อรุณ สรเทศน์
ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อรุณ สรเทศน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (0 ปี 218 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | บุญรอด บิณฑสันต์ |
ถัดไป | เกษม สุวรรณกุล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 (0 ปี 260 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | โอสถ โกศิน |
ถัดไป | นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2514 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (3 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.แถบ นีละนิธิ |
ถัดไป | ศ.เติมศักดิ์ กฤษณามระ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2457 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2537 (อายุ 80 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิง วรรณพิมล สรเทศน์ |
ประวัติ
แก้อรุณ สรเทศน์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2457 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (โยธา) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2480 และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (สุขาภิบาล) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (โยธา) และปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับท่านผู้หญิง วรรณพิมล สรเทศน์
การทำงาน
แก้อรุณ สรเทศน์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2518[1][2] ต่อมาในรัฐบาลของศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ชุดที่ 2 นอกจากนั้นยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการร่วม บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[7]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สาธารณรัฐจีน :
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 1
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม ๘๘, ตอน ๘๓ ง ฉบับพิเศษ, ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๔, หน้า ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม ๙๐, ตอน ๙๒ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๖, หน้า ๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๘, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้