บัญญัติ บรรทัดฐาน
นายกองใหญ่ บัญญัติ บรรทัดฐาน ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตประธานกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
บัญญัติ บรรทัดฐาน | |
---|---|
บัญญัติ ในปี พ.ศ. 2553 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) แบบสัดส่วน 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (3 ปี 138 วัน) | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (0 ปี 312 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 (2 ปี 292 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (−1 ปี 212 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สนั่น ขจรประศาสน์ |
ถัดไป | ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (1 ปี 357 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | เล็ก นานา |
ถัดไป | ประจวบ ไชยสาส์น |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (3 ปี 90 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548 (1 ปี 227 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ชวน หลีกภัย |
ถัดไป | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มกราคม พ.ศ. 2518 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (25 ปี 287 วัน) | |
ก่อนหน้า | สงวน กนกวิจิตร |
ถัดไป | โกเมศ ขวัญเมือง |
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน พ.ศ. 2546 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 (1 ปี 319 วัน) | |
ก่อนหน้า | ชวน หลีกภัย |
ถัดไป | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เก้าแซ่ แซ่ลิ้ม 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2514–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สมนึก บุญชู (หย่า) จิตติมา สังขะทรัพย์ (ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้บัญญัติเกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485[2] ที่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมชื่อ "เก้าแซ่ แซ่ลิ้ม" เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนไหหลำ มีภรรยาคือ จิตติมา สังขะทรัพย์ และบุตรชาย 1 คน คือ ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน
บัญญัติสูญเสียมารดาไปตั้งแต่ยังเด็ก ๆ โดยมีพี่สาวเป็นผู้เลี้ยงดู[3][4] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี และโรงเรียนอำนวยศิลป์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วรับราชการเป็นวิทยากร สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ในปี พ.ศ. 2513 ต่อมา เข้าสู่วงการเมืองเป็น ส.ส. หลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในหลายกระทรวง
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แก้- เป็น ส.ส. ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 15 สมัย ในปี พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, พ.ศ. 2526, พ.ศ. 2529, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 1/2), พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566 โดยเป็น ส.ส. ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมาโดยตลอด ยกเว้นในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมาที่เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ ส.ส.สัดส่วน
- รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ปี พ.ศ. 2519
- เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2519
- โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ปี พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2523
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[5][6] ปี พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2529[7]
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531
- ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2533
- รองนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538[8]
- รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2543
- หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548
บทบาททางการเมือง
แก้บัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปี พ.ศ. 2546 จึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเดือนเมษายนตามการเลือกของสมาชิกพรรค หลังจากชวน หลีกภัย หมดวาระไป และไม่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งต่อ บัญญัติ ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 เมื่อพรรคไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งบัญญัติได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ถ้าพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้งจะขอลาออก[9]
ได้รับฉายาว่า "บัญญัติ 10 ประการ" เนื่องจากมักพูดหรือให้สัมภาษณ์ติดคำว่า "ประการ" และ "ประการต่อไป"
นายบัญญัติมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้คดียุบพรรค โดยได้ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานคณะทำงานเตรียมสำนวนคดี และสามารถนำพาพรรครอดพ้นคดียุบพรรคได้สำเร็จ ในขณะที่พรรคคู่แข่งคือ พรรคไทยรักไทย ถูกศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรค
ปัจจุบันบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
ในปี พ.ศ. 2562 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้ง[10] และได้รับการกล่าวถึงทางสื่อมวลชนว่าเป็นหนึ่งในรายชื่อผู้ที่จะถูกเสนอชื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีมติเสนอชื่อ ชวน หลีกภัย
สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 บัญญติได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 3 ในฐานะ อดีตหัวหน้าพรรค รองจาก จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และ ชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรค[11]
ยศกองอาสารักษาดินแดนชั้นสัญญาบัตร
แก้- นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็น "รองผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน" โดยตำแหน่ง
- นายกองใหญ่ กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน" โดยตำแหน่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[14]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[15]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ "สายล่อฟ้า 07 09 59". สายล่อฟ้า. September 7, 2016. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.
- ↑ "อาสาฯประชาชน 12 08 56 เบรก1". บลูสกายแชนแนล. August 11, 2013. สืบค้นเมื่อ August 12, 2013.
- ↑ "อาสาฯประชาชน 12 08 56 เบรก2". บลูสกายแชนแนล. August 11, 2013. สืบค้นเมื่อ August 12, 2013.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย) เล่ม 109 ตอนที่ 103 วันที่ 29 กันยายน 2535
- ↑ ""บัญญัติ"ยึดสัจจะ-โชว์สปิริตไขก๊อกพ้น ปชป.!". ผู้จัดการออนไลน์. February 13, 2005. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2019-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
- ↑ "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- บัญญัติ บรรทัดฐาน (มติชน)
- “พรรคการเมืองพรรคนี้ ยังคงเดินหน้าทำหน้าที่ตามที่อาสาประชาชนไว้”บัญญัติ บรรทัดฐาน (ผู้จัดการ) เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บัญญัติ บรรทัดฐาน เสียงทักก่อนวิกฤต (สนุก.คอม)
- ถ้าอยู่ในความประมาทชาติวิกฤตแน่นอนบทความบัญญัติ บรรทัดฐาน (สนุก.คอม)
ก่อนหน้า | บัญญัติ บรรทัดฐาน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เภา สารสิน เกษม สุวรรณกุล หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 50) (23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) |
สมบุญ ระหงษ์ ชวลิต ยงใจยุทธ ทักษิณ ชินวัตร บุญพันธ์ แขวัฒนะ สมัคร สุนทรเวช อำนวย วีรวรรณ หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี มนตรี พงษ์พานิช | ||
สนั่น ขจรประศาสน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) |
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | ||
ดำรง ลัทธพิพัฒน์ (รัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (29 กรกฎาคม – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2528) |
เล็ก นานา (รัฐมนตรี) | ||
เล็ก นานา | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531) |
ประจวบ ไชยสาส์น | ||
ชวน หลีกภัย | หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (20 เมษายน พ.ศ. 2546 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2548) |
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ||
ชวน หลีกภัย | ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548) |
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |