อนันต์ อนันตกูล
นายอนันต์ อนันตกูล ราชบัณฑิต ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง กรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] เป็นอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดชลบุรี[2] เคยดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นเวลายาวนานถึง 4 ปี และดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงมหาดไทยอีก 2 สมัยรวมเวลาเกือบ 4 ปี นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปี พ.ศ. 2543-2546
นายอนันต์ อนันตกูล | |
---|---|
![]() | |
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน พ.ศ. 2543 – 20 เมษายน พ.ศ. 2546 | |
ก่อนหน้า | พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ |
ถัดไป | ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2475 อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | รุ่งจิตต์ อนันตกูล |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติการศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์แก้ไข
- ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2497
- ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ปี 2525
- รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2529
- การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2530
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2531
ประวัติการทำงานแก้ไข
- นายอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2504-2505
- นายอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2505 - 2506
- นายอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
- ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2516-2518
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2518 - 2520
- เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2528-2532
- ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2532- ก.พ. 2534[3]
- ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มี.ค. 2534 - ก.ย. 2534
- ปลัดกระทรวงมหาดไทย ต.ค. 2534 - ก.ย. 2536
- สมาชิกวุฒิสภากรรมการร่างกฎหมาย ปี พ.ศ. 2529-2543
- เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ปี พ.ศ. 2543
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2544
ในปี พ.ศ. 2561 นายอนันต์ ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[7]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[8]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2521 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค Archived 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. Archived 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๑ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต (รวม ๓ ราย ๑. นายอนันต์ อนันตกูล ฯลฯ)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชชั้นสายสะพาย ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษเล่ม ๑๐๗ ตอน ๒๐๐ ง ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หน้า ๘๑๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 110 ตอนที่ 57 วันที่ 3 พฤษภาคม 2536
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- สรุปข่าวประจำวัน Archived 2007-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน