตอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าดงพญาเย็นประกอบกับเป็นที่ราบสูงสลับภูเขา ทำให้สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมีความเย็นเหมาะแก่การทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่ จึงมีฟาร์มขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งฟาร์มโคนมโชคชัยซึ่งปัจจุบันพัฒนาให้มีบริเวณที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและจัดเป็นแพ็กเกจทัวร์เพื่อเที่ยวชมภายในฟาร์ม นอกจากนี้ยังมีฟาร์มอื่น ๆ รีสอร์ต และโรงแรมอีกมาก ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุดซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานครมาพักผ่อน
ปากช่องมีระดับโอโซนเป็นอันดับ 7 ของโลก[ต้องการอ้างอิง]ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ สดชื่น ดีต่อสุขภาพ บริเวณเขตติดต่อกับอำเภอสีคิ้วเป็นที่ตั้งของเขื่อนลำตะคองซึ่งมีจุดชมวิวที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนโดยตัวเขื่อนอยู่ห่างจากตัวอำเภอปากช่องประมาณ 15 กิโลเมตร ส่วนตำบลกลางดงเป็นแหล่งแวะพักเพื่อซื้อของฝากประเภทผลไม้ต่าง ๆ มากมายสดจากไร่และข้าวโพดหวานอันเลื่องชื่อของไร่สุวรรณ
อาชีพ
แก้ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม โดยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิด โดยเฉพาะที่เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของอำเภอและมีการจัดงานประจำปีขึ้นทุกปี คือ น้อยหน่า ส่วนพืชผลอื่น ๆ คือ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย มะม่วง องุ่น และลิ้นจี่ พืชผักอื่น ๆ ที่เพาะปลูกมาก คือ มะละกอ พริก ผักชี แตงกวา และต้นหอม นอกจากนี้ การทำปศุสัตว์ก็เป็นอีกอาชีพที่ได้รับความนิยม คือ การเลี้ยงไก่ สุกร และโคนม โดยมีโรงงานฟักไข่ขนาดใหญ่อยู่ในสำหรับด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมหลัก โดยทั่วไปจะอยู่ในเขตตัวเมืองซึ่งเป็นเขตการค้าที่ไม่กระจุกตัว แต่จะมีที่ตั้งตามแนวถนนทั้งสองฝั่งของถนนมิตรภาพ มีตลาดในตัวเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าหลายแห่ง แต่มีเขตติดต่อกันจนดูเหมือนเป็นแห่งเดียวกัน
รายชื่อนายอำเภอ
แก้ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง | ย้ายมาจาก | ย้ายไปเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | นายบรรยง สู่พานิช | 18 ก.ย. 2500 - 30 พ.ย. 2506 | |||
2 | นายอนันต์ อนันตกูล | 6 ธ.ค. 2506 - 22 พ.ย. 2512 | ปลัดกระทรวงมหาดไทย | ||
3 | นายจรินทร์ กาญจโนมัย | 22 พ.ย. 2512 - 6 พ.ค. 2514 | ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี | ||
4 | นายวิโรจน์ อำมรัตน์ | 27 พ.ค. 2514 - 9 พ.ค. 2516 | ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม | ||
5 | นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์ | 17 พ.ค. 2516 - 18 พ.ค. 2518 | ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร | ||
6 | นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาต | 1 ธ.ค. 2518 - 10 ต.ค. 2520 | ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ | ||
7 | ร.ต.ชวลิต วิบูลย์ประพันธ์ | 22 ต.ค. 2520 - 1 มิ.ย. 2522 | รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ | ||
8 | นายวิเชียร เปาอินทร์ | 3 มิ.ย. 2522 - 22 ส.ค. 2523 | ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี | ||
9 | ร.ต.เสนาะ นิพภยะ | 1 ก.ย. 2523 - 8 ต.ค. 2527 | ปลัดจังหวัดตรัง | ||
10 | นายบุญธรรม ใจรักพันธ์ | 8 ต.ค. 2527 - 5 ต.ค. 2529 | |||
11 | นายไพบูลย์ จินดารัตน์ | 6 ต.ค. 2529 - 22 ม.ค. 2530 | อำเภอปักธงชัย | นายอำเภอสูงเนิน | |
12 | นายสันต์ ภมรบุตร | 16 ต.ค. 2530 - 22 ม.ค. 2532 | นายอำเภอวังน้อย | นายอำเภอท่าใหม่ | ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก |
13 | นายพงศ์โพยม วาศภูติ | 23 ม.ค. 2532 - 15 ต.ค. 2532 | นายยอำเภอบ้านแพง | กองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพ | ปลัดกระทรวงมหาดไทย |
14 | นายปัญญารัตน์ ปานทอง | 16 ต.ค. 2532 - 1 ก.ค. 2533 | ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู | ||
15 | นายอาวุธ วิวัฒน์วานิช | 2 ก.ค. 2533 - 24 มี.ค. 2534 | |||
16 | นายวิสุทธิ์ ตุลสุข | 25 มี.ค. 2534 - 20 ต.ค. 2534 | |||
17 | นายวิทยา ปิณฑะแพทย์ | 11 พ.ย. 2534 - 5 ต.ค. 2535 | นายอำเภอหัวหิน | ปลัดจังหวัดจันทบุรี | ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี |
18 | นายวีรวัฒน์ วรรณกูล | 12 ต.ค. 2535 - 16 ม.ค. 2537 | |||
19 | นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ | 17 ม.ค. 2537 - 13 ต.ค. 2539 | นายอำเภอคลองหลวง | ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ | |
20 | นายฐานิศร์ น้อยเพ็ง | 14 ต.ค. 2539 - 21 พ.ย. 2542 | อำเภอแก้งสนามนาง | นายอำเภอสีคิ้ว | รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย |
21 | นายพิบูลย์ชัย พันธุลี | 22 พ.ย. 2542 - 4 ก.พ. 2544 | อำเภอตาคลี | (เกษียณ 2549) | |
22 | นายไพบูลย์ ปัญจะ | 5 ก.พ. 2544 - 11 ต.ค. 2547 | รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ | ||
23 | นายสุพล ลีมางกูร | 1 พ.ย. 2547 - 25 ธ.ค. 2548 | นายอำเภอเมืองสุรินทร์ | เออรี่รีไทร์ | |
24 | นายประหยัด เจริญศรี | 26 ธ.ค. 2548 - 23 ต.ค. 2550 | ปลัดจังหวัดนครราชสีมา | รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา | |
25 | นายคณีธิป บุณยเกตุ | 24 ต.ค. 2550 - 23 ม.ค.2554 | ปลัดจังหวัดลพบุรี | รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ | |
26 | นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ | 2 พ.ค. 2554 - 14 ธ.ค. 2557 | อธิการบดีวิทยาลัยการปกครอง | ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร | |
นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ | 15 ธ.ค. 2557-25 ม.ค. 2558 | ปลัดอาวุโส | นายอำเภอซำสูง | (รักษาราชการแทนนายอำเภอ) | |
27 | นายปัญญา วงศ์ศรีแก้ว | 26 ม.ค. 2558 - 13 ต.ค. 2560 | อำเภอเกษตรสมบูรณ์ | ปลัดจังหวัดนครราชสีมา | รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย |
28 | นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ | 16 ต.ค. 2560 - 21 มิ.ย. 2564 | อำเภอครบุรี | หัวหน้าสำนักงานจังหวัดจันทบุรี | รองผู้ว่าฯ นครราชสีมา |
จอ.ไพรัตน์ อินทรปัญญา | 22 มิ.ย. 2564 - 11 ก.ค. 2564 | ปลัดอาวุโส | นายอำเภอเมืองยาง | (รักษาราชการแทนนายอำเภอ) | |
29 | นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ | 12 ก.ค. 2564 - ปัจจุบัน | อำเภอวังสมบูรณ์ |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (8 ง): 224–225. January 22, 1957. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2010-04-25.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 1930–1974. July 29, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากช่อง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 60 ง): 36–37. August 3, 1956.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. 2501" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ก): 321–327. July 22, 1958. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-04-25.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (57 ง): 1874–1875. July 20, 1965.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอปากช่อง และอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (139 ง): 2387–2392. September 19, 1972.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากช่อง และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (109 ง): 2599–2607. August 28, 1973.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (68 ง): 2982–2984. July 26, 1977.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (101 ก): 13–18. June 24, 1981.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (75 ง): 1931–1939. June 1, 1982.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่มีอำเภอโนนไทย อำเภอปากช่อง อำเภอโชคชัย อำเภอสีคิ้ว และกิ่งอำเภอหนองบุนนาก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (137 ง): 3518–3540. October 2, 1984.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากช่อง และอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (พิเศษ 166 ง): 85–93. September 26, 1986.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเทศบาลเมืองปากช่อง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (พิเศษ 40 ง): 9. May 30, 2005.
- ↑ "ประกาศจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (18 ง): 213–214. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559
- ↑ "ประกาศจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (18 ง): 215–217. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559