เติมศักดิ์ กฤษณามระ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานราชินีมูลนิธิ

เติมศักดิ์ กฤษณามระ
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2520
(1 ปี 365 วัน)
ก่อนหน้าศ.ดร.อรุณ สรเทศน์
ถัดไปศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2470 (97 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางสายจิตร กฤษณามระ (ณ สงขลา)

ประวัติ

แก้

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2470 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตของศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคุณหญิงศรี ไชยยศสมบัติ สมรสกับนางสายจิตร กฤษณามระ (ณ สงขลา) (ถึงแก่อนิจกรรม) บุตรีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) กับท่านผู้หญิงน้อม ศรีธรรมาธิเบศ มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน

การศึกษา

แก้

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[1] จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา Commerce ที่สหราชอาณาจักร จากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกที่ The Institute of Chartered Accountants และ The Institute of Chartered Accountants ที่สหราชอาณาจักรเช่นกัน

การทำงาน

แก้

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เริ่มรับราชการตำแหน่งอาจารย์ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ทางวิชาการบัญชีในปี พ.ศ. 2510 และได้ดำรงตำแหน่งคณบดีเมื่อ พ.ศ. 2514 นอกจากนั้นยังได้รับหน้าที่สำคัญหลายตำแหน่งในการบริหารมหาวิทยาลัย คือ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน และได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี จาก พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2520 ต่อมาได้ลาออกจากราชการเป็นข้าราชการบำนาญเมื่อ พ.ศ. 2520 แต่ทางจุฬาฯได้ขอให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษาเมื่อ พ.ศ. 2521 และได้ขอให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2525 และ ในปี พ.ศ. 2530 ได้ขอพระบรมราชานุญาตพระราชทานชื่อของ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น “สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ” และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบันนี้

เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]

เกียรติคุณที่ได้รับการยกย่อง

แก้
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2529
  • ปริญญาบัญชีดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530
  • นิสิตเก่าเกียรติยศ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551
  • ปูชนียาจารย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554

กิจกรรมพิเศษอื่น ๆ

แก้
  • กรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
  • กรรมการธนาคารศรีนคร
  • กรรมการธนาคารมหานคร
  • กรรมการสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานกรรมการราชินีมูลนิธิ
  • นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย
  • เหรัญญิกมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี
  • ประธานมูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา
  • ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ บริษัท กรุงกวี จำกัด
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตบริษัทดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. รายนามนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษารุ่น 6 จำนวน 59 คน[ลิงก์เสีย]
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๓ ง หน้า ๒๒๔๖, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


ก่อนหน้า เติมศักดิ์ กฤษณามระ ถัดไป
ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์    
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2520)
  ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.
เกษม สุวรรณกุล