ปราสาทหินพนมวัน
ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ ถนนสายโคราช-ขอนแก่น อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ
ปราสาทหินพนมวัน | |
---|---|
Prasat Hin Phanom Wan | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | ปราสาทหิน |
สถาปัตยกรรม | ขอมแบบบาปวน |
เมือง | อำเภอเมืองนครราชสีมา, จังหวัดนครราชสีมา |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | ราวพุทธศตวรรษที่ 15 |
ปรับปรุง | ราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
เป็นที่รู้จักจาก | เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย[1] |
สันนิษฐานว่า เดิมปราสาทหินพนมวันก่อสร้างด้วยอิฐในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 จึงได้สร้างอาคารหินซ้อนทับลงไป มีลักษณะคล้ายครึงกับปราสาทหินพิมายแต่มีขนาดเล็กกว่า จากจารึกที่ค้นพบ เรียกปราสาทแห่งนี้ว่า "เทวาศรม" เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ต่อมา จึงได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นพุทธสถาน[2] เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย[3]
กรมศิลปากรได้มีการขุดแต่งและบูรณะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 โดยปราสาทประธานได้มีการบูรณะด้วยวิธีอนัสติโลซิส (Anastylosis) และยังได้มีการบูรณะสถานที่ภายนอกระเบียงคด ได้แก่ ซากโบสถ์ร้าง เนินอรพินท์ เป็นต้น จึงทำให้ปราสาทพนมวันมีความสมบูรณ์ขึ้น
สิ่งก่อสร้างบริเวณปราสาท
แก้ปรางค์ประธาน
แก้ตัวปราสาทหินพนมวันสร้างเป็นปรางค์ มีฉนวน (ทางเดิน) ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา[1]
ระเบียงคดและโคปุระ
แก้บริเวณโดยรอบตัวปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ ขนาดกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประตูทางเข้าเทวสถาน มีโคปุระ (ซุ้มประตู) สลักหินทรายขนาดเล็กก่อสร้างเป็นรูปหอสูงทั้งสี่ทิศ[1][4]
ปรางค์น้อย
แก้ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า "ปรางค์น้อย"[1]
เนินนางอรพิมพ์
แก้ทางด้านนอกปราสาททางด้านทิศตะวันออกห่างจากโบราณสถานเกือบ 300 เมตร มีร่องรอยของคูน้ำและเนินดิน เรียกกันแต่เดิมว่า "เนินนางอรพิมพ์" หรือ "เนินอรพิม" นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงจัดเรียงเป็นแนวคล้ายซากฐานอาคารบนเนินแห่งนี้ด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น "พลับพลาลงสรง" ในรูปแบบพิเศษที่ไม่เคยพบในที่อื่นๆ ของประเทศไทย อาจใช้เป็นเรือนสำหรับรับรองเจ้านายหรือเป็นวังของผู้ปกครองเมืองพนมวัน แล้วก็เป็นพลับพลาพระตำหนักรับเสด็จพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือผู้แทนพระองค์ที่น่าจะเดินทางมาถึงปราสาทพนมวันในยุคพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อถวายพระพุทธรูปพระชัยพุทธมหานาถ[1]
บาราย
แก้ทางด้านทิศตะวันออกมี “บาราย” หรือสระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียกว่า "สระเพลง" ขนาดกว้าง 275 เมตร ยาว 475 เมตร
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "ปราสาทหินพนมวัน". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
- ↑ "ปราสาทหินพนมวัน". กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม).
- ↑ "เมื่อ "ปราสาทหินพนมวัน" สร้างไม่สะเด็ด เพราะเสร็จอุบายหญิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-06. สืบค้นเมื่อ 2008-05-06.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ ปราสาทหินพนมวัน