มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Nakhon Ratchasima Rajabhat University
ชื่อย่อมร.นม. (NRRU.)
คติพจน์ธมฺมจารี สุขํเสติ
(ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ525,799,000 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ อดิศร เนาวนนท์
อาจารย์571 คน (พ.ศ. 2567)
บุคลากรทั้งหมด1,197 คน (พ.ศ. 2567)
ผู้ศึกษา13,413 คน (พ.ศ. 2566)
ที่ตั้ง
เพลงมาร์ชตะโกราย
ต้นไม้ต้นราชพฤกษ์
สี  เขียว
  เหลือง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไปทางตำบลจอหอ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 274 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา พื้นที่หลักอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 174 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา และมีศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยทางการเกษตร อีก 100 ไร่ อยู่ที่ ตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ติดกับสวนสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประมาณ 15 กิโลเมตร

มีปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยว่า

แหล่งวิชาการ สร้างสรรค์คนดี มีคุณธรรม นำสังคม

ประวัติ

แก้
พ.ศ. 2457

การฝึกหัดครูได้เริ่มในมณฑลนครราชสีมา เมื่อกระทรวงธรรมการให้เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) ในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 3 เข้าศึกษาหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู

พ.ศ. 2466

กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม ที่ข้างวัดโพธิ์ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) และประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดนครราชสีมา ” เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.)

พ.ศ. 2481

ย้ายไปอยู่แทนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2485 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลโนนสูง” เปิดสอน 3 หลักสูตรได้แก่ ประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) และประโยคครูมูล (ม.)

พ.ศ. 2490

ย้ายเข้ามาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และเปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา ” ในปี พ.ศ. 2495 ได้ยุบเลิกหลักสูตรเดิม 3 หลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.)

พ.ศ. 2502

ได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูนครราชสีมา” และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง) ต่อจากระดับ ป.กศ.

พ.ศ. 2507

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อรับฟังคำกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าของการฝึกหัดครูไทยและทอดพระเนตรกิจการวิทยาลัยครูนครราชสีมาและนิทรรศการด้านวิชาการของนักศึกษา

พ.ศ. 2518

ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 จึงขยายการผลิตครูถึงระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)

พ.ศ. 2520

เริ่มโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) แล้วพัฒนามาเป็นโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2527

เริ่มเปิดสอนสาขาวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากสาขาวิชาการศึกษาในระดับอนุปริญญาและขยายถึงระดับปริญญาตรีในระยะต่อมา ปัจจุบันมี 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชานิติศาสตร์

พ.ศ. 2537

เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น “สถาบันราชภัฏนครราชสีมา” สามารถเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี

พ.ศ. 2541

เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา และปีต่อ ๆ มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2545 ได้เปิดสอนสาขาอื่นเพิ่มอีก 6 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สาขาการส่งเสริมสุขภาพ สาขาหลักสูตรและการสอน สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และสาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน

พ.ศ. 2547

ได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา”

พ.ศ. 2548

เปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มอีก 1 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต

พ.ศ. 2549

เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา และเปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มอีก 1 สาขา ได้แก่ สาขา เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2556

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

แก้

ตราสัญลักษณ์

แก้
 
ตราประจำมหาวิทยาลัย

รูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือเลข "" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด รอบนอกของตราด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” ด้านล่างมีตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า “NAKHON RATCHASIMA RAJABHAT UNIVERSITY”

ความหมายสีทั้ง 5 สีในตราสัญลักษณ์
  • สีน้ำเงิน (   ) แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
  • สีเขียว (   ) แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • สีทอง (   ) แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • สีส้ม (   ) แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 41 มหาวิทยาลัยฯ
  • สีขาว (   ) แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

แก้


 
ต้นราชพฤกษ์


  • ต้นราชพฤกษ์ (Cassia fistula) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

สีประจำมหาวิทยาลัย

แก้
TTTTTT TTTTTT
   

คณะและหน่วยงานในสังกัด

แก้

คณะ

แก้

สำนัก

แก้

ศูนย์

แก้

หน่วยงานอื่นๆ

แก้

อาคารสถานที่

แก้

อาคารยุพราชเบญจมงคล (อาคาร 31) ประกอบด้วยพื้นที่โล่งสำหรับทำกิจกรรม ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ห้องประชุม ห้องบรรยาย และห้องเรียนรวม มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อให้เป็นอาคารเรียนรวมสำหรับนักศึกษา รองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการเปิดหลักสูตรเพิ่มหลายสาขาวิชา เริ่มจากการเชิญชวนผู้บริหาร คณาจารย์ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบัน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค ดำเนินการออกแบบและขอรับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้าง และงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม โดยเมื่อรับมอบอาคารเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการขอพระราชทานชื่ออาคารจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานชื่ออาคารเรียนรวมของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 ว่า “อาคารยุพราชเบญจมงคล” มีความหมายว่าเป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ แห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาอย่างยิ่ง

 
ห้องสมัยอยุธยาส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา (อาคาร 10) เป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่มีการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ควรค่าที่คนโคราชจะได้รับรู้และภาคภูมิใจ โดยมุ่งหวังที่จะกระตุ้นให้เยาวชนชื่นชอบและสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในประวัติศาสตร์ ศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมาที่นักท่องเที่ยวจะได้รับข้อมูล ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณจังหวัดนครราชสีมาก่อนที่จะไปชมยังสถานที่จริง

 
ศาลเจ้าพ่อขุนศักรินทร์

ศาลเจ้าพ่อขุนศักรินทร์ เป็นเทวสถานประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภายในประดิษฐานประติมากรรมปูนปั้นขุนศักรินทร์ สิ่งศักสิทธิ์ที่ชาวราชภัฏนครราชสีมาเชื่อว่าท่านคอยปกป้องคุ้มครองให้ทุกคนมีความแคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งมีพิธีบวงสรวงอย่างยิ่งใหญ่อลังการต่อเนื่องทุกปี

หลักสูตร ระดับปริญญาตรี

แก้

ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาศิลปศึกษา
  • สาขาวิชาดนตรี
  • สาขาวิชานาฏศิลป์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาพลศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
  • สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว-ภาษาไทย
  • สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (วิชาเลือกโท ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาฝรั่งเศส)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรม (วิชาเลือกโท ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาฝรั่งเศส)
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์
  • สาขาวิชาสารสนเทศเพื่อการจัดการ

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สธ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

รัฐศาสตร์บัณฑิต (ร.บ.)

แก้

• สาขารัฐศาสตร์

นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)

แก้
  • สาขาวิชานิติศาสตร์

นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

แก้
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (ต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการเงินการธนาคาร
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • สาขาวิชานวัตกรรมเซรามิกส์
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม(ต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม(ต่อเนื่อง)

ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์

เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

บัญชีบัณฑิต (บช.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาการบัญชี (4 ปี)
  • สาขาวิชาการบัญชี (ต่อเนื่อง)

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (5 ปี)

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

แก้
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

แก้
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษา

ระดับปริญญาโท

แก้
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  • สาขาวิชาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ระดับปริญญาเอก

แก้
  • สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาการเมืองการปกครองภาครัฐและเอกชน

ทำเนียบผู้บริหาร

แก้
ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษา/สถาบัน/มหาวิทยาลัย
ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุด
1 ขุนกัลยาณเวทย์
(ศุข อาสนนันท์)
ครูใหญ่
โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา
พ.ศ. 2457 พ.ศ. 2459
2 นายทองสุก ปานสิงหะ
ครูใหญ่ พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2461
3 ขุนอักษรเสริฐ
(เปล่ง บุญสมบัติ)
ครูใหญ่ พ.ศ. 2461 พ.ศ. 2466
4 ราชบุรุษ ขุนศุภลักษณ์ศึกษากร
(เจียม ศุภลักษณ์)
ครูใหญ่
โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม ประจำมณฑลนครราชสีมา
พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2477
5 ว่าที่รองอำมาตย์ตรีขุนสุบงกชศึกษากร
(นาก สุบงกช)
ครูใหญ่
โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด
พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2782
6 นายช่วง จันทรมะโน
ครูใหญ่
โรงเรียนฝึกหัดครูมูลโนนสูง
พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2486
7 นายสมชาย ดวงจันทร์
ครูใหญ่
โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2486 พ.ศ. 2489
8 นายอรรจน์ วิวัฒน์ สุนทรพงศ์ อาจารย์ใหญ่
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2502
9 นายสุรินทร์ สรศิร์ ผู้อำนวยการชั้นพิเศษ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2508
10 นางวิไลวรรณ เอื้อวิทยาศุภร อาจารย์ชั้นพิเศษ
(รักษาราชการผู้อำนวยการวิทยาลัยครูนครราชสีมา)
พ.ศ. 2506 พ.ศ. 2509
11 นางสาวฉวีวรรณ ดุลยจินดา
ผู้อำนวยการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2508
12 นายสนอง สิงหพันธุ์
ผู้อำนวยการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2517
13 นายพจน์ ธัญญขันธ์
อธิการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2519
14 นายทวี ท่อแก้ว
อธิการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2520
15 นายประธาน จันทรเจริญ
อธิการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2522
16 รองศาสตราจารย์ ดร.อินทร์ ศรีคูณ
อธิการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2528
17 รองศาสตราจารย์ ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์
อธิการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2532
18 ดร.บัณฑิต วงษ์แก้ว
อธิการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2535
19 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ทองงอก
อธิการ
วิทยาลัยครูนครราชสีมา
พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2538
20 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุทัย เดชตานนท์
อธิการบดี
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา
พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2542
21 รองศาสตราจารย์เชิดชัย โชครัตนชัย
อธิการบดี
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2546
22 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เศาวนิต เศาณานนท์
อธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2556
23 รองศาสตราจารย์ เทื้อน ทองแก้ว
รักษาราชการแทนอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2557
24 รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล
อธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2562
25 รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์
อธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
พ.ศ. 2562 ยังอยู่ในตำแหน่ง

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. http://www.edu.nrru.ac.th
  3. http://www.fms.nrru.ac.th
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-25. สืบค้นเมื่อ 2005-09-04.
  5. http://fit.nrru.ac.th/
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-29. สืบค้นเมื่อ 2005-09-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้