คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 50
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 50 ของไทย (23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
คณะรัฐมนตรีชวน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
![]() | |
วันแต่งตั้ง | 23 กันยายน 2535 |
วันสิ้นสุด | 13 กรกฎาคม 2538 (2 ปี 298 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
ประมุขแห่งรัฐ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
จำนวนรัฐมนตรี | 35 |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคชาติพัฒนา พรรคเสรีธรรม พรรคเอกภาพ |
ประวัติ | |
วาระสภานิติบัญญัติ | 4 ปี |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 49 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 51 |
ชวน หลีกภัย เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2535 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศนายมารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรีแก้ไข
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี (จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีลอย | ||
ออกจากตำแหน่ง | |||
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย | |||
แต่งตั้งเพิ่ม |
ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้[1]
- นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายอำนวย วีรวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายบุญชู โรจนเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายสาวิตต์ โพธิวิหค เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายสุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พันเอก ชินวุธ สุนทรสีมะ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก วิจิตร สุขมาก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลตรี สมบัติ รอดโพธิ์ทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายบุญชู ตรีทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสวัสดิ์ สืบสายพรหม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายถวิล จันทร์ประสงค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พันเอก วินัย สมพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายจรัส พั้วช่วย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายไสว พัฒโน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายทวี ไกรคุปต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายไชยยศ สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายไพฑูรย์ แก้วทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายเด่น โต๊ะมีนา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายพิศาล มูลศาสตรสาทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- นายปรีชา มุสิกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- นายสัมพันธ์ ทองสมัคร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายปราโมทย์ สุขุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสังข์ทอง ศรีธเรศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายรักเกียรติ สุขธนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายเอนก ทับสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายอุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายสุเทพ อัตถากร เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
การปรับคณะรัฐมนตรีแก้ไข
- วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2536 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายเชาวน์วัศ สุดลาภา พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสุวิทย์ คุณกิตติ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายรักเกียรติ สุขธนะ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2536 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
- นายไสว พัฒโน พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายเอนก ทับสุวรรณ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมอีกตำแหน่งหนึ่ง
- นายไพฑูรย์ แก้วทอง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายเสริมศักดิ์ การุญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นางเตือนใจ นุอุปละ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2537
- ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายไพฑูรย์ แก้วทอง พ้นจากความเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สืบแทนพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง
- นายอำนวย วีรวรรณ ขอลาออกจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
- วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
- ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
- นายจรัส พั้วช่วย ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลตรี สมบัติ รอดโพธิ์ทอง ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
- นายถวิล จันทร์ประสงค์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายสุเทพ อัตถากร ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้[2]
- พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ขอลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
- พันเอก ชินวุธ สุนทรสีมะ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายเด่น โต๊ะมีนา ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
และในวันเดียวกัน ได้มีประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
- นายบุญชู โรจนเสถียร พ้นจากความเป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พันเอก วินัย สมพงษ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายอดิศร เพียงเกษ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสุขวิช รังสิตพล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นางพิมพ์พา จันทร์ประสงค์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายสมุทร มงคลกิติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายวิชิต สุรพงษ์ชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายอุดร ตันติสุนทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2537 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 นายทวี ไกรคุปต์ ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
- นายสุขวิช รังสิตพล พ้นจากความเป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายสุรศักดิ์ เทียมประเสิรฐ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายบุญชู ตรีทอง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายสวัสดิ์ สืบสายพรหม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายฉัตรชัย เอียสกุล พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายไพฑูรย์ แก้วทอง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายเสริมศักดิ์ การุญ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายพิศาล มูลศาสตรสาทร พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- นายสังข์ทอง ศรีธเรศ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
- นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
- พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายกร ทัพพะรังสี เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายปัญจะ เกสรทอง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายอำนวย ปะติเส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายประจวบ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายเดช บุญ-หลง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายยุทธ อังกินันทน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- นายกำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายประเทือง คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
- พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายกระแส ชนะวงศ์ ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 นายปราโมทย์ สุขุม ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
- นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายถวิล ไพรสณฑ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายเจริญ คันธวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 มีรัฐมนตรีขอลาออก ดังนี้
- พลตรี จำลอง ศรีเมือง ขอลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
- นางพิมพ์พา จันทร์ประสงค์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายกระแส ชนะวงศ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายสมุทร มงคลกิติ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอุดร ตันติสุนทร ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสฤต สันติเมทนีดล ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายถวิล ไพรสณฑ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ผลการดำเนินงานของรัฐบาลแก้ไข
- รัฐบาลนายชวน หลักภัย (ครม.50) ได้ริ่มเริ่มดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535 และได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-สนามบินหนองงูเห่า-ระยอง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2537[3]
- โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ตามมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2536 เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจนในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ได้มีแหล่งเงินทุนในระดับหมู่บ้าน สำหรับยืมไปประกอบอาชีพ หรือขยายกิจการอาชีพของตน เพื่อเพิ่มรายได้ให้พ้นเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยสนับสนุนงบประมาณจัดตั้งเป็นเงินตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับหมู่บ้าน ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีแก้ไข
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ภายหลังการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกรณีการแจกเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01 พรรคพลังธรรมถอนตัวออกจากการร่วมเป็นรัฐบาล ทำให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีตัดสินใจที่จะตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งมีการตีความกันว่าป็นการรับผิดชอบที่ฝ่ายค้านโจมตีนโยบายการปฏิรูปที่ดินในเรื่องการแจก ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่พวกพ้องและเศรษฐี [4]
คณะรัฐมนตรีคณะนี้จึงสิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538[5] ต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ทำให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารงานอยู่ ต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-สนามบินหนองงูเห่า-ระยอง พ.ศ. 2539 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ↑ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. "2.4.2 ประชาธิปไตยของไทยยุคปฏิรูปการเมือง (พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา)". ประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552. หน้า 100. ISBN 974-645-258-4
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538