มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษ: Walailak University; อักษรย่อ: มวล. – WU[2]) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535[3] มีรูปแบบเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) พระราชทานชื่ออันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัย (Residential University) ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ และได้รับการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2021 จากจำนวน 959 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมทั่วโลก ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ เป็นอันดับ 1 "มหาวิทยาลัยสีเขียว" ของภาคใต้[4]
Walailak University | |
![]() | |
ชื่อเดิม | วิทยาลัยนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
---|---|
ชื่อย่อ | มวล. / WU |
คติพจน์ | เป็นองค์กรธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล (Gateway to Achivement) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 1,777,151,000 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ธีระชัย เชมนะสิริ |
อธิการบดี | ศาสตราจารย์ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ |
อาจารย์ | 615 คน (พ.ศ. 2567) |
บุคลากรทั้งหมด | 2,853 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 12,874 คน (พ.ศ. 2567) |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | พื้นที่และศูนย์การศึกษา 3
|
ต้นไม้ | ประดู่ |
สี | สีแสด–สีม่วง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
![]() |
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล เกิดขึ้นจากชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2510 กระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 ให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคต ซึงต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้ยกเลิกมติเดิม และอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ว่า มหาวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535 ทางมหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญอักษรพระนาม จ.ภ. เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย และเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2536 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสำนักงานอธิการบดี และหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2539 รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ต่อมาวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานชื่อ อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าดำเนินงาน ณ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และเปิดการเรียนการสอนวันแรกในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
สัญลักษณ์
แก้ตราประจำมหาวิทยาลัย
แก้เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ จภ ภายใต้จุลมงกุฎซึ่งเป็นตราพระนามในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประดิษฐานที่กึ่งกลาง อักษร จ เป็นสีแสด และอักขระ ภ เป็นสีขาว มีพื้นสีม่วงรองรับและมีแพรแถบพื้นสีขาวขอบสีทองรองรับอยู่เบื้องล่างพร้อมอักษรสีม่วง คำว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประดับอยู่ภายในแพรแถบ โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์มาเป็นตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536
สีประจำมหาวิทยาลัย
แก้สีแสด เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
สีม่วง เป็นสีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสีประจำพระรัตนธัชมุนี เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ และผู้อำนวยการการจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลปัตตานี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยชาวนครศรีธรรมราชนับถือและยกย่องว่าเป็นผู้จัดการศึกษาสมัยใหม่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
แก้ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นประดู่ (Pterocarpus indicus) ส่วนมากพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ เป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกให้ร่มเงาในเมืองนครศรีธรรมราช เคยปลูกบริเวณศาลาหน้าจวนเจ้าเมือง ซึ่งรู้จักกันในนาม ศาลาประดู่หก
อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
แก้อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตมีความรู้คู่การปฏิบัติ อุตสาหะสู้งาน เก่งด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี มีคุณธรรม (Walailak graduates have practical intelligence, adversary quotient, liberal arts perspective and technology competence, all integrated with high moral.)
ความรู้คู่การปฏิบัติ (Practical Intelligence) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ที่เป็นเชิงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุตสาหะสู้งาน (Adversary quotient) หมายถึง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ในทุกสถานการณ์ที่บัณฑิตต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัว หรือในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอุตสาหะสู้งานเป็นคุณลักษณะที่จะนำพาบัณฑิตไปสู่ความสำเร็จได้ทั้งในฐานะที่เป็นผู้นำและสมาชิกกลุ่ม
เก่งด้านศิลปศาสตร์ (Liberal arts perspective) หมายถึง การเห็นคุณค่าของมนุษย์ การมีจิตใจอ่อนโยน มีความรอบรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ มีความเข้าใจผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร เข้าใจและยอมรับในสังคมที่มีความหลากหลาย และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
เก่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and technology competence) หมายถึง ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าใจและรู้ทันพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่
มีคุณธรรม (all integrated with moral) หมายถึง ความสามารถทุกด้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นจะต้องมีการบูรณาการร่วมกับคุณธรรมและศีลธรรมอันดีงาม บันฑิตจึงจะเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ เป็นศึกษิต แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
แก้เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ อุทยานการศึกษาแห่งอาเซียน (Education Park of ASEAN)
อุทยานการศึกษา (Education Park) หมายถึง แหล่งรวมขององค์ความรู้ที่ผู้แสวงหาความรู้ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ตามอัธยาศัย โดยเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้
แห่งประชาคมอาเซียน (of ASEAN) หมายถึง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ซึ่งสามารถเป็นมหาวิทยาลัยของอาเซียนได้ด้วย องค์ความรู้ใดที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้กับทั้งสังคมไทยและประชาคมอาเซียน ในอนาคตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์คงจะได้สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้น และเป็นการดำเนินแนวทางตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
นายกสภามหาวิทยาลัย
แก้ทำเนียบนายกสภา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
1. | ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล | 8 เมษายน พ.ศ. 2535 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2536 | |
2. | นายสุเทพ อัตถากร | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2536 | 7 เมษายน พ.ศ. 2537 | |
ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล | 18 กันยายน พ.ศ. 2537 | 26 มีนาคม พ.ศ. 2541 | ||
27 มีนาคม พ.ศ. 2541 | 4 มกราคม พ.ศ. 2545 | |||
3. | ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา | 5 มกราคม พ.ศ. 2545 | 4 มกราคม พ.ศ. 2548 | [5] |
5 มกราคม พ.ศ. 2548 | 27 มกราคม พ.ศ. 2551 | [6] | ||
4. | ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน | 28 มกราคม พ.ศ. 2551 | 27 มกราคม พ.ศ. 2554 | [7] |
28 มกราคม พ.ศ. 2554 | 12 มกราคม พ.ศ. 2558 | [8] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2558 | 12 มกราคม พ.ศ. 2561 | [9] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2561 | 12 มกราคม พ.ศ. 2564 | [10] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2564 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | [11] | ||
5. | นายธีระชัย เชมนะสิริ | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 12 มกราคม พ.ศ. 2567 | [12] |
19 มีนาคม พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | [13] |
อธิการบดี
แก้ทำเนียบอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
1. | ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | รักษาการ |
2. | รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์ | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | 18 เมษายน พ.ศ. 2542 | รักษาการ |
3. | ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช | 19 เมษายน พ.ศ. 2542 | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2542 | รักษาการ |
4. | ศ.ดร.นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2542 | 30 กันยายน พ.ศ. 2545 | [14] |
5. | ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 | [15] |
6. | รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล | 1 มกราคม พ.ศ. 2550 | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | รักษาการ |
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | [16] | ||
7. | ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | รักษาการ |
16 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | 8 มกราคม พ.ศ. 2558 | [17] | ||
8. | ดร.สุเมธ แย้มนุ่น | 9 มกราคม พ.ศ. 2558 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | รักษาการ |
9. | ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | รักษาการ |
10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | [18] | ||
10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567 | รักษาการ | ||
30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | [19] |
สำนักวิชาการศึกษา
แก้
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพแก้
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก้
กลุ่มสังคมศาสตร์แก้
กลุ่มหลักสูตรนานาชาติแก้
|
ระดับบัณฑิตศึกษาแก้สถาบันแก้สถาบันสมทบแก้อื่น ๆแก้
|
การก่อตั้งสำนักวิชา
แก้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||
---|---|---|
ปีการศึกษา | สำนักวิชา | หมายเหตุ |
2535 |
|
|
2549 |
|
|
2550 |
|
|
2551 |
|
|
2559 |
|
|
2560 |
|
|
2561 |
|
|
2562 |
|
|
2565 |
|
|
2568 |
|
โรงพยาบาล
แก้โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
โรงพยาบาล | ก่อตั้ง | ผู้อำนวยการ | หมายเหตุ | ||
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University Hospital) |
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 | 1. นพ.จรัส จันทร์ตระกูล (พ.ศ. 2560 − พ.ศ. 2561) 2. นพ.ธีระพันธ์ สงนุ้ย (พ.ศ. 2561 − พ.ศ. 2562) |
WUH | ||
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (Applied Thai Traditional Medicine Hospital, SMD, WU) |
15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 1. ผศ.ดร.กิ่งกาญจน์ บรรลือพืช (พ.ศ. 2564 − พ.ศ. 2565) 2. ผศ.คมกริช เอี้ยวสกุล (พ.ศ. 2565 − พ.ศ. 2567) |
ATTMWUH | ||
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University Animal Hospital) - โรงพยาบาลสัตว์เล็ก วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
29 มีนาคม พ.ศ. 2561 | 1. ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ (พ.ศ. 2561 − พ.ศ. 2561) 2. น.สพ.รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์ (พ.ศ. 2561 − พ.ศ. 2562) |
WUAH |
พื้นที่มหาวิทยาลัย
แก้พื้นที่นครศรีธรรมราช
แก้ที่ตั้ง : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เลขที่ 222 ถนนมหาวิทยาลัย หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
อาณาเขต
แก้- หมู่ที่ 2 ตำบลโพธิ์ทอง
- หมู่ที่ 2, 3, 6, 8 และหมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี
- หมู่ที่ 1, 5, 6 และหมู่ที่ 9 ตำบลหัวตะพาน
กลุ่มอาคาร
แก้- เขตการศึกษา
- กลุ่มอาคารบริหาร (Zone A) ได้แก่ อาคารศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน (อาคารบริหาร) อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา (ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา) อาคารคอมพิวเตอร์ (ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล) อาคารวิจัยและบริการวิชาการ (ศูนย์บริการวิชาการ) อาคารปฏิบัติการศูนย์วิจัยความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารปฏิบัติการศูนย์วิจัยความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และอาคารปฏิบัติการศูนย์วิจัยความเป็นเลิศทางด้านสังคม
- กลุ่มอาคารเครื่องมือ (Zone B) ได้แก่ อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 (B2) อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 (B3) อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 (B5) อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 (B6) อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7 (B7) อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8 (B8) อาคารกายวิภาคศาสตร์ 1 อาคารกายวิภาคศาสตร์ 2 และอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม (อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
- กลุ่มอาคารวิชาการ (Zone C) ได้แก่ อาคารวิชาการ 1 (C1) อาคารวิชาการ 2 (C2) อาคารวิชาการ 3 (C3) อาคารวิชาการ 4 (C4) อาคารวิชาการ 5 (C5) อาคารวิชาการ 6 (C6) อาคารวิชาการ 7 (C7) อาคารวิชาการ 8 (C8) และอาคารวิชาการ 9 (C9) อาคารวิชาการ 10 (C10) อาคารหอดูดาว อาคารปฏิบัติการอาหาร (ศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหาร) และอาคารส่วนอาคารสถานที่
- กลุ่มอาคารเรียนรวม (Zone D) ได้แก่ อาคารไทยบุรี อาคารเรียนรวม 1 (สีชมพู) อาคารเรียนรวม 3 (สีเขียว) อาคารเรียนรวม 5 (สีฟ้า) อาคารศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (อาคารเรียนรวม 6 (ST)) อาคารเรียนรวม 7 (สีเหลือง) อาคารปฏิบัติการสถาปัตยกรรมและการออกแบบ (AD) อาคารปฏิบัติการสารสนเทศศาสตร์ (IS) และอาคารสหกิจศึกษา (ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ)
- เขตการแพทย์
- กลุ่มอาคารโรงพยาบาล ได้แก่ อาคารจุฬาภรณเวชวัฒน์ (อาคาร A) อาคารโรงพยาบาล 1 (อาคาร B) อาคารโรงพยาบาล 2 (อาคาร C) อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์ (อาคาร D) อาคารพลังงาน (อาคาร F) และอาคารสงฆ์อาพาธศรีธรรมราชา
- กลุ่มอาคารประกอบ ได้แก่ อาคารโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อาคารโรงพยาบาลสัตว์เล็ก อาคารสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ อาคารทักษะทางคลินิกและสถานการณ์จำลองทางการแพทย์ และอาคารวิจัยระดับก้าวหน้า
- กลุ่มอาคารโรงพยาบาลสัตว์ ได้แก่ อาคารโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า (อาคารอายุรกรรมและศัลกรรมม้าและโค และอาคารศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์)
- กลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา ได้แก่ อาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ (อาคาร A) และอาคารหอพักนักศึกษาพยาบาล (อาคาร B)
- กลุ่มอาคารหอพักบุคลากร ได้แก่ อาคารหอพัก R1 อาคารหอพัก R2 อาคารหอพัก R3 อาคารหอพัก R4 อาคารหอพัก R5 อาคารหอพัก R6 หมู่บ้านบุคลากร และอาคารโรงผลิตน้ำประปา
- เขตการกีฬา
- กลุ่มอาคารกีฬา ได้แก่ อาคารวิทยาศาสตร์การกีฬา สนามกีฬากลางตุมปัง อาคารพลศึกษา อาคารสระว่ายน้ำ อาคารสนามฟุตซอล อาคารสนามแบดมินตัน สนามฟุตบอล สนามเทนนิส สนามกอล์ฟ และเมืองจราจรจำลอง
- กลุ่มอาคารวัฒนธรรม ได้แก่ อาคารแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ และโบราณสถานตุมปัง
- เขตพฤกษศาสตร์ ได้แก่ อาคารอุทยานพฤกษศาสตร์ อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ อาคารพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์มานิ อาคารบ้านพักรับรอง เรือนกระบองเพชร เรือนไม้เมืองหนาว เรือนกล้วยไม้ หอชมฟ้าและสถานเพาะพันธุ์สัตว์ป่า อาคารศูนย์เรียนรู้วิทยาศาสตร์และภูมิปัญญา และอาคารโรงผลิตน้ำประปา
- เขตเกษตรศาสตร์ ได้แก่ ศูนย์สมาร์ทฟาร์ม และสวนผลไม้
- เขตที่พักอาศัย
- กลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา ได้แก่ อาคารหอพักลักษณานิเวศ 1 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 2 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 3 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 4 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 5 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 7 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 10 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 11 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 13 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 14 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 16 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 17 อาคารหอพักลักษณานิเวศ 18 อาคารหอพัก WU Residence A อาคารหอพัก WU Residence B อาคารหอพัก WU Residence C อาคารกิจกรรมนักศึกษา ศูนย์อาหารช่อประดู่ และอาคารสนามแบดมินตัน
- กลุ่มอาคารหอพักบุคลากร ได้แก่ อาคารหอพักวลัยนิวาส 1 อาคารหอพักวลัยนิวาส 2 อาคารหอพักวลัยนิวาส 3 อาคารหอพักวลัยนิวาส 4 อาคารหอพักวลัยนิวาส 5 หมู่บ้านวลัยนิวาส 7 หมู่บ้านวลัยนิวาส 8 หมู่บ้านวลัยนิวาส 9 หมู่บ้านวลัยนิวาส 10 โรงแรมเรือนวลัย และอาคารส่วนบริการกลาง (สโมสรวลัยลักษณ์)
ระบบประตู
แก้ระบบประตูของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการก่อสร้างประตูเพื่อเข้าและออกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 8 ประตู ดังนี้
- ประตู 1 (วลัยคม) เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างถนนมหาวิทยาลัยกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ซึ่งเปิดตลอด 24 ชั่วโมง
- ประตู 2 (ชลานุสรณ์) เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างถนนหลังโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ กับถนนทางหลวงชนบทหมายเลข นศ.3027 ซึ่งเปิดตลอด 24 ชั่วโมง
- ประตู 3 (คลองดิน) เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างถนนบ้านคลองดิน-บ้านกลางกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4141 ซึ่งเปิดตลอด 24 ชั่วโมง
- ประตู 4 (ตลาดศุกร์) เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างถนนสามแยกสายตรวจ–คลองเกียบกับถนนวัดสโมสร–ชุมขลิง ซึ่งเปิดเวลา 06.00 – 20.00 น.
- ประตู 5 (ซอย 8) เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างถนนมหาวิทยาลัยกับถนนไทยบุรี–บ้านทุ่งชน ซึ่งเปิดตลอด 24 ชั่วโมง
- ประตู 6 (โคกเหล็ก) เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างถนนทางหลวงชนบทหมายเลข นศ.4107 กับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4140 ซึ่งเปิดตลอด 24 ชั่วโมง
- ประตู 7 (วลัยนิวาส) เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างถนนบ้านฉิมพลีกับถนนวัดสโมสร–ชุมขลิง ซึ่งเปิดเวลา 06.00 – 20.00 น.
- ประตู 8 (ปลักจอก) เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างถนนวัดพระอาสน์–ตุมปังกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4140 ซึ่งเปิดเวลา 06.00 – 20.00 น.
ระบบจราจร
แก้ระบบถนนและจราจรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ มหาวิทยาลัยได้ประกาศกำหนดชื่อถนนของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ดังนี้
- ถนนมหาวิทยาลัย เป็นถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยสายหลักแยกจากถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ตอนเลี่ยงเมืองท่าศาลา ช่วงสุราษฎร์ธานีทางทิศเหนือ ประมาณ 110 กิโลเมตร ช่วงนครศรีธรรมราชทางทิศใต้ประมาณ 28 กิโลเมตร เข้าสู่มหาวิทยาลัยทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่สองข้างทางได้จัดไว้เป็นที่ร่มรื่นให้ผู้ที่เข้ามาติดต่อได้ชื่นชมกับทัศนียภาพที่ดีในการเดินทางเข้าสู่เขตการศึกษา
- ถนนวิทยมรรคา เป็นถนนวงแหวนรอบใน มีความยาวทั้งสิ้น 3,154 เมตร เป็นถนนที่ใช้สัญจรภายในเขตการศึกษาทั้งหมดของมหาวิทยาลัย โดยจะผ่านกลุ่มอาคารต่าง ๆ ได้แก่ อาคารเรียนรวม อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารวิชาการ อาคารบริหาร เป็นต้น
- ถนนวลัยลักษณา เป็นถนนวงแหวนรอบนอก มีความยาวทั้งสิ้น 5,965 เมตร เป็นถนนที่ใช้สัญจรเชื่อมต่อระหว่างเขตการศึกษาและกลุ่มหอพักนักศึกษา และบ้านพักบุคลากรตลอดจนสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย และยังช่วยระบายความแออัดจากการจราจรจากถนนวงแหวนรอบใน
- ถนนสายอื่น ๆ ได้แก่ ถนนลักษณามรรคา ถนนวลัยชลเขต ถนนวลัยมรรคา ถนนวลัยตุมปัง ถนนวลัยพัฒนา และถนนวลัยวิทยา 1-4
ระบบขนส่ง
แก้ระบบขนส่งของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการนำรถไฟฟ้ามาใช้เป็นระบบขนส่งภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยมีเส้นทางการเดินรถไฟฟ้า ดังนี้
- สายสีเขียว ได้แก่ อาคารเรียนรวม 1, 3–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–โรงอาหารกิจกรรม–หอพักลักษณานิเวศ 1, 2, 3, 11, 13, 14–อาคารไทยบุรี–อาคารเรียนรวม 5, 7
- สายสีแดง ได้แก่ หอพักลักษณานิเวศ 16, 17, 18–หอพักลักษณานิเวศ 4, 5, 7, 10–โรงอาหารกิจกรรม–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–อาคารเรียนรวม 1, 3
- สายสีน้ำเงิน ได้แก่ อาคารไทยบุรี–อาคารเรียนรวม 5, 7–อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา–อาคารวิชาการ 1–อาคารวิชาการ 5–อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม–อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–อาคารเรียนรวม 1, 3–อาคารไทยบุรี
- สายสีฟ้า ได้แก่ อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา–อาคารเรียนรวม 5, 7–อาคารไทยบุรี–หอพักลักษณานิเวศ 1, 2, 3, 11, 13, 14–โรงอาหารกิจกรรม–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–อาคารเรียนรวม 1, 3–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สายสีเทา ได้แก่ โรงอาหารกิจกรรม–อาคารไทยบุรี–อาคารบริหาร–สวนวลัยลักษณ์–โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์–โรงแรมคุ้มสวัสดิ์–หน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- สายสีเหลือง ได้แก่ อาคารไทยบุรี–หอพักลักษณานิเวศ 1, 2, 3, 11, 13, 14–ศูนย์อาหารกลางคืน–โรงอาหารกิจกรรม–หอพักลักษณานิเวศ 4, 5, 7, 10–หอพักลักษณานิเวศ 16, 17, 18–สนามกีฬามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
พื้นที่สุราษฎร์ธานี
แก้ที่ตั้ง : ศูนย์วิทยบริการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขที่ 91/1 อาคารพีซีทาวเวอร์ ชั้น 8-9 หมู่ที่ 1 ถนนกาญจนวิถี ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
พื้นที่กรุงเทพมหานคร
แก้- ที่ตั้ง : หน่วยประสานงานกรุงเทพมหานคร เลขที่ 979/42-46 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
- ที่ตั้ง : วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ เลขที่ 87 อาคารวิทยาคาร 3 ถนนระนอง 2 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
- ที่ตั้ง : ศูนย์สุขภาพช่องปากขั้นสูง เลขที่ 73 อาคารวิทยาคาร 1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
กิจกรรมมหาวิทยาลัย
แก้ประดู่เกมส์
แก้มหกรรมการแข่งขันกีฬาสีภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ "ประดู่เกมส์" มีคณะสีประกอบด้วยสำนักวิชาต่าง ๆ ดังนี้[20]
- สีแดง : สูรย์ส่องหล้า ประกอบด้วย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาลัยนานาชาติ
- สีเหลือง : จันทราฉายแสง ประกอบด้วย สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์
- สีน้ำเงิน : นภากาศสำแดง ประกอบด้วย สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ และวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครรราชกุมารี
- สีเขียว : ไพรแผลงจำรูญ ประกอบด้วย สำนักวิชาการจัดการ และสำนักวิชาการบัญชีและการเงิน
- สีชมพู : นภศูรย์ศิริชัย ประกอบด้วย สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
- สีขาว : กฤษนัยเศวตศิลา ประกอบด้วย สำนักวิชานิติศาสตร์ สำนักวิชาครุศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
หน่วยงานภายใน
แก้สถาบันพี่น้อง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ เปิดผลประเมินประกันคุณภาพการศึกษา ปี‘63 "ม.วลัยลักษณ์" อยู่ในระดับดีมาก
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535
- ↑ ม.วลัยลักษณ์ ขึ้นอันดับ 1 ‘มหาวิทยาลัยสีเขียว’ ของภาคใต้ 2 ปีซ้อน
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายจรัส สุวรรณเวลา)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 2017-01-06.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายจรัส สุวรรณเวลา)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายธีระชัย เชมนะสิริ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายธีระชัย เชมนะสิริ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายนักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย)
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายสุพัทธ์ พู่ผกา)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 2017-01-06.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายไทย ทิพย์สุวรรณกุล)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายกีร์รัตน์ สงวนไทร)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
- ↑ ประดู่เกมส์