อนันต์ กรุแก้ว
ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว (8 มีนาคม พ.ศ. 2468 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) อดีตอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2531)[1]
อนันต์ กรุแก้ว | |
---|---|
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2468 |
เสียชีวิต | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (96 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล |
คู่สมรส | สลวย กรุแก้ว |
หมายเหตุ | |
อดีตนายกสโมสรนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อนันต์ กรุแก้ว | |
---|---|
เกิด | ไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า |
|
ผลงานสำคัญ |
|
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2468 สมรสกับ รศ.สลวย กรุแก้ว (บุตรของพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร)) มีบุตรสาว คือ นางอังสนา กรุแก้ว รศ.ปิยานันต์ ประสารราชกิจ (สมรสกับ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ)[2] และนางวรรณวิภา สุขกนิษฐ (สมรสกับ ดร.จักรพงษ์) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 10749) และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[3] จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต และได้รับทุนการศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทย ศึกษาระดับปริญญาโท สาขา Industrial Education จากมหาวิทยาลัยเวย์นสเตต รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 22
ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ประสบการณ์การทำงาน
แก้ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เริ่มรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2493 ในตำแหน่งสถาปนิก สังกัดกรมโยธาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ย้ายมาเป็นสถาปนิกประจำการรถไฟแห่งประเทศไทย จากนั้นได้มาปฏิบัติหน้าที่ราชการในด้านการศึกษา ในปี พ.ศ. 2497 ตำแหน่งอาจารย์ตรี แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ การปฏิบัติหน้าที่เจริญก้าวหน้าเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเป็นรองอธิการบดี 2 สมัย และอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2531)
ผลงาน
แก้ด้านการศึกษา
แก้ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เป็นผู้เจรจาขอเวนคืนที่ดินราชพัสดุบริเวณคลองหก จังหวัดปทุมธานี ของกรมธนารักษ์ จำนวน 741 ไร่ เพื่อก่อสร้างศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
ด้านสถาปัตยกรรม
แก้ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เป็นสถาปนิกออกแบบอาคารราชการและเอกชนหลายแห่ง อาทิกรมประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อาคารสังคีตศาลา สวนหลวง ร.9 ฯลฯ
ด้านกิจกรรมและสังคม
แก้ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เป็นนายกสโมสรนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาดีเด่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการเป็นนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย ร่วมแข่งขันกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในประเทศอื่นๆ เมื่อปี พ.ศ. 2495 และเป็นนายกสโมสรโรตารี่กรุงเทพ นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัลต่างๆ อาทิ ได้รับรางวัลพ่อตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2528 ได้รับรางวัลครูดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ 2 ครั้ง เป็นบุคคลดีเด่นจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
- ↑ เปิดประวัติ “โอม COCKTAIL”
- ↑ รายนามนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษารุ่น 6 จำนวน 59 คน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๗๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
ก่อนหน้า | อนันต์ กรุแก้ว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศ.สวาสดิ์ ไชยคุณา | ไฟล์:Rmutlogo.jpg อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (12 มิถุนายน พ.ศ. 2527 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2531) |
รศ.ธรรมนูญ ฤทธิมณี |