มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
บทความนี้เขียนขึ้นด้วยมุมมองของแฟนคลับ ซึ่งอาจมีเนื้อหามุมมองด้านเดียวหรือไม่เป็นสารานุกรม โปรดช่วยกันแก้ไขเพื่อให้บทความมีคุณภาพดียิ่งขึ้นและเป็นกลาง |
มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล (อังกฤษ: Miss Grand International) เป็นการประกวดนางงามนานาชาติที่จัดขึ้นเพื่อรณรงค์หยุดการทำสงคราม จัดตั้งโดย ณวัฒน์ อิสรไกรศีล และมี เทเรซ่า ชัยวิสุทธิ์ เป็นรองประธาน สำหรับผู้ที่ได้รับตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล จะได้ครองมงกุฎและเงินรางวัลมูลค่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปีแรก และสิทธิในการครอบครองที่พักคอนโดมิเนียม ตลอดการปฏิบัติภารกิจ 1 ปี และพร้อมปฏิบัติภารกิจ Stop the War and Violence หรือ ยุติสงครามและความรุนแรง[1][2][3][4]
![]() สัญลักษณ์การประกวด | |
ชื่อย่อ | MGI |
---|---|
คําขวัญ | (อังกฤษ) Stop the wars and violence |
ก่อตั้ง | 2013 |
ประเภท | การประกวดความงาม |
วัตถุประสงค์ | ความบันเทิง |
สํานักงานใหญ่ | ![]() |
ที่ตั้ง | |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ทั่วโลก |
สมาชิก | มากกว่า 80 ประเทศ |
ภาษาทางการ | อังกฤษ |
ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน | ![]() |
บุคลากรหลัก | ณวัฒน์ อิสรไกรศีล (ประธานกองประกวด) เทเรซ่า ชัยวิสุทธิ์ (รองประธานกองประกวด) |
องค์กรปกครอง | บริษัท มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล จำกัด |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลคนปัจจุบัน คือ บาเลนตินา ฟิเกรา จากเวเนซุเอลา[5][6][7][8]
รูปแบบการประกวดแก้ไข
การแข่งขันจะคัดเลือกสาวงามจากประเทศที่ส่งเข้าประกวด โดยผ่านรอบ Prelimnary ซึ่งคะแนนจากส่วนนี้จะส่งผลต่อการเข้ารอบในวันประกวดจริง โดยจะแยกเป็นคะแนนที่มาจาก การเดินชุดว่ายน้ำ (Swimming Suit), การเดินชุดราตรี (Evening Gown) และการสัมภาษณ์ต่อหน้าคณะกรรมการ โดยเมื่อจบจากรอบนี้ ในวันประกวดจริง จะมีการประกาศผู้ที่ได้คะแนนสะสมจากรอบ Prelimnary ที่สูงสุด 20 อันดับ เพื่อเข้ารอบ 20 คนสุดท้าย (Semifinalist) จากนั้นผู้เข้าประกวดทั้ง 20 คนจะต้องเดินประกวดในชุดว่ายน้ำ เพื่อคัดเข้ารอบ 10 คนต่อไป โดยรอบ 10 คนสุดท้ายจะเป็นการพูด Stop the War and Violence ในความคิดของตนเพื่อเข้ารอบ 5 คนสุดท้าย และผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย จะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการ โดยคำถามที่แตกต่างกันหรือเหมือนกัน(บางปี) ก่อนที่กรรมการแต่ละคน จะพิจารณาถึงความเหมาะสมในตำแหน่งต่างๆ และเป็นผลการตัดสินออกมาว่าใครจะได้ตำแหน่ง
มงกุฎประจำตำแหน่งแก้ไข
มงกุฎประจำตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนลเปลี่ยนแปลง 3 ครั้งตลอดประวัติศาสตร์ 7 ปี
- มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล คราวน์ (2013–15) – เปิดตัวครั้งแรกในปี 2013 โดยก๊อด ไดมอนด์ เป็นผู้ทำมงกุฎมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ในปี 2013.
- โกลเดนท์ คราวน์ (2016–18) – โดยมงกุฎเน้นความเป็นทอง สื่อถึงดินแดนแห่งความรุ่งเรือง แต่โครงสร้างไม่ได้ทำจากทองคำแท้ 100% เพราะจะอ่อนตัวและยุบง่าย ด้านในจึงทำจากทองเหลือง ด้านนอกเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรแท้ทั้งหมด 7 ช่อ ช่อละ 3 กะรัต รวมทั้งสิ้น 21 กะรัต เม็ดใหญ่สุดเป็นพลอยสีขาว และมรกตแท้จากไทยและพม่า มีโลโก้ เลดี้ ทอช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเวที มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
- โกลเดนท์ คราวน์ รุ่นที่ 2 (2019–21) – มงกุฎนี้ทำมาจากทองคำแท้ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 7 ปีของการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล โดยจอร์จ วิทเทลส์ จากเวเนซุเอลาเป็นผู้ออกแบบและทำมงกุฎมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ในปี 2019 มงกุฏมูลค่า 500000 US หรือตีบาทไทยก็ประมาณ 16,000,000 บาท.
ผู้ดำรงตำแหน่งแก้ไข
- ดูบทความหลักที่ รายนามผู้ครองตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
ปี | ประเทศ | ผู้ดำรงตำแหน่ง | สถานที่จัดประกวด | ผู้เข้าประกวด |
---|---|---|---|---|
2020 | TBA | TBA | กรุงเทพมหานคร ไทย | TBA |
2019 | เวเนซุเอลา | บาเลนตินา ฟิเกรา | การากัส เวเนซุเอลา | 60 |
2018 | ปารากวัย | กลารา โซซา | ย่างกุ้ง พม่า | 75 |
2017 | เปรู | มาริอา โฆเซ โลรา | เกาะฟู้โกว๊ก เวียดนาม | 77 |
2016 | อินโดนีเซีย | อาริซกา ปูตรี เปอร์ตีวี | ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา | 74 |
2015 | ออสเตรเลีย | แคลร์ พาร์กเกอร์ (ดำรงตำแหน่งแทน) | กรุงเทพมหานคร ไทย | 77 |
สาธารณรัฐโดมินิกัน | อาเนอา การ์ซีอา (ถูกถอดตำแหน่ง) | |||
2014 | คิวบา | ลิส การ์ซิอา | 85 | |
2013 | ปวยร์โตรีโก | เยเนลิ ชาปาร์โร | 71 |
เรียงลำดับสัญชาติของผู้ชนะเลิศแก้ไข
ประเทศ | จำนวน | ปีที่ชนะ |
---|---|---|
เวเนซุเอลา | 2019 | |
ปารากวัย | 2018 | |
เปรู | 2017 | |
อินโดนีเซีย | 2016 | |
ออสเตรเลีย | 2015* | |
สาธารณรัฐโดมินิกัน | 2015* | |
คิวบา | 2014 | |
ปวยร์โตรีโก | 2013 |
* 2015 อาเนอา การ์ซีอา จากสาธารณรัฐโดมินิกันได้รับตำแหน่งเพียง 4 เดือน ไม่สามารถปฏิบัติงานครบวาระได้ จึงทำให้ แคลร์ อีลิซาเบท พาร์กเกอร์ จากออสเตรเลียซึ่งเป็นรองอันดับ 1 มารับตำแหน่งแทน ต่อมาแคลร์ได้เข้าร่วมประกวดมิสยูนิเวิร์สออสเตรเลีย ทางองค์กรณ์จึงออกแถลงการณ์ว่า แคลร์จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลอีกต่อไป
ทำเนียบมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลแก้ไข
มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2017 มาริอา โฆเซ โลรา, เปรู มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2016 อาริซกา ปูตรี เปอร์ตีวี, อินโดนีเซีย มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2015 แคลร์ อีลิซาเบท พาร์กเกอร์, ออสเตรเลีย
รองชนะเลิศแก้ไข
- ดูบทความหลักที่ รายนามรองชนะเลิศมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
ปี | รองอันดับ 1 | รองอันดับ 2 | รองอันดับ 3 | รองอันดับ 4 |
2020 | TBA |
TBA |
TBA |
TBA |
2019 | มาเรีย มาโล เม็กซิโก |
อารยะ ศุภฤกษ์ ไทย |
คาร์เมน เดรย์ตัน ปานามา |
มารีโจรี มาร์เซลลี บราซิล |
2018 | มีนากษี โชธารี อินเดีย |
นาเดีย เพอร์โวโก อินโดนีเซีย |
นิโคล โคลอน ปวยร์โตรีโก |
ฮะรุนะ โอะดะ ญี่ปุ่น |
2017 | ทูเลีย อาเลมัน เวเนซุเอลา |
อีลิซาเบธ เคลนซี ฟิลิปปินส์ |
เบรนดา จิเมเนซ ปวยร์โตรีโก |
นิโคลา อูห์ลิโรวา เช็กเกีย |
2016 | นิโคล คอร์โดเวส ฟิลิปปินส์ |
สุภาพร มะลิซ้อน ไทย |
เมดิสัน แอนเดอร์สัน ปวยร์โตรีโก |
มิเชล เลออน สหรัฐอเมริกา |
2015 | แคลร์ พาร์กเกอร์ (ปฏิบัติหน้าที่แทน) ออสเตรเลีย |
วาร์ทิกา ซิงห์ อินเดีย |
พารูล ชาห์ ฟิลิปปินส์ |
รัตติกร ขุนโสม ไทย |
2014 | ไฮวอท มาโม (โดนปลด) เอธิโอเปีย |
แคทริน โคฮุท แคนาดา |
รีเนรา ทอมป์สัน ออสเตรเลีย |
โมนิกา คาสตาโน โคลอมเบีย |
2013 | แชนเทล มาร์ติเนซ สาธารณรัฐโดมินิกัน |
เดนิซา ปาซิเชียโควา สโลวาเกีย |
แอนนาลี ฟอร์บส์ ฟิลิปปินส์ |
เคลลี หลุยส์ แมคไกวร์ ออสเตรเลีย |
รางวัลพิเศษแก้ไข
- ดูบทความหลักที่ รางวัลพิเศษมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
ปี | ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม | ชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม | ชุดราตรียอดเยี่ยม | มิสป็อปปูล่าโหวต | โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม |
2020 | TBA |
TBA |
TBA |
TBA |
TBA |
2019 | มารา โทปิก เอกวาดอร์ |
คาร์เมน เดรย์ตัน ปานามา |
กามิลา เอสกริเบนส์ เปรู |
เหวียน ห่า เกียว โลน เวียดนาม |
ไม่มีการมอบรางวัล |
2018 | แอนเดรีย โมเบิร์ก เปรู |
เกลดีส แคร์รีดีกวส คิวบา |
น้ำอ้อย ชนะพาล ไทย |
บุย ผ็อง หงา เวียดนาม |
นาเดีย เพอร์โวโก อินโดนีเซีย |
2017 | เดอา กูเอสติ ริซกีตา อินโดนีเซีย |
มาเรีย มาตาโมรอส คอสตาริกา |
เฉิน เสวียเจียว จีน |
เดอา กูเอสติ ริซกีตา อินโดนีเซีย |
ลีอา แอชมัวร์ ปารากวัย |
2016 | อาริซกา ปูตรี เปอร์ตีวี อินโดนีเซีย |
เซลวีนิค ไรต์ บาฮามาส |
เชเรล โรส แพตเตอร์สัน อังกฤษ |
โช เย-ซึล เกาหลีใต้ |
ไดแอนน์ บราวน์ จาเมกา |
2015 | พารูล ชาห์ ฟิลิปปินส์ |
มาเรียลา อาพาริซีโอ คอสตาริกา |
อายากะ ทานากะ ญี่ปุ่น |
ออร์เนลลา กูเนเซเกียร์ ศรีลังกา |
วาทิกา ซิงห์ อินเดีย |
2014 | เกา หลิน เวียดนาม |
ปรภัสสร ดิศย์ดำรง ไทย |
มาร์จีนี วินาร์ตี อินโดนีเซีย |
ทิม สรัย เนียต กัมพูชา |
มิเอโกะ ทาเคอูชิ ญี่ปุ่น |
2013 | เจีย พาน จีน |
คริสติน ลานซาเน ลัตเวีย |
แชนเทล มาร์ติเนซ สาธารณรัฐโดมินิกัน |
ฮทาร์ เท็ต เท็ต พม่า |
ไม่มีการมอบรางวัล |
ตัวแทนประเทศไทยแก้ไข
ปี | ผู้ดำรงตำแหน่ง | จังหวัด | ตำแหน่งในการประกวด | รางวัลพิเศษ |
---|---|---|---|---|
2020 | พัชรพร จันทรประดิษฐ์ | ระนอง | TBA | TBA |
2019 | อารยะ ศุภฤกษ์ | นครพนม | รองอันดับ 2 | |
2018 | น้ำอ้อย ชนะพาล | ภูเก็ต | เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย | ชุดราตรียอดเยี่ยม |
2017 | เปรมิกา พาเมล่า | กระบี่ | เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย | มิสพาราไดซ์เคฟเฮอริเทจ |
2016 | สุภาพร มะลิซ้อน | สงขลา | รองอันดับ 2 | |
2015 | รัตติกร ขุนโสม | สงขลา | รองอันดับ 4 | |
2014 | ปรภัสสร วรสิรินดา | นครราชสีมา | เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย | ชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม |
2013 | ญาดา เทพนม | ประจวบคีรีขันธ์ | เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย |
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Miss Grand International 2014 สาวงามทั่วโลก ร่วมประชันโฉม". kapook. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "Promenada Chiang Mai hosts Miss Grand International 2013". Tourism Authority of Thailand Newsroom (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "Miss Grand International : Info" (ภาษาอังกฤษ). Angelopedia.com. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เวทีการประกวดสาวงามระดับโลก
- ↑ "เวเนซุเอลาคว้ามง'มิสแกรนด์' 'โกโก้' สวยทะลุอันดับ 3". www.dailynews.co.th. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "นางงามเวเนซุเอลา คว้ามงกุฎ มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019 โกโก้ อารยะ ไม่น้อยหน้า คว้ารองอันดับ 2". www.springnews.co.th. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "ที่สุดแล้วแม่! 'โกโก้' คว้ารองอันดับ 2 'มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล' มิสเวเนซุเอลา ซิวมง". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "โกโก้ คว้ารองอันดับ 2 มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019". www.komchadluek.net. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help)