มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Lanna) เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐ ได้รับการยกฐานะขึ้นจากวิทยาเขต ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยชื่อ "ราชมงคล" นั้น ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" และ "พระราชลัญจกร" ประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
Rajamamgala University of Technology Lanna | |
ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา |
---|---|
ชื่อย่อ | มทร.ล. / RMUTL |
คติพจน์ | สร้างคนดี คนเก่ง สู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 18 มกราคม พ.ศ. 2548 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ | คณะวิชา |
งบประมาณ | 1,213,440,900 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ อุเทน คำน่าน (รักษาราชการแทน) |
อาจารย์ | 1,051 คน (พ.ศ. 2567) |
บุคลากรทั้งหมด | 2,081 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 15,345 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
ที่ตั้ง | เลขที่ 128 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
วิทยาเขต | พื้นที่การศึกษา |
ส่วเกี่ยวข้อง | |
สี | สีน้ำตาลทอง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภูมิภาคภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีการเรียนการสอน 5 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก
ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จะได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย ในระยะแรก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมเป็นประจำทุกปี ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่าง ๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"
ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล[3] ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548[4] ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้หลอมรวมเอาวิทยาเขต และสถาบันวิจัย จำนวน 7 แห่งเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย วิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาเขตน่าน วิทยาเขตตาก วิทยาเขตลำปาง วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตเชียงราย และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง ต่อจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย 4 คณะ 1 วิทยาลัย 4 สำนัก-สถาบัน และ 5 สำนักงานบริหารฯ (เขตพื้นที่)[5] โดยวิทยาเขตภาคพายัพ มีฐานะเป็นศูนย์กลางมหาวิทยาลัย ต่อมาสภามหาวิทยาลัย ได้มีมติให้จัดตั้งสำนักงานบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ ส่งผลให้ภาคพายัพ มีฐานะเป็นเขตพื้นที่เช่นเดียวกันกับเขตพื้นที่อื่น[6] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2557 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของเขตพื้นที่ภาคพายัพ ให้เป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยดังเดิม
สถานที่ตั้งและหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีสำนักงานอธิการบดี ตั้งอยู่เลขที่ 128 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
เขตพื้นที่
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีเขตพื้นที่จัดการเรียนการสอนตั้งอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ [7]
ศูนย์กลาง
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ส่วนกลาง) มีพื้นที่จัดการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ จำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่
- พื้นที่เจ็ดลิน ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองโบราณ "เวียงเจ็ดลิน" บนเนื้อที่ 115 ไร่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- พื้นที่เจ็ดยอด ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเจ็ดยอด ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (บริเวณติดกับวัดเจ็ดยอด) มีเนื้อที่ 10 ไร่ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน และที่ตั้งสำนักงานคณบดีของคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
- พื้นที่ดอยสะเก็ด ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เดิมของโครงการก่อสร้างโรงเรียนประจำพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ ปัจจุบันเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน และสำนักงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชน และสถาบันวิจัยและพัฒนา
- พื้นที่จอมทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ บนเนื้อที่ 590 ไร่ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับการขยายพื้นที่การเรียนการสอนจากพื้นที่เจ็ดลินที่มีความคับแคบ
เขตพื้นที่เชียงราย เป็นวิทยาเขตที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาสู่ท้องถิ่น[8] โดยมุ่งเน้นเป้าหมายในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และพื้นที่ เขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ตั้งอยู่ในเขตนิคมแม่ลาว ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย บนเนื้อที่ 5,000 ไร่ โดยในระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการฝากเรียนที่วิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ แล้วจึงย้ายมาเปิดทำการเรียนการสอนที่จังหวัดเชียงราย ในปีการศึกษา 2544 เป็นปีแรก
ปัจจุบันเขตพื้นที่เชียงราย เปิดทำการเรียนการสอน 3 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี ใน 3 คณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ รวมจำนวนนักศึกษา 1,439 คน[9]
เขตพื้นที่น่าน จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2481 ตั้งอยู่ที่ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดการเรียนการสอนเน้นด้านเกษตรศาสตร์เป็นหลัก ต่อมาจึงได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมน่าน ในปี พ.ศ. 2517 และโอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปีถัดมา
ปัจจุบันเปิดสอน 2 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี ใน 3 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มีจำนวนนักศึกษา 888 คน[9]
เขตพื้นที่ลำปาง เดิมคือ โรงเรียนเกษตรกรรมลำปาง ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 ตั้งอยู่ที่ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง บนเนื้อที่ 1,381 ไร่ (ใช้ร่วมกับสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง) จัดการเรียนการสอนด้านเกษตรศาสตร์ เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อ เกษตรแม่วัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้โอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาเขตลำปาง"
เขตพื้นที่ลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ตามถนนพหลโยธิน ประมาณ 16 กิโลเมตร มีความโดดเด่นในการจัดการศึกษาและการวิจัยด้านการเกษตร ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปัจจุบันเปิดทำการสอน 3 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ใน 3 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มีจำนวนนักศึกษา 765 คน[9]
ในอดีตคือโรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ตาก เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2481 โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนตากพิทยาคม เปิดสอนวิชาช่างไม้ชั้นต้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 จึงได้ย้ายสถานที่มายังที่ตั้งปัจจุบันบริเวณถนนพหลโยธิน ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ปัจจุบันเปิดทำการสอน 3 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี ในทุกคณะ มีจำนวนนักศึกษา 3,110 คน[9]
เขตพื้นที่พิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก" ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก บนเนื้อที่ 572 ไร่ จัดการเรียนการสอนด้านเกษตรกรรม และสัตวศาสตร์เป็นหลัก เป็นที่รู้จักในนาม เกษตรบ้านกร่าง[10]
ปัจจุบันเขตพื้นที่พิษณุโลก เปิดทำการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี ใน 3 คณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มีจำนวนักศึกษา 798 คน[9]
คณะ และวิทยาลัย
แก้
|
หน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษา
แก้
|
|
การเดินทางสู่มหาวิทยาลัย
แก้การเดินทางมาสู่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สำนักงานอธิการบดี) จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะ สถาบัน วิทยาลัย และส่วนราชการต่างๆ ในสังกัดมหาวิทยาลัยฯ
หากเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ตามถนนเชียงใหม่-ลำปาง จนสิ้นสุดที่ทางแยกรินคำ จากนั้นจึงเลี้ยวซ้ายตามถนนห้วยแก้ว ประมาณ 3 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งอยู่ขวามือ ตรงข้ามกับสวนรุกขชาติห้วยแก้ว เยื้องจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เล็กน้อย
สำหรับการเดินทางภายในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางได้ด้วยรถสี่ล้อแดง (รถสองแถว) รถแท๊กซี่ หรือรถโดยสารประจำทาง ดังนี้
- สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (ช้างเผือก) เดินทางได้โดยรถสองแถว
- สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 (อาเขต) เดินทางได้โดยรถประจำทางสาย B1 ขาไป (อาเขต-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นรถที่สถานีขนส่งอาเขต-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[12]
- สถานีรถไฟเชียงใหม่ เดินทางได้โดยรถประจำทางสาย B1 ขาไป (สถานีรถไฟ-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นรถที่สถานีรถไฟเชียงใหม่-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[12]
- ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เดินทางได้โดยรถประจำทางสาย B2 ขากลับ (ท่าอากาศยานเชียงใหม่-อาเขต) ขึ้นรถที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่-ลงที่วัดพระสิงห์ และเดินทางต่อโดยรถประจำทางสาย B1 (อาเขต-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นรถที่วัดพระสิงห์-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[12]
รายนามอธิการบดี
แก้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา | 28 มีนาคม พ.ศ. 2519 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2523 |
12 มิถุนายน พ.ศ. 2523 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2527 (วาระที่ 2) | |
2. ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2527 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2531 |
3. รองศาสตราจารย์ธรรมนูญ ฤทธิมณี | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2531 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2535 |
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
3. รองศาสตราจารย์ธรรมนูญ ฤทธิมณี | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2535 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2539 (วาระที่ 2) |
4. รองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ โชติสว่าง | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 |
5. รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
12 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (วาระที่ 2) | |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
6. นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552[13] |
15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556[14] (วาระที่ 2) | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพัฒน์ เชื้อไทย | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (รักษาราชการแทนอธิการบดี) |
7. รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพัฒน์ เชื้อไทย | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 24 เมษายน พ.ศ. 2561 (รักษาราชการแทนอธิการบดี) |
รองศาสตราจารย์ ศีลศิริ สง่าจิตร | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564 (ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี) |
ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (รักษาราชการแทน) |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 - มิถุนายน พ.ศ. 2567 (รักษาราชการแทน) |
รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน | มิถุนายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน (รักษาราชการแทน) |
บุคคลที่มีชื่อเสียง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
แก้ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- จรัล มโนเพ็ชร นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลพระสุวรรณหงส์ ศิลปินล้านนา (วิทยาเขตภาคพายัพ)
- นพพล พิทักษ์โล่พานิช ดารานักแสดง ช่อง 7 สี (วิทยาเขตภาคพายัพ)
- สุรพล เกียรติไชยากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยาเขตภาคพายัพ)
- ถาวร เกียรติไชยากร สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยาเขตภาคพายัพ)
- ประศาสตร์ ทองปากน้ำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย (วิทยาเขตพิษณุโลก)
- รุ่ง จันตาบุญ สถาปนิกผู้ออกแบบโรงแรมแมนดารินดาราเทวี และหอคำหลวง มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 (วิทยาเขตภาคพายัพ)
- ปรียากานต์ ใจกันทะ ชื่อเล่น ยิหวา นักแสดงหญิงชาวไทย สังกัดช่อง 3 (วิทยาเขตภาคพายัพ)
- ธีธัช จรรยาศิริกุล หรือ เต้ เดอะสตาร์ ตำแหน่ง รองแชมป์เดอะสตาร์ ปีที่ 10 (วิทยาเขตน่าน)
- สมศักดิ์ รินนายรักษ์ หรือ หนุ่ม เดอะวอยซ์ ผู้ชนะจากรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ เสียงจริง ตัวจริง ปีที่ 3 (วิทยาเขตเชียงราย)
- สมบัษร ถิระสาโรช (ตือ) ออแกไนซ์เซอร์ (วิทยาเขตภาคพายัพ)
การศึกษา
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งผลิต บัณฑิตนักปฏิบัติ โดยมีการเรียนการสอน 4 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท จำนวน 85 หลักสูตร ครอบคลุมสาขาวิชาในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม และวิศวกรรมศาสตร์ มีนักศึกษาในสังกัดคณะและวิทยาลัยต่าง ๆ รวมกว่า 18,594 คน[15]
การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ดังนี้
ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรี
แก้- ระบบโควตา[16] จะดำเนินการในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยแต่ละเขตพื้นที่จะดำเนินการรับสมัครเอง ซึ่งอาจจะมีการกำหนดคุณสมบัติการรับสมัคร วิธีการ และระยะเวลาในการคัดเลือกแตกต่างกัน
- ระบบโควตาผู้พิการ[17] มหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการรับสมัครบุคคลที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยฯ ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ และดำเนินการสอบในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี โดยผู้สมัครสามารถเลือกที่จะเข้าศึกษาในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ ได้ทั้ง 6 แห่ง
- ระบบรับตรง[18] มหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการรับสมัครบุคคลที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยฯ ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ และดำเนินการสอบในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี โดยผู้สมัครสามารถเลือกที่จะเข้าศึกษาในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ ได้ทั้ง 6 แห่ง
- ระบบ Admission กลาง[19] โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งการสมัครในระบบนี้จะมีเฉพาะระดับปริญญาตรีเท่านั้น
ระดับปริญญาโท
แก้การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จะดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกโดยตรง ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี[20]
กิจกรรมนักศึกษา
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ สู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี "ดีนำเก่ง" โดยมีการจัดกิจกรรมนักศึกษาครบทั้ง 5 ด้าน[21] คือ ด้านวิชาการ ด้านกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ ด้านบำเพ็ญประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านนันทนาการ และด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ
ค่ายราชมงคลล้านนาอาสาร่วมใจ เป็นโครงการค่ายอาสาพัฒนา ที่องค์การนักศึกษาร่วมกับสโมสรนักศึกษาทุกเขตพื้นที่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนจัดกิจกรรมในแต่ละจังหวัด และให้นักศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมกับองค์การนักศึกษา โดยในปีแรก พ.ศ. 2548 จัดโครงการสร้างอาคารเรียนที่ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงบ้านสพผาหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2549 จัดที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 ออกค่ายสร้างอาคารเรียนและระบบประปาหมู่บ้าน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรางวัลอินทิราคานธี อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่[22]
ราชมงคลล้านนา สืบสานวัฒนธรรม เป็นด้านศิลปวัฒนธรรมที่จัดเป็นประจำทุกปีการศึกษา ในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาทั้ง 6 เขตพื้นที่ ซึ่งจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ เริ่มกิจกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 ที่จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2551 ที่จังหวัดเชียงราย และ พ.ศ. 2552 ที่จังหวัดพิษณุโลก
กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาเขตพื้นที่ต่างๆ และคัดเลือกนักกีฬาเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับต่างๆ ซึ่งจะจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี
กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระดับประเทศของนักศึกษาจากทั้ง 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2552 จากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาดังกล่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เป็นครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 7 สมัย คือ ระหว่างปี 2549 - 2551[23][24][25] และปี 2554 - 2557
-
ค่ายราชมงคลล้านนาอาสาร่วมใจ
-
งานสืบสานวัฒนธรรม
-
มทร.ล้านนาครองถ้วยพระราชทานฯ 3 ปีซ้อน
องค์กรกิจกรรมนักศึกษา
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีองค์กรของนักศึกษาในระดับต่างๆ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[26] ได้แก่
- หน่วยดำเนินกิจกรรม
- องค์การนักศึกษา เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย (ทั้ง 6 เขตพื้นที่) มีนายกสโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ จำนวน 6 คน เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกองค์การนักศึกษา เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- สโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ มีนายกสโมสรนักศึกษาคณะในเขตพื้นที่ และผู้แทนนักศึกษา เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน
- หน่วยตรวจสอบ
- สภานักศึกษามหาวิทยาลัย และสภานักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นตัวแทนรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของนักศึกษา ควบคุม ตรวจสอบการบริหารงานและการดำเนินงานขององค์กรนักศึกษา (องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และชมรม) เป็นศูนย์กลางในการรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
องค์การนักศึกษา
แก้องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ แก้วแสนเมือง เป็นนายกองค์การนักศึกษาคนแรก และมีคณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นตัวแทนจากวิทยาเขตในสังกัด รวม 6 คน
การวิจัย
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีส่วนงานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งเพื่อเป็นสถาบันวิจัยในศาสตร์ต่างๆ ดังนี้
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ในการค้นคว้าวิจัยและให้บริการวิชาการด้านการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร การสร้างสิ่งประดิษฐ์ ฝึกทักษะวิชาชีพ ผลิตพันธุ์พืชที่ดีให้กับเกษตรกร รวมถึงการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางการเกษตร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 เดิมคือ "สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง" ปัจจุบันนอกจากการค้นคว้าวิจัยแล้ว ยังมีการจัดการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาพืชศาสตร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร[27] อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ จำนวน 20 เรื่อง และในระดับชาติ จำนวน 91 เรื่อง[28]
บุคคลที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น
แก้- ผศ.สุภาพรรณ สุตาคำ ศึกษาวิจัยได้พันธุ์ถั่วเหลือง "ราชมงคล 1 (รม.1)" ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552 ปัจจุบันได้ร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ สร้างกลุ่มเกษตรในพื้นที่อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย[29]
- ผลงานวิจัย "แคบหมูกึ่งสำเร็จรูปด้วยไมโครเวฟ" ของอาจารย์อรทัย บุญทะวงศ์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของ สกว. ปี 2551 และรางวัลประกาศเกียรติคุณเหรียญเงิน จากงาน SEOUL International Invention Fair 2008 ประเทศเกาหลี [30]
- ดร.ปัทมา ศิริปัญญา ค้นคว้าวิจัยพันธุ์ข้าวลูกผสม [31]
- รองศาสตราจารย์ ดร. พานิช อินต๊ะ ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2559 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์และได้รับรางวัลด้านงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติจำนวนมากกว่า 20 รางวัล เช่น รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีเด่น ระดับดีและประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ และประกาศเกียรติคุณ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย [32] ประจำปี 2554, 2556, 2557 และ 2558 ตามลำดับ รางวัลอาจารย์ ดีเด่น ประเภทสร้างชื่อเสียง ในโครงการ “คนดี เด่น ดัง วังเจ็ดลิน” ประจำปีการศึกษา 2553, 2554 และ 2556 ตามลำดับ รางวัลเหรียญทองและเหรียญทองแดงในการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นในงาน SIIF 2012 และ 2014 ตามลำดับ รางวัลผลเด่นของ สวทช. ในงาน NSTDA Investors’ Day 2012 และ 2017 รางวัลราชมงคลสรรเสริญ (เข็มเงิน) ประเภทอาจารย์ด้านวิจัย ปีการศึกษา 2557 และรางวัลเหรียญเงินและเหรียญทองในการประกวดผลงานการประดิษฐ์คิดค้นระดับนานาชาติในงาน International Exhibition of Inventions of Geneva ครั้งที่ 42 และ 43 ตามลำดับ
อันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2555 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.05 ผลการประเมินเท่ากับ "คุณภาพดี"[33]
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อยู่ในอันดับที่ 1,873 ของโลก อันดับที่ 68 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 25 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[34]
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
แก้ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ผู้บุกเบิกสถาบันฯ ได้กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาไว้ว่า
ล้นเกล้าฯ พระปิยมหาราช ปลดปล่อยทาสให้เป็นไทยฉันใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงปลดปล่อยนักเรียนอาชีวศึกษาจากที่ถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองให้เป็นไทฉันนั้น
นับจากปีแรกที่ได้เริ่มสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2518 และได้ดำเนินการเรียนการสอนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ผลิตบัณฑิตและมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาด้วยพระองค์เอง และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของวิทยาลัยอีกสามครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2533 รวมแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองจำนวน 4 ครั้ง
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตเป็นประจำทุกปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้น 9 แห่ง แต่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ยังคงจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งอื่น ๆ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตเป็นประจำทุกปี
ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนแปลงสถานที่รับพระราชทานปริญญาบัตร มาที่ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดเดิมจะมีการรับพระราชทานปริญญาบัตรในระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2564 แต่ถูกเลื่อนไป เนื่องจากมีการระบาดของเชื่อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในประเทศไทย จนกระทั่งกำหนดจัดพิธี ในวันที่ 16 สิงหาคม 2565
ในส่วนของผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2563 - 2564 กำหนดจัดพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร ในวันที่ 20 - 21 มีนาคม 2566 และปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
- ↑ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอน 74ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอน 6ก ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
- ↑ กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอน 118ก ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ครั้งที่ 22(10/2552)
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พ.ศ. 2549
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งวิทยาเขตสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 สรุปจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2566
- ↑ งานบ้านกร่างคืนรัง 55 ปี แผนกประชาสัมพันธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, เขตพื้นที่พิษณุโลก
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พ.ศ. 2550
- ↑ 12.0 12.1 12.2 "เปิดแผนที่ "รถเมล์เชียงใหม่"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-06-07.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ↑ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- ↑ การรับสมัครนักศึกษาประเภทโควตา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ↑ การรับสมัครนักศึกษาประเภทโควตาผู้พิการ
- ↑ การรับสมัครนักศึกษาประเภทรับตรง สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ↑ การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระบบกลาง สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ↑ การรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาโท
- ↑ โครงการขององค์การนักศึกษา เก็บถาวร 2010-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน องค์การนักศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ↑ องค์การนักศึกษา ออกค่ายอาสาพัฒนา โรงเรียน ตชด.รางวัลอินทิราคานธี
- ↑ "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 24". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-22. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
- ↑ "ราชมคลเกมส์ ครั้งที่ 25". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
- ↑ "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 26". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
- ↑ "ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2552" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
- ↑ บัณฑิตศึกษา มทร.ล้านนา เก็บถาวร 2009-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ↑ รายงานการประเมินตนเองของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วงรอบ 1 มิถุนายน 2552-31 พฤษภาคม 2553หน้า 254
- ↑ รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ครั้งที่ 22 กองกลาง, สำนักงานอธิการบดี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ↑ รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 20 กองกลาง, สำนักงานอธิการบดี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ↑ เอกวิทย์ เตระดิษฐ์ (9 มิถุนายน 2551). "พันธ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย". วิชาการ.คอม. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ เก็บถาวร 2017-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพภายนอก ประจำปีการศึกษา 2555
- ↑ Ranking Web of World Universities เก็บถาวร 2009-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop South East Asia