องค์การนักศึกษาในประเทศไทย
ในประเทศไทย องค์การนักศึกษา หรือ สโมสรนักศึกษา เป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันในแต่ละสถาบัน โดยภาพรวมแล้วองค์การนักศึกษาถือเป็นศูนย์กลางของนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
องค์การนักศึกษาที่เรียกว่า สโมสรนักศึกษา เช่น สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ยกเว้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประวัติ
แก้องค์การนักศึกษาในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2469 มีการจัดตั้งศูนย์นิสิตแห่งแรกขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 นักศึกษาได้ให้ความสนใจในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งในขณะนั้นเกิดกบฏแมนฮัตตันขึ้น รัฐบาลประกาศกฎอัยการศึก และส่งกำลังทหารเข้าในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนเป็นเหตุให้นักศึกษาร่วมกันเรียกร้องให้ทหารคืนพื้นที่มหาวิทยาลัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการจัดตั้งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ขึ้นมา โดยกำจัดโสณฑ์ จุลสมัย นิสิตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในขณะนั้น 11 มหาวิทยาลัยมาประชุมรวมกัน และต่อมาทำให้มีบทบาทอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516[1]
ในปัจจุบันกิจกรรมของนักศึกษาได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบต่างไปจากอดีต มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปตามความสนใจของนักศึกษา และกระแสสังคม [2]
การบริหารงานองค์การนักศึกษา
แก้การบริหารงานองค์การนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย จะมีรูปแบบแตกต่างกันตามลักษณะการบริหารงานของแต่ละมหาวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกเป็นองค์การนิสิต แล้วมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยองค์การบริหาร องค์การนิสิต ของวิทยาเขตต่าง ๆ กับ สภาผู้แทนนิสิต องค์การนิสิต ของทุกวิทยาเขต แล้วผู้นำสูงสุดเรียกว่า "เลขาธิการองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"[3]
ในขณะที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเป็นสโมสรนิสิต มีโครงสร้างหลักเป็น องค์การบริหารสโมสรนิสิต กับสภานิสิต ซึ่ง องค์การบริหารสโมสรนิสิต มี นายกสโมสรนิสิต เป็นผู้นำ ส่วนสภานิสิต มีประธานสภานิสิต เป็นผู้นำ
สำหรับองค์การนักศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นแกนนำในเรื่องการเมือง รวมถึงรับผิดชอบต่อสังคมจากอดีตจนถึงปัจจุบันคือ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ เนื่องจากด้วยมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมทางเมืองมาโดยตลอด เห็นได้จากเหตุการทางเมืองสำคัญของประเทศ เช่น 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา 2519 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ซึ่ง องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นแกนนำนักศึกษาของประเทศไทยในสมัยนั้น ซึ่งเปรียบเหมือนโรงเรียนการเมือง ทำให้มีบุคคลสำคัญทางองค์การนักศึกษาไปทำงานทางการเมืองเป็นจำนวนมาก และกิจกรรมนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า "เมืองหลวงแห่งกิจกรรมนักศึกษา" คณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษาปัจจุบันมาจาก พรรคธรรมเพื่อโดม ซึ่งถือเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคหนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่ยังหลงเหลืออยู่และลงสมัครเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารตลอด 20 ปีในการก่อตั้งพรรค โดยได้รับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารองค์การฯถึง 18 ครั้ง ซึ่งผู้ก่อตั้งคือ นายชาญกิจ ไตรรัตนานนท์ นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2544
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในอดีต เรียกเป็นองค์การนักศึกษา มีนายกสโมสรนักศึกษาของคณะ 15 คณะ และนายกสโมสรนักศึกษาวิทยาเขต 35 แห่ง เป็นคณะกรรมการบริหารงาน (ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งแล้ว) โดยรูปแบบดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[4] ในปัจจุบัน
ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยนั้นส่วนมากนิยมเรียกผู้นำนักศึกษาว่า สโมสรนักศึกษา อาทิเช่า สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของนักศึกษา เป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานงานในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษากับมหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา ซึ่งได้มาด้วยการเลือกตั้ง และรับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยให้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวาระ 1 ปี ทำหน้าที่บริหารงาน และดำเนินงานของสโมสรนักศึกษา ภายใต้การดูแล สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้นก็จะประกอบไปด้วย นายกสโมสรนักศึกษา อุปนายก 2 คน และประธานฝ่ายต่าง ๆ 12 ฝ่ายหรืออาจจะเพิ่มมากขึ้นตามคณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาเห็นสมควร คณะกรรมการบริหารสโมสรนักศึกษาปัจจุบันมาจาก พรรค สามัคคีศรีปทุม โดยมี นายประพันธ์ เย็นสุข เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรนักศึกษา สโมสรนักศึกษา ก็จะมีความคล้ายคลึงกับ องค์การนักศึกษา มากเลยทีเดียว
อดีตนายกองค์การนักศึกษาที่มีชื่อเสียง
แก้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แก้- วิจิตร ศรีสังข์ (พ.ศ. 2517) อดีตผู้ก่อตั้งพรรคพลังธรรม
- สมาน เลิศวงศ์รัฐ (พ.ศ. 2518) อดีตนายทะเบียนพรรคไทยรักไทย
- พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ (พ.ศ. 2519) สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
- กรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แก้- เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ (พ.ศ. 2480 และ พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน (พ.ศ. 2502) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล (พ.ศ. 2516) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- รองศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (พ.ศ. 2519) อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน
- ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- มนตรี ศรไพศาล ผู้บริหารของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กิมเฮง (ประเทศไทย)
- รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ นักวิชาการอิสระทางเศรษฐศาสตร์
- เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล นักเขียน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
แก้- พินิจ จารุสมบัติ (พ.ศ. 2516) อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
- สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช
- เทพไท เสนพงศ์ (พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2526) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ โฆษกประจำตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- อุทัย ยอดมณี (พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2557) ผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย(คปท.) แกนนำกปปส.
- ประเดิม ดำรงเจริญ อดีตหัวหน้าพรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหิดล
แก้- นายแพทย์เหวง โตจิราการ (พ.ศ. 2517) กรรมการสมาพันธ์ประชาธิปไตย และแกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน
- นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ (พ.ศ. 2518) สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แก้- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในอดีตได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
- จาตุรนต์ ฉายแสง (พ.ศ. 2519) อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- นายแพทย์ วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แก้- นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีตนักการเมืองสังกัดพรรคความหวังใหม่, ไทยรักไทย และชาติไทย
สถาบันอื่น ๆ
แก้- นายพิภพ ธงไชย (พ.ศ. 2510 - วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ) แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Paradoxocracy ประชาธิป"ไทย"". ยูทูบ. 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
- ↑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมนิสิต เก็บถาวร 2016-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพนัส ปรีวาสนา หัวหน้ากลุ่มงานกิจกรรมนิสิต กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ↑ องค์การนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยเก็บถาวร 2009-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ข้อบังคับว่าด้วยธรรมนูญนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2549
- ↑ "ประวัติองค์การนักศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-19. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.