มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Krungthep; อักษรย่อ: มทร.กรุงเทพ – RMUTK, UTK) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เน้นการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิต มีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม การท่องเที่ยว โรงแรม ภาษา คหกรรม เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย บริหารธุรกิจและทักษะด้านธุรกิจรวมทั้งการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้จริงมีความคิดสร้างสรรค์ ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ชื่อย่อมทร.กรุงเทพ / RMUTK, UTK
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2548 (18 ปี)
นายกสภาฯรองศาสตราจารย์ ชาญ ถนัดงาน[1]
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย จันทร์มณี
ที่ตั้ง
ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ
2 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
ศูนย์บพิตรพิมุข มหาเมฆ
878 ถนนอาคารสงเคราะห์ 1 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
ศูนย์พระนครใต้
1635 ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
เพลงขวัญใจมหาเมฆ
ต้นไม้สาธร
สี  เขียว
เว็บไซต์www.rmutk.ac.th

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับด้านการจัดการเรียนการสอนดีเด่น จาก

  • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อ พ.ศ. 2549 ในอันดับที่ 5 จาก 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย
  • กระทรวงศึกษาธิการ ของประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2548[2]ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไว้ในอันดับที่ 19 ของมหาวิทยาลัยไทยดีเด่นด้าน วิศวกรรมศาสตร์-วิทยาศาสตร์

จึงนับเป็นข้อดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านวิชาชีพจากสถานศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนจะพัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย แก้ไข

สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คือ สีเขียว ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นสาธร และเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ เพลงขวัญใจมหาเมฆ

ประวัติ แก้ไข

ประวัติ (เดิม)

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ทำความตกลงกับ องค์การส่งเสริมความมั่นคงร่วมกันของสหรัฐอเมริกา (Mutual Security Agency; M.S.A.)
ส่งเสริมการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาของชาติให้ดียิ่งขึ้น จึงเห็นว่าควรจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนคร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เยาวชนของชาติได้มีโอกาสฝึกฝนอบรมวิชาชีพอย่างกว้างขวางและ ยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
ปีพุทธศักราช 2495 รัฐสภาได้อนุมัติงบประมาณ 3,961,450.- บาท จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนครขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินราชพัสดุบริเวณ ตำบลทุ่งมหาเมฆ เนื้อที่ 108 ไร่ เป็นที่ตั้งวิทยาลัยเทคนิค
โดยที่ดินบริเวณดังกล่าวมีคลองขนาดใหญ่ พอที่เรือสำปั้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาจะเข้ามาได้ ปลายคลองด้านหนึ่งสามารถออกแม่น้ำเจ้าพระยาตรงช่องนนทรีในปัจจุบัน ปลายคลองอีกด้านต่อเชื่อมกับคลองสาทร
พื้นที่สองฝั่งคลองนี้เป็นเรือสวนฝั่งหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งเป็นทุ่งนา ฝั่งทุ่งนามีผืนนากว้างไกลยืนริมคลอง มองมุม 180 องศา จะเห็นผืนฟ้าจรดผืนนา ท้องฟ้าสีครามเต็มไปด้วยหมู่เมฆ บางวันมีเมฆขนนกเกลื่อนเต็มท้องฟ้า
บางวันเป็นเมฆก้อนใหญ่ ลอยไล่มาเป็นระยะ บางครั้งเมฆทมึนแปรปรวนเคลื่อนเข้าหาอย่างรวดเร็ว ความหลากหลายนี้เป็นที่มาของคำว่า ทุ่งมหาเมฆ
ฝั่งที่เป็นสวนนั้น เต็มไปด้วยสวนกล้วย สวนมะยม ชาวบ้านปลูกกระต๊อบกระจายห่างๆ เลี้ยงไก่ ปั่นด้าย มีบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดมีการปลูกต้นพลูจำนวนมากจนเป็นชื่อของ ซอยสวนพลู
วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เปิดสอนปีแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน โรงฝึกงาน ได้ฝากนักศึกษาเรียนที่สถาบันอื่นดังนี้

  • แผนกวิทยุ มีนักศึกษา 27 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
  • แผนกฝึกหัดครูมัธยมอาชีวศึกษา มีนักศึกษา 13 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
  • แผนกช่างก่อสร้าง มีนักศึกษา 30 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
  • แผนกพาณิชยการ มีนักศึกษา 21 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร
    รัฐบาลฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคที่กรุงเทพฯ จึงได้ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในส่วนภูมิภาคที่
  • ภาคใต้ เป็นวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ สงขลา ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ภาคเหนือ เป็นวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ เชียงใหม่ ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ฝั่งธนบุรี จัดตั้งเป็นวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ปัจจุบันเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และตั้งกองวิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกิจการส่วนวิทยาลัยเทคนิค

ปีพุทธศักราช 2496 แก้ไข

  • ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีเปิดวิทยาลัยเทคนิค วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
  • ดร. ไอแมน ผู้เชี่ยวชาญ และ มร.ฮัตจินสัน หัวหน้าฝ่ายการศึกษาของ M.S.A. ที่มาช่วยงานเดินทางกลับ สหรัฐอเมริกา

ปีพุทธศักราช 2497 แก้ไข

  • วิทยาลัยได้นำผลงานของนักศึกษาร่วมแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ณ. โรงเรียนสวนกุหลาบ
  • พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจกรรมนักศึกษาด้วยความสนพระทัย ทรงกระแสพระราชดำรัสที่จะให้วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ทดลองทำหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวได้ เดินได้ พูดได้ ซึ่งได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดสร้างหุ่นยนต์

ปีพุทธศักราช 2498 แก้ไข

  • วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ได้นำหุ่นยนต์แสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทอดพระเนตร หุ่นยนต์และรถแทรคเตอร์ที่นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ สร้างขึ้นด้วยความสนพระทัย
  • ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานทรัพย์จัดสร้าง หุ่นยนต์ขนาดเท่าคนจริงเดินได้ตัวแรกของเมืองไทย เป็นผลงานของนักศึกษาแผนช่างวิทยุ โดยการออกแบบและควบคุมงานของ อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ลักษณะของหุ่นมีหน้าและมือ เหมือนหุ่นโชว์ แขนและขา เป็นโครงเหล็ก หลังจากออกแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียนแล้ว ได้จัดทำเสื้อสวมเป็นหุ่นคุณหมอ อัดเสียงพูดเชิญชวนให้บริจาคสมทบทุนสภากาชาดไทย ในงานกาชาด ณ สถานเสาวภา พ.ศ. 2498
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จทอดพระเนตรกิจกรรมการปฏิบัติของนักศึกษาแแผนกวิชาช่างพิมพ์ และแผนกวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2498

ปีพุทธศักราช 2499 แก้ไข

  • มหาวิทยาลัยเวนสเตท (Wayne State University) สหรัฐอเมริกา ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิคมาช่วยสอน จำนวน 27 คน และให้ทุนครู อาจารย์ของวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปีพุทธศักราช 2503 แก้ไข

  • สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯ มาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ให้นักศึกษาแผนกวิชาช่างภาพ ฉายพระฉายาลักษณ์ในงานเมตตาบันเทิง วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503

ปีพุทธศักราช 2514 แก้ไข

  • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ งานชุมนุมแม่บ้านครั้งที่ 14 ของสมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ณ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2514

ปีพุทธศักราช 2518 แก้ไข

  • วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ปีพุทธศักราช 2531 แก้ไข

  • พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อันมีความหมายว่า สถาบันเทคเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา

ปีพุทธศักราช 2548 แก้ไข

  • เปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548

รายนามอธิการบดี แก้ไข

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผศ.เฉลิม มัติโก 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548[3] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
2. ดร.สาธิต พุทธชัยยงค์ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552[4] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
15 สิงหาคม พ.ศ. 2556[5] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560
3. ดร.สุกิจ นิตินัย 8 กันยายน พ.ศ. 2560[6] - 30 กันยายน พ.ศ. 2562 (หยุดปฏิบัติหน้าที่)[7]
สมพร ปิยะพันธ์ (ปฏิบัติหน้าที่แทน)[8] พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564
4. รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

คณะและสาขาวิชา แก้ไข

คณะ ภาควิชา สาขาวิชา หลักสูตร เว็บไซต์คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า http://www.eng.rmutk.ac.th/
วิศวกรรมอิเล็คทรอนิคส์และโทรคมนาคม วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็คทรอนิคส์และโทรคมนาคม
วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมการผลิตความแม่นยำสูง วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตความแม่นยำสูง
วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน
วิศวกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์
ครุศาสตร์อุตสาหกรรม วิศวกรรมเครื่องกล ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล http://www.tech-ed.rmutk.ac.th/
วิศวกรรมอุตสาหการ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
เทคโนโลยีอุตสาหการ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
เทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการ คหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
ธุรกิจอาหาร คหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอาหาร
เทคโนโลยีเสื้อผ้าและแพตเทิร์น คหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเสื้อผ้าและแพตเทิร์น
การออกแบบแฟชั่น เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
คหกรรมศาสตร์ศึกษา ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา
ศิลปศาสตร์ ภาษาต่างประเทศและอุตสาหกรรมการบริการ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล http://www.larts.rmutk.ac.th/
ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
ภาษาญี่ปุ่น ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
การท่องเที่ยว ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว
การโรงแรม ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย
อุตสาหกรรมสิ่งทอ นวัตกรรมสิ่งทอ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสิ่งทอ http://www.textiles.rmutk.ac.th/
ออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น
เทคโนโลยีสิ่งทอ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
บริหารธุรกิจ การบัญชีและการเงิน การบัญชี บัญชีบัณฑิต http://www.bu.rmutk.ac.th/
การเงินและนว้ตกรรมทางการเงิน บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน
การประเมินราคาทรัพย์สิน บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินราคาทรัพย์สิน
การตลาดและการจัดการ การตลาด บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
การจัดการ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
การสื่อสารธุรกิจระหว่างประเทศ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารธุรกิจระหว่างประเทศ
การบัญชีและการเงิน ระบบสารสนเทศ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจดิจิทัจ เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจดิจิทัจ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี วิทยาศาสตรบัณฑิตเคมี http://www.sci.rmutk.ac.th/
เทคโนโลยีและการจัดการความปลอดภัยของอาหาร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการความปลอดภัยของอาหาร
วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพและความงาม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพและความงาม
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์
เทคโนโลยีเครื่องเรือนและการออกแบบ เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องเรือนและการออกแบบ
เทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง
วิทยาลัยนานาชาติ
Business Administration Marketing http://www.ic.rmutk.ac.th/
Information Systems
International Business Management
Accounting
Liberal Arts Tourism and Hospitality

พื้นที่จัดการศึกษา แก้ไข

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีพื้นที่จัดการศึกษา 3 แห่งคือ

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์บพิตรพิมุข มหาเมฆ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์พระนครใต้

บุคคลจากมหาวิทยาลัย ที่มีชื่อเสียง แก้ไข

  1. ชูชัย บัวบูชา นายกสมาคมผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศไทย (ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา)
  2. ดุษฎี สินเจิมสิริ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  3. พยนต์ ยุทธไตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหาร โทรทัศน์ ช่อง3
  4. ไพโรจน์ สังวริบุตร นักแสดงชั้นนำ
  5. หม่อมหลวงชัยวัฒน์ ชยางกรู ผอ.และ CEO บ.เอกชน หลายแห่ง
  6. พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์ คัดกิ่งรักส์ คิดคิดสะระณัง(เมจิ) นักแสดงช่องสาม
  7. สรินยา ทองงอก (แยม) มิสมอเตอร์โชว์ 2006
  8. นราธิป กาญจนวัฒน์ ศิลปินนักร้องวงชาตรี
  9. สมบัติ เมทะนี นักแสดงอาวุโส
  10. พิษณุ นิ่มสกุล (บอย พิษณุ) นักแสดงที่มีชื่อเสียงจากรายการเรียลลิตี้โชว์ ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ปี 2
  11. พีรฉัตร จิตรมาส (เอี๊ยบ-ซับเทนชั่น) นักร้องนำวงซับเทนชั่น สังกัดอาร์.เอส เจ้าของเพลงดัง "ขอเป็นคนสุดท้าย"
  12. ภัคจีรา วรรณสุทธิ์ นักแสดง
  13. ภาณุ สุวรรณโณ นักแสดง
  14. ศันสนีย์ สีดาว อดีตนักแสดง
  15. นันทวัน วรรณจุฑา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 World Super Model Contest 2011 และรองชนะเลิศอันดับ 1 MISS SUPRANATIONAL 2012
  16. เนฐนภาดา กัลยานนท์ มิสทิฟฟานี่ ยูนิเวิร์ส 2013
  17. กฤษดา แซ่โค้ว มิสทิฟฟานี่ ยูนิเวิร์ส 2015
  18. อนันต์ ภักดิ์ประไพ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  19. ปภาวดี ชาญสมอน นักแสดงสังกัดช่อง 7HD

อ้างอิง แก้ไข

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/220/T_0023.PDF
  2. http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?t=6933&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=&sid=5344119f75b53067499e50412b0ce56f เก็บถาวร 2016-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน อันดับมหาวิทยาลัย ของ มทร.กรุงเทพ โดย สิงคโปร์]
  3. ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม 2548
  4. ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพราชกิจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 151ง วันที่ 13 ตุลาคม 2552
  5. ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพราชกิจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 88ง วันที่ 25 กรกฎาคม 2556
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/226/7.PDF
  7. จับตาวาระสภาฯพรุ่งนี้ 'สุกิจ นิตินัย' กลับอธิการบดีมทร.กรุงเทพ?... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/education/828088
  8. ผู้บริหารราชมงคล

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข