เกษม สุวรรณกุล
ศาสตราจารย์กิตติคุณ เกษม สุวรรณกุล (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2473) กรรมการกฤษฎีกา[1] เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีและอดีตนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรังสิต[2]
เกษม สุวรรณกุล | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 104 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | ทวิช กลิ่นประทุม |
ถัดไป | สุเทพ อัตถากร |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2520 – 2 มกราคม พ.ศ. 2532 (11 ปี 212 วัน) | |
ก่อนหน้า | เติมศักดิ์ กฤษณามระ |
ถัดไป | จรัส สุวรรณเวลา |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกสภามหาวิทยาลัยรังสิต | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | กำธน สินธวานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มีนาคม พ.ศ. 2473 อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย |
คู่สมรส | พิศมัย สุวรรณกุล |
ประวัติ
แก้เกษม สุวรรณกุล เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2473 ที่ตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สำเร็จการศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2494 (รุ่นที่ 1) โดยสอบได้เป็นอันดับที่ 1 ของรุ่น
การทำงาน
แก้เกษม สุวรรณกุล เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2495 จากการชักชวนของศาสตราจารย์ เกษม อุทยานิน คณบดีคณะรัฐศาสตร์ในขณะนั้น หลังจากเป็นอาจารย์ได้เพียงปีเศษ สามารถสอบชิงทุนฟูลไบรท์ ไปศึกษาต่อวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาโทกลับมาสอนหนังสือได้อีก 1 ปี ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับทุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ภายหลังได้รับปริญญาเอกทางการบริหารและการปกครอง จึงกลับมาปฏิบัติหน้าที่ที่คณะรัฐศาสตร์อีกครั้ง ในขณะเดียวกันได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการนักบริหารสำนักงานเลขาธิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปี พ.ศ. 2513 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงปี พ.ศ. 2517 ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ดำรงตำแหน่งอีก 4 สมัย จนถึงปี พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาที่เป็นอธิการบดีทั้งสิ้น 11 ปี 7 เดือน ซึ่งในขณะที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้มีผลงานสำคัญ อาทิ การผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 ขึ้นแทนพระราชบัญญัติฉบับเดิมซึ่งใช้มากว่า 30 ปีแล้ว การก่อตั้งศูนย์เครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อปี พ.ศ. 2522 การก่อตั้งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2524 การจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2526 และการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนาธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2538 เป็นต้น
เกษม สุวรรณกุล ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญ อาทิ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย 6 สมัย[4] [5][6][7][8] แต่มีครั้งหนึ่งยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย คือในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.35)[9] เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[10] เป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย (พ.ศ. 2532-2534) เป็นประธานกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นวุฒิสมาชิก (พ.ศ. 2526-2531) นายกสภามหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง และยังเป็นกรรมการในคณะกรรมการในคณะกรรมการชุดต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก
แม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล ยังมีบทบาทสำคัญในหลายตำแหน่ง เช่น เป็นวุฒิสมาชิก[11] ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ 9 มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นประธานกรรมการ กรรมการและที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรภาคเอกชนอีกหลายแห่ง อาทิ ประธานกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) (กฎหมายการศึกษา) โดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ถึงปัจจุบัน ประธาน อ.ก.พ.พัฒนาข้าราชการ กรรมการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประธานกรรมการโครงการคนไทยตัวอย่างของมูลนิธิธารน้ำใจ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เป็นต้น
ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 ระหว่าง 29 มกราคม พ.ศ. 2544 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545[12]
ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน
ผลงานดีเด่น
แก้เกษม สุวรรณกุล ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (ด้านการศึกษา) จากคณะกรรมการคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ และได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เกษม สุวรรณกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ออสเตรีย:
- พ.ศ. 2529 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 2[18]
- ญี่ปุ่น:
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1
- ฝรั่งเศส:
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา
- ↑ ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-25.
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ ราชกิจจานุบเกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๘ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๔
- ↑ ศิษย์เก่าดีเด่น : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๕๔, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ชีวประวัติ เกษม สุวรรณกุล เก็บถาวร 2021-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | เกษม สุวรรณกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อรุณ สรเทศน์ | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (ครม.34-35) (30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2518) |
พลโท ชาญ อังศุโชติ | ||
วิมลศิริ ชำนาญเวช | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (ครม.40) (12 พฤษจิกายน พ.ศ. 2520 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521) |
ล้มเลิกตำแหน่ง | ||
สถาปนาตำแหน่ง | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (ครม.41-42) (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2526) |
ปรีดา พัฒนถาบุตร | ||
ยิ่งพันธ์ มนะสิการ | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (ครม.47) (6 มีนาคม พ.ศ. 2534 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2535) |
ทวิช กลิ่นประทุม | ||
ทวิช กลิ่นประทุม | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (ครม.49) (10 มิถุนายน - 22 กันยายน พ.ศ. 2535) |
สุเทพ อัตถากร | ||
ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (4 มิถุนายน พ.ศ. 2520 - 2 มกราคม พ.ศ. 2532) |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา | ||
เกษม วัฒนชัย (สมัยที่ 1) |
นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 8 (29 มกราคม พ.ศ. 2544 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545) |
เกษม วัฒนชัย (สมัยที่ 2) |