กฤษณพงศ์ กีรติกร
กฤษณพงศ์ กีรติกร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน) ประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์[1]นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อดีตที่ปรึกษาโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) กรรมการกฤษฎีกา กรรมการในคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[3] และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กฤษณพงศ์ กีรติกร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช |
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
ก่อนหน้า | นางสาวจิรณี ตันติรัตนวงศ์ |
ถัดไป | ดร.สุเมธ แย้มนุ่น |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้กฤษณพงศ์ กีรติกร หรือ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นบุตรของนายเกรียง กีรติกร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ กับนางพวงเพ็ชร กีรติกร เคยได้รับรางวัลพระราชทาน เนื่องในการสอบได้เป็นที่ 1 ของประเทศไทย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 แล้วจึงไปศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักร เมื่อกลับมาประเทศไทยได้ดำรงตำแหน่งในหลายหน่วยงาน อาทิ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นพี่ชายต่างมารดาของ ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร อดีตผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
การศึกษา
แก้กฤษณพงศ์ กีรติกร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี B.Sc.First Class Hons. Electrical Engineering (เกียรตินิยมอันดับ 1) ในปี พ.ศ. 2511 และปริญญาเอกด้านวัสดุวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิศวกรรมไมโครเวฟ จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร
นอกจากนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ยังสำเร็จการศึกษาหลังปริญญาเอก ได้รับประกาศนียบัตรหลังปริญญาเอก Cert. Alternative Energy จาก มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้มอบปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกรอีกด้วย[4]
การทำงาน
แก้ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เริ่มรับราชการที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และได้เลื่อนตำแหน่งก้าวหน้าเรื่อยมา อาทิ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ประธานสายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณบดีคณะพลังงานและวัสดุ รักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นๆ นอกเหนือจากในมหาวิทยาลัยอีกหลายตำแหน่ง เช่น รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (พ.ศ. 2529 - 2541) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา[5] นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[6]
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร[7] และกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
แก้ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [8]
หลังการยึดอำนาจการปกครอง พ.ศ. 2557
แก้ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดร.กฤษณพงศ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการศึกษา และต่อมาเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ดร.กฤษณพงศ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทั่งพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558[9]
รางวัลที่เคยได้รับ
แก้- รางวัลผู้นำวิทยาศาสตร์พลังงานทางเลือกดีเด่นแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยี Solar PV [10]
- รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ประจำปี 2540
- ASEAN Science and Technology Meritorious Award (1996)
- Gold Medal (1969)
- George Young Bursary (1966), Grey, Law and Watt Scholarship (1971) of the University of Glasgow
- Royal Prize, awarded by HM the King for being the first in the National Examination of Secondary School Students (Science Program) (1965)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[14]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนา
- ↑ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ↑ กรรมการกฤษฎีกา กรรมการในคณะกรรมการควบคุม
- ↑ "ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รับปริญญา มทร.ธัญบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 2010-11-15.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (นายกฤษณพงศ์ กีรติกร)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
- ↑ "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ผู้นำวิทยาศาสตร์พลังงานทางเลือกดีเด่นแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๗๖๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ฐานข้อมูลเก็บถาวร 2008-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | กฤษณพงศ์ กีรติกร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นางสาวจิรณี ตันติรัตนวงศ์ (รักษาการ) |
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550) |
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น |