สุเมธ แย้มนุ่น

สุเมธ แย้มนุ่น (30 มีนาคม พ.ศ. 2494 —) เป็นอดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเป็นอดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัยพะเยา โดยเขาเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยแห่งนี้[1]

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554
ก่อนหน้า ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร
ถัดไป อภิชาติ จีระวุฒิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
คู่สมรส นางอาภรณ์ แย้มนุ่น
ศาสนา พุทธ
ลายมือชื่อ Sumet y2.jpg

การศึกษาแก้ไข

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขามัธยมศึกษา จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร) ระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและวิธีทางสถิติ และปริญญาเอก สาขาสถิติประยุกต์และวิธีวิจัย จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา

การรับราชการแก้ไข

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เริ่มรับราชการในตำแหน่ง นักวิชาการสอบ ระดับ 3 สังกัดกองการสอบ สำนักงาน ก.พ. เมื่อปี พ.ศ. 2519 ก่อนจะย้ายมาเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ทบวงมหาวิทยาลัย และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบริหาร ได้แก่

  • ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์
  • ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา
  • ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน
  • รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2546
  • เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)[2] (พ.ศ. 2550-2554)

ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2559 เขาถูกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่1/2559 ระงับการปฏิบัติราชการในตำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นการชั่วคราว[3]

ชีวิตส่วนตัวแก้ไข

สุเมธสมรสกับนางอาภรณ์ แย้มนุ่น อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีบุตร 1 คน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553, เล่ม 127, ตอนที่ 44 ก, หน้า 4, วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
  2. thaigov.go.th[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/002/4.PDF
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑๓, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔