โรงเรียนบุญวัฒนา


โรงเรียนบุญวัฒนา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2516 โดยมีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นผู้พระราชทานชื่อโรงเรียน

โรงเรียนบุญวัฒนา
Boonwattana School
ที่ตั้ง

ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ว.น. (บุญวัฒนา)
B.W.N. (Boon)
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
โรงเรียนสหศึกษา
คำขวัญวินัยดี วิชาเด่น
สุวิชาโน ภวํ โหติ
(ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
สถาปนา3 มกราคม พ.ศ. 2516 (51 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หน่วยงานทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31
ผู้อำนวยการนายวิเชียร ทองคลี่ [1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน

ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีน ภาษาจีน

ประเทศเกาหลี ภาษาเกาหลี
สี████ สีฟ้าและสีแดง
เพลงมาร์ชบุญวัฒนา
มาร์ชบุญวัฒนาอัญมณีแห่งโคราช
เว็บไซต์www.boon.ac.th

ประวัติโรงเรียนบุญวัฒนา แก้

โรงเรียนบุญวัฒนาก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีสถาปนา เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร 28 ธันวาคม 2515 โดยได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ ว่า “บุญวัฒนา

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนถาวร หลังแรก


ซึ่งนายบุญธรรม และนางบุญพริ้ง ต.สุวรรณ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล สำหรับดำเนินการจัดสร้าง จำนวน 6 ล้านบาท บนที่ดินท่ได้รับบริจาคจากร้อยโทรส และนางลูกอินทร์ มาศิริ จำนวน 50 ไร่ และยกที่ดินบริเวณมุมถนนทางเข้าโรงเรียนด้านทิศตะวันออก ติดถนนสายนครราชสีมา-โชคชัย ประมาณ 30 ตารางวา ให้โรงเรียนบุญวัฒนาเพื่อสร้างศาลาและป้ายชื่อโรงเรียน นอกจากนี้สิบเอกสมศักดิ์ เจริญพจน์ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 32 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา สำหรับจัดสร้างโรงเรียนอีกด้วย ซึ่งรวมจำนวนที่ดิน ทั้งหมดที่มีผู้บริจาคจัดสร้างโรงเรียน จำนวน 82 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ในการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวาง ศิลาฤกษ์อาคารเรียนถาวรหลังแรกนี้ จึงถือว่าวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นวันก่อตั้งโรงเรียนบุญวัฒนา

ในปี พ.ศ. 2517 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดโรงเรียนบุญวัฒนา พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยเสด็จในการนี้ด้วย เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2517

ในปี พ.ศ. 2548 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา โรงเรียนบุญวัฒนา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

และในปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาโรงเรียนบุญวัฒนา เพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดถวาย ณ สนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงเรียนบุญวัฒนา เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ และนิทรรศการของ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ(อพ.สธ.) ณ พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช (อพ.สธ.) ตำบลหนองระเวียง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์การศึกษาหนองระเวียงในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

 
แผ่นจารึกหินอ่อน ในโอกาสที่ ในหลวง ราชินี เปิดโรงเรียนบุญวัฒนา เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2517

รายชื่อครูใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญวัฒนา [2] แก้

ลำดับที่ ชื่อและนามสกุล ดำรงตำแหน่ง
1 นายเทิดศักดิ์ รัตนมณี 15 พฤษภาคม 2516 3 กุมภาพันธ์ 2519
2 นายไพรัตน์ สุวรรณแสน 4 กุมภาพันธ์ 2519 24 ตุลาคม 2519
3 นายครรชิต ตรานุชรัตน์ 25 ตุลาคม 2519 31 มกราคม 2531
4 นายล้วน วรนุช 1 กุมภาพันธ์ 2532 25 ตุลาคม 2535
5 นายจารุ โรจนรังสิมันตุ์ 26 ตุลาคม 2535 30 กันยายน 2542
6 นายธนศักดิ์ กระต่ายทอง 4 กุมภาพันธ์ 2543 22 กันยายน 2547
7 นายศิลปะสิทธิ์ ทับทิมธงไชย 23 กันยายน 2547 15 พฤศจิกายน 2549
8 นายมโน ศรีวัฒนพงศ์ 16 พฤศจิกายน 2549 30 กันยายน 2556
9 นายสมัคร ไวยขุนทด 18 ตุลาคม 2556 17 มีนาคม 2557
10 นายลัดทา ชนะภัย 19 มีนาคม 2557 30 กันยายน 2557
11 นายอนันต์ เพียรเกาะ 20 ตุลาคม 2557 30 กันยายน 2561
12 นายวิลาศ ดวงเงิน 2 ตุลาคม 2561 1 ตุลาคม 2563
13 นายนิรมิตร ดวดกระโทก 8 ตุลาคม 2563 30 กันยายน 2565
14 นายสุพล จอกทอง 3 ตุลาคม 2565 30 กันยายน 2566
15 นายวิเชียร ทองคลี่ 2 ตุลาคม 2566 ปัจจุบัน

หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนโรงเรียนบุญวัฒนา[3] แก้

โรงเรียนบุญวัฒนาเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ โดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้น ดังนี้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แก้

ลำดับ กลุ่มการเรียน จำนวนห้องเรียน ประเภทโครงการ
1 วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

(Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE)

1 ห้องเรียน ร่วมกับ สสวท.
2 วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ แบบเข้ม

(Intensive Science Mathematics and English Program : ISMEP)

2 ห้องเรียน โรงเรียนจัดระบบหลักสูตร

ควบคู่หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

3 การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการแบบภาษาอังกฤษ

(English Program : EP)

1 ห้องเรียน ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
4 มาตรฐานสากล (ทั่วไป)

(General Program, World Class Standard School : GP)

12 ห้องเรียน มาตรฐานสากล

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้

ลำดับ กลุ่มการเรียน จำนวนห้องเรียน ประเภทโครงการ
1 วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

(Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE)

1 ห้องเรียน ร่วมของ สสวท.
2 วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ แบบเข้ม

(Intensive Science Mathematics and English Program : ISMEP)

2 ห้องเรียน โรงเรียนจัดระบบหลักสูตร

ควบคู่หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

3 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(Science and Mathematics Program : SMP)

6 ห้องเรียน มาตรฐานสากล
4 คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ

(Mathematics and English Program : MEP)

3 ห้องเรียน มาตรฐานสากล
5 ภาษาไทย สังคมศึกษาและธุรกิจศึกษา

(Thai Language, Social Studies and Business Studies Program : TSBP)

2 ห้องเรียน ร่วมกับสถาบันปัญญาภิวัฒน์
6 ภาษาศาสตร์

(Foreign Language Program : FLP)

 ภาษาศาสตร์ เอกวิชาภาษาอังกฤษ

 (Foreign Language Program, English : FLPEN)

 ภาษาศาสตร์ เอกวิชาภาษาจีน

 (Foreign Language Program, Chinese : FLPCN)

 ภาษาศาสตร์ เอกวิชาภาษาญี่ปุ่น

 (Foreign Language Program, Japanese : FLPJP)

รวม 3 ห้องเรียน


1 ห้องเรียน


1 ห้องเรียน


1 ห้องเรียน

ร่วมกับสถาบันปัญญาภิวัฒน์

อาคารและสถานที่ภายในโรงเรียนบุญวัฒนา แก้

ลำดับ ประกอบด้วย หมายเหตุ
อาคาร 1 กลุ่มงานกิจการนักเรียน

กลุ่มงานอำนวยการ

กลุ่มงานบริหารทั่วไป

ห้องประชุม 40 ปี บุญวัฒนา

ห้องเรียนพิเศษ ISMEP

ห้องเรียนพิเศษ EP

ห้องศึกษาค้นคว้าอิสระ โครงการ ISMEP

ห้องศึกษาค้นคว้าอิสระ โครงการ EP



ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

อาคาร 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้แนะแนว

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

โครงการนักเรียนเรียนร่วม นักเรียนพิการทางสายตา

ห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น


อาคาร 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โครงการ ทูบี นัมเบอร์วัน (To Be Number 1)

ห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
อาคาร 4

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา

ห้องสมุดกลาง

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (ธุรกิจศึกษา)

ห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ห้องเรียนพิเศษ GSMP และ SMTE

ห้องเรียน ISMEP

ห้องเรียนทางวิทยาศาสตร์

ห้องเรียนคอมพิวเตอร์

ห้องเรียนอาเซียนศึกษา

ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุท โทฺ

ห้องเรียนสื่อทางดาวเทียม

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย



อาคารศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ห้องเรียนนาฏศิลป์

ห้องเรียนทัศนศิลป์

ห้องเรียนดนตรีศึกษา (ดนตรีสากล)

ห้องเรียนศิลปศึกษา

ห้องเรียนดนตรีพื้นเมือง (โปงลาง)

อาคาร 5 (อาคารวิบุลปัญญา) กลุ่มงานวิชาการห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

อาคารเอกดวงเดือน ห้องประชาสัมพันธ์

ห้องประชุมเอกดวงเดือน (สมาคมนักเรียนเก่าบุญวัฒนา)

สำนักงานผู้อำนวยการโรงเรียน

ห้องเกียรติยศ (พิพิธภัณฑ์โรงเรียนบุญวัฒนา)

อาคารพยาบาล ห้องพยาบาล

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พยาบาล)

อาคารสระว่ายน้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สระว่ายน้ำ

หอประชุม 20 ปี บุญวัฒนา ห้องสภานักเรียน

หอประชุม 20 ปี บุญวัฒนา

โรงอาหารกลาง

อาคารโครงการพิเศษ ตามพระราชดำริ ห้องสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนบุญวัฒนา
อาคารอุตสาหกรรมและคหกรรม ห้องเรียนอุตสาหกรรม

ห้องเรียนคหกรรม

ห้องเรียนเขียนแบบ

อาคารเกษตรกรรม ห้องเรียนเกษตรกรรม

ลานเกษตรกรรม

อาคารโยธวาทิต ห้องเรียนดนตรีสากล

ห้องเรียนโยธวาทิต

สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ อาคารอเนกประสงค์ 45 ปี บุญวัฒนา (โดมอนุสรณ์)

สนามกีฬาโรงเรียนบุญวัฒนา (สนามฟุตบอล)

ห้องราชพฤกษ์

ลานกีฬาโรงเรียนบุญวัฒนา

สระน้ำ (บ่อพักน้ำ)

 
อาคาร 4 (อาคาร 9 ชั้น) อาคารเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

สิ่งสักการะโรงเรียนบุญวัฒนา แก้

  1. พระพุทธนิโรธมหามุนิทร
  2. พระพุทธสิริมงคลวัฒนา
  3. ศาลพระภูมิประจำโรงเรียนบุญวัฒนา

คำขวัญ คติธรรม อัตลักษณ์ เอกลักษณ์และสีประจำโรงเรียนบุญวัฒนา แก้

คำขวัญประจำโรงเรียน แก้

วินัยดี วิชาเด่น

คติธรรมประจำโรงเรียน แก้

สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)

อัตลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

วินัยดี วิชาเด่น

เอกลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

กิจกรรมเป็นเลิศ

สีประจำโรงเรียน แก้

██ (#00B6FF) สีฟ้า หมายถึง ความรู้ ความใฝ่ฝันและความมุ่งหวังอันสูงสุด

 
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนบุญวัฒนา

██ (#C3002F) สีแดง หมายถึง ความมั่นคง พลัง ความพร้อมเพรียงและความเสียสละ

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนบุญวัฒนา แก้

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนมีลักษณะเป็นองค์มงกุฎของโรงเรียนบุญวัฒนา โดยแบ่งออกเป็น

1)  องค์มงกุฎ เปล่งรัศมีสีทอง โดยมีทั้งหมด 31 แฉก

2)  อักษรย่อประจำโรงเรียนสีทองเป็นรูปเพชร บ.ว.น.

3)  ป้ายข้อความมีลักษณะโค้งรับกับปลายรัศมีและอักษรย่อโรงเรียนบุญวัฒนา โดยมีป้าย สีฟ้าและข้อความระบุชื่อโรงเรียนบุญวัฒนา สีแดง ซึ่งเป็นสีประจำโรงเรียนบุญวัฒนา

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนบุญวัฒนา แก้

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนบุญวัฒนา

           โรงเรียนบุญวัฒนาเน้นการเรียนทางด้านวิชาการและการเรียนในรูปแบบของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีการแบ่งกิจกรรมต่าง ๆ ตามมารฐานสากลในการจัดการเรียนการสอน

1) กิจกรรมชุมนุม นักเรียนจะได้เลือกกิจกรรมชุมนุมอย่างอิสระที่มีทั้งทางด้านวิชาการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามความ ต้องการของนักเรียน

2) กิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะผู้เรียน นักเรียนจะสามารถเข้าค่ายทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านวิชาการและกิจกรรมตามความต้องการของนักเรียน ทั้งโครงการของโรงเรียนและหน่วยงานภายนอกโรงเรียน

3) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทางด้านกีฬา โรงเรียนได้จัดให้มีกิจกรรมกรีฑาและกีฬาปีการศึกษาละ 1 ครั้ง หรือที่เรียกว่า กีฬาสี เพื่อเป็นการฝึกทักษะการทำกิจกรรมร่วมกันและการเข้าสังคม โดยแบ่งการสังกัดคณะทั้งหมด 6 คณะ โดยสังกัด 3 ปี จนสำเร็จการศึกษา แบ่งออกเป็น

 
ภาพการแข่งขันกีฬาคณะในอดีต (ในภาพคือคณะปัทมา)

   (#0C2EC3) คณะบุษกร (Budsakorn Group) สีน้ำเงิน ดอกไม้ประจำคณะ ดอกบัวน้ำเงิน

  (#FF9D35) คณะทองกวาว (Thongkwao Group) สีแสด ดอกไม้ประจำคณะ ดอกทองกวาว

   (#FF3535) คณะปัทมา (Pattama Group) สีแดง ดอกไม้ประจำคณะ ดอกบัวแดง

   (#47F085) คณะการเวก (Karavek Group) สีเขียว ดอกไม้ประจำคณะ ดอกการเวก

   (#FDFF95) คณะราชพฤกษ์ (Ratchaphruek Group) สีเหลือง ดอกไม้ประจำคณะ ดอกราชพฤกษ์ (ดอกคูน)

   (#95F5FF) คณะราชาวดี (Rajawadee Group) สีฟ้า ดอกไม้ประจำคณะ ดอกราชาวดี

 
ภาพบรรยากาศการจัดการแข่งขันกีฬา E-Sport ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมชั้น 9 โดย คณะกรรมการและสภานักเรียน


4) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสมัยใหม่[4] กิจกรรมตามการเปลี่ยนแปลงของโลก โรงเรียนคำนึงถึงการก้าวผ่านอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เช่น กิจกรรม B.W.N. E-Sports, กิจกรรม B.W.N. The Ambassador และกิจกรรมอื่น ๆ

อีกทั้งยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ให้นักเรียนได้เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งโรงเรียนเป็นผู้จัดหรือ คณะกรรมการนักเรียน สภานักเรียน เป็นผู้จัดกิจกรรมหรือหน่วยงานภายนอกในการจัดกิจกรรมเพื่อนักเรียน

กลุ่มโรงเรียนบุญวัฒนา แก้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 มีการแบ่งกลุ่มโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยโรงเรียนบุญวัฒนามีกลุ่มโรงเรียนในการรับผิดชอบ ดังนี้

  1. โรงเรียนบุญวัฒนา (ศูนย์กลางกลุ่มโรงเรียนบุญวัฒนา [5])
  2. โรงเรียนบุญวัฒนา ๒
  3. โรงเรียนจระเข้หินสังฆกิจวิทยา
  4. โรงเรียนโนนสมบูรณ์วิทยา
  5. โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต
  6. โรงเรียนปากช่อง
  7. โรงเรียนมัธยมวชิราลงกรณวราราม
  8. โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี
  9. โรงเรียนเสิงสาง
  10. โรงเรียนหนองบุญมากประสงค์วิทยา

ศิษย์เก่าโรงเรียนบุญวัฒนาที่มีชื่อเสียง แก้

ชื่อ ชื่อเล่น วงการ รางวัลหรือผลงาน
ธงชัย ประสงค์สันติ ธง บันเทิง (พิธีกร) พิธีกรรายการคุณพระช่วย
เวนย์ ฟอคคอร์เนอร์ บันเทิง (นักแสดง)
ปรัชญา ปิ่นแก้ว บันเทิง (ผู้กำกับภาพยนตร์)
อุดมพร พลศักดิ์ นักกีฬาทีมชาติไทย นักกีฬาเหรียญทอง ยกน้ำหนัก รุ่น 53 กิโลกรัม หญิง จากโอลิมปิกฤดูร้อน 2004
ณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล ปุยฝ้าย บันเทิง (นักร้อง นักแสดง) True Acadamy Fantasia Season 4
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน การเมือง การแพทย์ อดีตโฆษกกรมสุขภาพจิต

โฆษกกระทรวงสาธารณสุข

ปรภัสสร ดิศย์ดำรง ปลา บันเทิง (นางแบบ) Miss Thailand World 2011 (30 คนสุดท้าย)

Miss Grand Thailand 2014

Miss Grand International 2014 (10 คนสุดท้าย)

Miss Supranational 2014 (รองชนะเลิศอันดับที่ 1)

สุทธิยา รอดภัย ใบเฟิร์น บันเทิง (นักร้อง) ชิงช้าสวรรค์ไมค์ทองคำ ซีซั่น 1 2014 (รางวัลชนะเลิศ)

ศิลปินค่ายเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

กรวรรณ หลอดสันเทียะ ปริม บันเทิง (นางแบบ) The Face Thailand Season 3 (ทีมมาช่า)

The Face Thailand Season 4 (ทีมพลอย, ซอนย่า)

อ้างอิง แก้

  1. [https://www.boon.ac.th/main/index.php?page=news&id_news=20221005234612
  2. [1] Youtube Official ประวัติโรงเรียนบุญวัฒนา
  3. [2] คู่มือนักเรียนโรงเรียนบุญวัฒนา ปีการศึกษา 2564
  4. [3] Facebook Fanpage BWN E-Spor
  5. [4] เก็บถาวร 2020-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนแผนปีผลประมาณสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. เว็บไซต์โรงเรียนบุญวัฒนา
  2. Youtube Official โรงเรียนบุญวัฒนา
  3. จดหมายข่าวโงเรียนบุญวัฒนา เก็บถาวร 2021-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. วารสารโรงเรียนบุญวัฒนา เก็บถาวร 2021-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Facebook Fanpage Official โรงเรียนบุญวัฒนา