สุเทพ อัตถากร (เกิด 17 ตุลาคม พ.ศ. 2480) อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร

สุเทพ อัตถากร
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าเกษม สุวรรณกุล
ถัดไปกระแส ชนะวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 ตุลาคม พ.ศ. 2480 (87 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ประวัติ

แก้

สุเทพ อัตถากร เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2480 ที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายทองม้วน อัตถากร กับนางทองมาก อัตถากร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2505 และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก ในปี พ.ศ. 2511

งานการเมือง

แก้

นายสุเทพ อัตถากร เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคความหวังใหม่[1]

สุเทพ อัตถากร เคยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ชวน 1) เมื่อปี พ.ศ. 2535[2]

สุเทพ อัตถากร เคยเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเคยขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มดังกล่าว[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-06-01.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  3. ""สุเทพ" จวก รบ."หุ่นเชิด" เหิมเกริม คิดการใหญ่ ปลุก ปชช.สู้ไม่ถอย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-06-01.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
ก่อนหน้า สุเทพ อัตถากร ถัดไป
เกษม สุวรรณกุล   รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
(29 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537)
  กระแส ชนะวงศ์