อำเภอปากพลี

อำเภอในจังหวัดนครนายก ประเทศไทย

ปากพลี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครนายก

อำเภอปากพลี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pak Phli
ถนนหลักในอำเภอปากพลี
ถนนหลักในอำเภอปากพลี
คำขวัญ: 
สืบสานวัฒนธรรม งามล้ำธรรมชาติ พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ตำนานไทย-ลาว-พวน มากล้วนอาหารปลา
แผนที่จังหวัดนครนายก เน้นอำเภอปากพลี
แผนที่จังหวัดนครนายก เน้นอำเภอปากพลี
พิกัด: 14°9′48″N 101°16′7″E / 14.16333°N 101.26861°E / 14.16333; 101.26861
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครนายก
พื้นที่
 • ทั้งหมด519.1 ตร.กม. (200.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด24,294 คน
 • ความหนาแน่น46.80 คน/ตร.กม. (121.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 26130
รหัสภูมิศาสตร์2602
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอปากพลี หมู่ที่ 3
ถนนสุวรรณศร ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 26130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอปากพลีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

แต่เดิมอำเภอนี้ชื่อว่า อำเภอบุ่งไร่ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอหนองโพธิ์ โดยรวมบ้านหนองโพธิ์และบ้านหนองน้ำใหญ่มาตั้งเป็นชื่อสถานที่ราชการ แต่เอาเฉพาะคำว่า "หนองโพธิ์" และในปีเดียวกันได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านท่าแดง ตำบลปากพลี พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอเขาใหญ่ เพราะท้องที่ได้ครอบคลุมถึงเขาใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอปากพลี ตามชื่อตำบลที่ตั้ง

เหตุที่ชื่อ "ปากพลี" นั้น เดิมในสมัยโบราณประชาชนส่วนใหญ่สัญจรไปมาโดยทางเรือ เนื่องจากถนนหนทางยังไม่ได้รับความสะดวกเช่นสมัยนี้ และบริเวณปากคลองยางในฤดูน้ำหลากน้ำจะหมุนวน เรือที่ผ่านไปมามักจะร่มได้รับอันตราย บางคนอาจถึงแก่ชีวิต ดังนั้นประชาชนจึงร่วมใจกันสร้างศาลขึ้นเพื่อทำ "พลี" หรือ "พลีกรรม" เป็นการทำบุญเซ่นสรวงแก่เทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ปากคลอง จึงเรียกชื่อคลองบริเวณนั้นว่า "คลองปากพลี" และใช้เป็นชื่อเรียกหมู่บ้านและตำบลปากพลีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2457 ได้มีกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ คำว่า "อำเภอปากพลี" จึงตั้งเป็นชื่อทางราชการ เมื่อมีการปรับปรุงเขตตำบลใหม่ ได้มีการแยกเขตพื้นที่ตำบลปากพลีออกเป็น 2 ตำบล และตั้งตำบลใหม่เรียกว่าตำบลเกาะหวาย ที่ว่าการอำเภอจึงตั้งอยู่ในเขตตำบลเกาะหวาย

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอปากพลีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 51 หมู่บ้าน

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[1]
1. เกาะหวาย Ko Wai
6
3,768
2. ปากพลี Pak Phli
7
2,854
3. เกาะโพธิ์ Ko Pho
8
3,483
4. ท่าเรือ Tha Ruea
7
3,051
5. โคกกรวด Khok Kruat
7
3,866
6. หนองแสง Nong Saeng
9
3,246
7. นาหินลาด Na Hin Lat
7
3,864

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอปากพลีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเกาะหวาย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะหวาย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะหวาย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเกาะหวาย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากพลีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกรวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกรวดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเรือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแสงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหินลาดทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
  • น้ำตกวังม่วง

ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหินลาด มีทางแยกซ้ายมือจากถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) ที่อำเภอปากพลี ไปยังน้ำตกวังม่วง ระยะทาง 16 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ไหลผ่านแนวหินเป็นระยะ ๆ แล้วไหลลงมายังอ่างรับน้ำสุดท้าย มีความสวยงามของธรรมชาติ

  • ธุดงคสถานถาวรนิมิติ

ตั้งอยู่ที่บ้านบุ่งเข้ ตำบลหนองแสง จากตัวเมืองแยกซ้ายมือจากถนนสุวรรณศรไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3239 (ต่อเขตเทศบาลเมืองนครนายกควบคุม-ท่าด่าน) ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร บริเวณธุดงสถานถาวรนิมิตมีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ อยู่ติดกับเทือกเขาใหญ่ที่รายล้อมด้วยภูเขาขนาดเล็กและปานกลาง บริเวณมีไม้ยืนต้นร่มรื่นและเงียบสงบ มีกุฏิปฏิบัติธรรมนับร้อยหลัง ธุดงคสถานถาวรนิมิตนี้อยู่ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิภาวรจิตตถาวรโรวงศ์มาลัย

  • น้ำตกเหวนรก

ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

  • อ่างเก็บน้ำวังบอน

ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาหินลาด เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นอ่างเก็บน้ำที่น่าสนใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ใช้เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทางเข้าอ่างเก็บน้ำฯ จะอยู่ก่อนถึงด่านเก็บค่าผ่านอุทยานฯ อยู่ทางด้านซ้ายมือ (ทางเข้าวัดธรรมขันธ์)ประมาณ 3 กม. ภายในอ่างเก็บน้ำฯ บรรยากาศร่มรื่น กิจกรรมโรยตัวจากหน้าผา ผ่านน้ำตก ลงสู่อ่างเก็บน้ำ ผ่านเรือคยัคภายในอ่างเก็บน้ำ ช่วงหน้าฝน จะสังเกตเห็นน้ำตกที่ตกลงสู่อ่างเก็บน้ำได้อย่างชัดเจน สามารถไปเล่นยังน้ำตก ทั้งสองที่ได้

อ้างอิง

แก้
  1. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.