หอมต้นเดี่ยว
หอมต้นเดี่ยว | |
---|---|
ต้นหอมสดมัดเป็นกำ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Asparagales |
วงศ์: | Amaryllidaceae |
วงศ์ย่อย: | Allioideae |
สกุล: | Allium |
หอมต้นเดี่ยว มักเรียกว่า ต้นหอม ภาษาอีสานเรียก ผักบั่ว เป็นพืชในสกุล Allium ที่สามารถรับประทานได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้ต้นหอมเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กตระกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวบ้างก็ปนสีม่วงอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ใบเป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกเมื่อบานมีลักษณะคล้ายร่ม มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก[1] ต้นหอมกินได้ทั้งใบ ดอก และหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่า นิยมนำไปกินเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ข้าวหมูแดง ส่วนใบใช้ตกแต่งโรยหน้าอาหาร และใส่ในต้ม ผัด ยำ แกงต่าง ๆ หรือนำไปดอง
คุณค่าทางโภชนาการ
แก้ต้นหอมสด 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โซเดียม 16 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม น้ำตาล 2.3 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม
สรรพคุณ
แก้ต้นหอมช่วยในการขับเหงื่อและบำรุงหัวใจ ถ้ากินสด ๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ ถ้านำต้นหอม 5-6 ก้าน ต้มกับขิง 2 แว่น กรองน้ำดื่ม ขับเหงื่อ ลดไข้
สรรพคุณทางยา
แก้ใช้แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยการใช้ใบหรือหัวทุบพอแตกใส่ในเหล้าขาว
อ้างอิง
แก้- หนังสืออาหารเป็นยา ทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ยา
- หนังสือผักพื้นบ้าน: อาหารที่ไม่ควรมองข้าม
- หนังสือผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน สำนักพิมพ์แสงแดด, กรุงเทพฯ , 2548.