คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2527 นับเป็นคณะที่ 15 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากด้านการสอนแล้ว คณะศิลปกรรมศาสตร์ยังทำหน้าที่วิจัย บุกเบิก และพัฒนาวิชาการด้านศิลปกรรม รวมทั้งทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Fine and Applied Arts,
Chulalongkorn University
สถาปนา2 มีนาคม พ.ศ. 2527; 40 ปีก่อน (2527-03-02)
คณบดีศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์
ที่อยู่
วารสารวารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์
(J. Fine Arts)
เพลงไฟศิลปิน
สี███ สีแดงเลือดนก
มาสคอต
ตุ๊กแก
เว็บไซต์faa.chula.ac.th
อาคารศิลปกรรม 1 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของไทยในสาขาศิลปะและการออกแบบ ( อันดับที่ 151 - 200 ของโลก และเป็นแห่งเดียวที่ติดอันดับ) จากการจัดอันดับของ QS world university ranking by Subject[1]

ประวัติ[2] แก้

  • พ.ศ. 2514 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอโครงการ "ศิลปกรรมศาสตร์" ครั้งแรกในการสัมมนาหัวหน้าแผนกวิชาเรื่อง "การพัฒนาการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุขุม ศรีธัญญรัตน์ เป็นประธาน ได้เสนอในที่ประชุมให้ทราบในหลักการบางตอนว่า "โครงการที่เป็นโครงการใหม่ก็คือการพิจารณาจัดตั้งหน่วยวิชาการทางศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นในปี 2517 และการศึกษาข้อมูลเพื่อที่จะดำเนินการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นในแผนพัฒนาระยะที่ 4 ซึ่งจะเริ่มปีการศึกษา 2519 เป็นต้นไป ทั้งสองเรื่องนี้ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและเล็งเห็นการณ์ไกล คำว่าศิลปกรรมศาสตร์ที่ใช้นี้ เราหมายถึง Fine and Applied Arts ซึ่งมีคำแปลแยกกันที่ยังหาคำไทยเหมาะสมมาแปลร่วมกันมิได้ จึงขอใช้คำว่าศิลปกรรมศาสตร์ไปพลางก่อน หน่วยงานวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์นี้อาจครอบคลุมวิชาการทุกสาขาด้านศิลปะอย่างสมบูรณ์ เช่น วิจิตรศิลป์ เนรมิตศิลป์ ศิลปทฤษฎี หรือ ดุริยางค์ และศิลปการแสดง เป็นต้น ในจุดที่ดูเหมือนจะเป็นช่องว่างของมหาวิทยาลัยของเราตลอดเวลาคือ เรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ รสนิยม และสุนทรียะ หน่วยงานใหม่ของเรานี้จะประสานงานและเกื้อกูลซึ่งกันและกันกับหน่วยวิชาการเดิมของเราอย่างไร"
  • พ.ศ. 2517 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการศิลปกรรมศาสตร์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นกรรมการที่ปรึกษา โครงการได้รับการพิจารณาให้อยู่ในแผนพัฒนาระยะที่ 4 พ.ศ. 2520–2525 สมัยของศาสตราจารย์ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เป็นอธิการบดี โดยหลักการให้จัดตั้งเป็น "คณะศิลปกรรมศาสตร์" ประกอบด้วย 5 ภาควิชาคือ ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ศิลปการละคร และวรรณศิลป์ ต่อมาคณะกรรมการได้พิจารณาให้ยุบเหลือเพียง 4 ภาควิชาคือ ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และนาฏยศิลป์
  • พ.ศ. 2526 เปิดทำการเรียนการสอนปีการศึกษา 2526 เป็นปีแรก โดยเปิดเพียง 2 ภาควิชาคือ ภาควิชาทัศนศิลป์และภาควิชาดุริยางคศิลป์ ต่อมา ปีการศึกษา 2528 เปิดรับนิสิตภาควิชานฤมิตศิลป์ และปีการศึกษา 2531 เปิดรับนิสิตภาควิชานาฏยศิลป์ตามลำดับ.

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • พระบรมวงศานุวงศ์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]

หน่วยงานและหลักสูตร แก้


หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาทัศนศิลป์ เก็บถาวร 2007-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

-

-

ภาควิชานฤมิตศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเรขศิลป์
  • สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ

-

ภาควิชาดุริยางคศิลป์ เก็บถาวร 2007-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต[4]

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการประพันธ์เพลง

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย

-

ภาควิชานาฏยศิลป์ เก็บถาวร 2007-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย

อ้างอิง แก้

  1. https://www.topuniversities.com/university-rankings/university-subject-rankings/2017/art-design
  2. www.faa.chula.ac.th/site/index.php?option=com_content&view=article&id=58&Itemid=61
  3. www.cca.chula.ac.th/protocol/graduation-ceremony/34-graduation2551.html
  4. www.faa.chula.ac.th https://www.faa.chula.ac.th/department/show/56. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้