อำเภอวังน้ำเขียว
วังน้ำเขียว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา รู้จักกันอย่างดีในฐานะเป็นสถานที่ที่มีโอโซนติดอันดับ 1 ใน 7 ของโลก[1] จนมีสมญานามว่า "สวิตเซอร์แลนด์แดนอีสาน" [2]
อำเภอวังน้ำเขียว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Wang Nam Khiao |
คำขวัญ: วังน้ำเขียวเมืองหนาว ภูเขามากมาย น้ำตกหลากหลาย ผลไม้นานาพันธุ์ แดนสวรรค์เมืองในหมอก | |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอวังน้ำเขียว | |
พิกัด: 14°25′6″N 101°51′0″E / 14.41833°N 101.85000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,129.996 ตร.กม. (436.294 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 45,577 คน |
• ความหนาแน่น | 40.33 คน/ตร.กม. (104.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30370, 30150 (เฉพาะตำบลระเริง ไปรษณีย์ปักธงชัย) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3025 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 30370 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติศาสตร์
แก้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 ได้มีการยกพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลวังหมี ตำบลอุดมทรัพย์ และตำบลระเริง แยกออกจากอำเภอปักธงชัย มาตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเขียว[3] และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ตั้งตำบลไทยสามัคคี แยกออกจากตำบลวังน้ำเขียว[4]
เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลเจ้าพ่อ ในพื้นที่บางส่วนของตำบลวังน้ำเขียว และบางส่วนตำบลไทยสามัคคี[5] กระทั่งวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ยกฐานะเป็นอำเภอวังน้ำเขียว[6]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอวังน้ำเขียวตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสูงเนินและอำเภอปักธงชัย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอครบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาดีและอำเภอประจันตคาม (จังหวัดปราจีนบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากช่อง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอวังน้ำเขียวแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 83 หมู่บ้าน
1. | วังน้ำเขียว | (Wang Nam Khiao) | 19 หมู่บ้าน | |||
2. | วังหมี | (Wang Mi) | 22 หมู่บ้าน | |||
3. | ระเริง | (Raroeng) | 14 หมู่บ้าน | |||
4. | อุดมทรัพย์ | (Udom Sap) | 17 หมู่บ้าน | |||
5. | ไทยสามัคคี | (Thai Samakkhi) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอวังน้ำเขียวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลศาลเจ้าพ่อ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวังน้ำเขียวและตำบลไทยสามัคคี
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียว (นอกเขตเทศบาลตำบลศาลเจ้าพ่อ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหมี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหมีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลระเริง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระเริงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอุดมทรัพย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอุดมทรัพย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทยสามัคคี (นอกเขตเทศบาลตำบลศาลเจ้าพ่อ)
ประชากร
แก้ชื่อ | ปีที่จัดตั้ง | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2555) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2555) |
---|---|---|---|---|---|
เทศบาลตำบลศาลเจ้าพ่อ | 2542 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลวังหมี | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลระเริง | 2538 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลอุดมทรัพย์ | 2539 | ||||
องค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี | 2538 | ||||
ทั้งหมด | 1,129.996 | 43,089 | 38.13 | 16,520 |
อ้างอิง
แก้- ↑ มาสูดโอโซนอันดับเจ็ดที่ วังน้ำเขียว กันเถอะ จากสนุกดอตคอม
- ↑ "รู้จักกับวังน้ำเขียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-15. สืบค้นเมื่อ 2014-05-14.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเขียว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 53 ง): 13. 22 เมษายน 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (9 ง): 22–25. 26 มกราคม 2536.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลเจ้าพ่อ กิ่งอำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 175 ง): 13–14. 26 ตุลาคม 2536.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. 20 พฤศจิกายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.