พรเทพ เตชะไพบูลย์
ดร.พรเทพ เตชะไพบูลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พรเทพ เตชะไพบูลย์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | นายชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 (67 ปี) กรุงเทพ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ (หย่า) ปภัสรา เตชะไพบูลย์ |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
ดร.พรเทพ เตชะไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของนายสุเมธ กับนางรังสี เตชะไพบูลย์[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโทในสาขาเดียวกัน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้านชีวิตครอบครัว ดร.พรเทพ เตชะไพบูลย์ เคยสมรสกับศรีสกุล พร้อมพันธุ์ (ภรรยาคนปัจจุบันของสุเทพ เทือกสุบรรณ) น้องสาวของนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ มีบุตร 3 คนคือ สิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ และ ธีราภา พร้อมพันธุ์[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้สมรสใหม่กับปภัสรา เตชะไพบูลย์ มีบุตรสาว 1 คนคือ ดิสรยา เตชะไพบูลย์
การทำงานแก้ไข
ดร.พรเทพ เตชะไพบูลย์ เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี พ.ศ. 2529 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งหลายสมัย ต่อมาได้รับตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2532 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย[3] เมื่อปี พ.ศ. 2538 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในยุครัฐบาลชวน2 กระทั่งปี พ.ศ. 2547 จึงได้ย้ายไปสังกัดพรรคมหาชน และพรรครวมชาติพัฒนา ในปี พ.ศ. 2550
ในปี พ.ศ. 2552 ดร.พรเทพ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลส่วนตัวว่าต้องดูแลบุตรชายที่ป่วย[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ปรับ16เก้าอี้-หลุด9รอโปรดเกล้าฯครม.'ยิ่งลักษณ์2จตุพร'ทำใจรอคิวพร้อมบ้านเลขที่111บรรหารขอบคุณ'ปู'ไม่แตะก.เกษตร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)