สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหนึ่งในสำนักวิชาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีคณบดีคนปัจจุบัน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนเทียร เสร็จกิจ
School of Engineering and Technology, Walailak University | |
ชื่อย่อ | SM |
---|---|
สถาปนา | พ.ศ. 2541[1] |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
คณบดี | มนเทียร เสร็จกิจ |
ที่อยู่ | |
เว็บไซต์ | engineer |
ประวัติ
แก้สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 โดยตั้งอยู่ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเปิดสอนระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา[1]
ทั้งนี้ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีรับสมัครนักศึกษาโควตาในจังหวัดภาคใต้ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมร่วมกับแฟ้มสะสมผลงาน หรือคะแนนสอบจากส่วนกลางเป็นเกณฑ์ในการตัดเลือก[2][3][4][5] รวมถึงรับพิจารณาผู้มีความสามารถทางด้านกีฬา ตามระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาจำนวนหนึ่ง[6]
หลักสูตร
แก้หลักสูตรสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||
---|---|---|
|
ความร่วมมือ
แก้เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[7]
ส่วนเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ทางผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ร่วมประชุมกับคณาจารย์หลักสูตรปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อหารือความร่วมมือในโครงการวิจัยร่วมกัน[8]
ผลงานระดับประเทศ
แก้สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลงานชนะเลิศการประกวดผลงานนักศึกษาสหกิจศึกษาดีเด่น ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ประเภทสหกิจศึกษานานาชาติ ประจำปี 2563 รวมถึงประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ประเภทนวัตกรรมสหกิจศึกษา ประจำปี 2564 ซึ่งผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับสิทธิ์เข้าประกวดระดับประเทศที่จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[9]
เมื่อ พ.ศ. 2564 ทีมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพได้คิดค้นชุดวัดความเค้นในไม้แบบต่อเนื่อง โดยได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา นับเป็นสิทธิบัตรฉบับแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[10]
และปีเดียวกันนี้ ทีมนักวิจัยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีได้ออกแบบฟอนต์ตัวอักษรไทยแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งช่วยประหยัดหมึกพิมพ์ได้ 30 เปอร์เซ็นต์[11] รวมถึงนักศึกษาจากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดสุดยอดปริญญานิพนธ์เหล็ก จากบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)[12][13]
การศึกษาดูงาน
แก้อาทิ เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 อาจารย์และนักศึกษาสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่[14]
สิ่งสืบทอด
แก้เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ให้การต้อนรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการศึกษาดูงาน ให้ความรู้ด้านกระบวนการผลิตวัสดุและพอลิเมอร์[15]
บุคคลสำคัญ
แก้- ผศ.ดร. อุเทน ทับทรวง – รองคณบดี ฝ่ายวิจัย[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 ความเป็นมา - สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- ↑ ม.วลัยลักษณ์รับโควตา 14 จังหวัดภาคใต้+ประจวบคีรีขันธ์ 2,251 ที่นั่ง - thailandinsidenew.com
- ↑ ม.วลัยลักษณ์ รับ TCAS รอบ 2 ภาคใต้ กว่า 2 พัน - คมชัดลึก
- ↑ “ม.วลัยลักษณ์” รับตรง “โควตารอบ 2” 2.4 พันที่นั่ง - สยามรัฐ
- ↑ ม.วลัยลักษณ์รับโควตา 2,251 ที่นั่ง - เดลินิวส์
- ↑ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี/หลักสูตรวิศวกรรมเคมี
- ↑ "พิธีลงนาม MOU ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
- ↑ "ปักหมุดความร่วมมือกับ 'ปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ ม.วลัยลักษณ์' ดึงศักยภาพสร้างงานวิจัยร่วมกัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
- ↑ "ผลการประกวดผลงานนักศึกษาสหกิจศึกษาดีเด่น วันสหกิจศึกษาสัมพันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
- ↑ ม.วลัยลักษณ์ คิดค้น 'ชุดวัดความเค้นในไม้แบบต่อเนื่อง' เพิ่มมูลค่าไม้
- ↑ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ – Digital Transformation - NSTDA
- ↑ นศ.วิศวะโยธา "ม.วลัยลักษณ์" คว้าแชมป์ SSI 4YE 2020 - สยามรัฐ
- ↑ น.ศ.วิศวะโยธา ‘ม.วลัยลักษณ์’ เจ๋ง แชมป์สุดยอดปริญญานิพนธ์เหล็ก
- ↑ "อาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
- ↑ คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรฯ ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- ↑ 09 ตุลาคม 2563 - Engineering Silpakorn - มหาวิทยาลัยศิลปากร