คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็น 1 ใน 4 คณะแรกที่จัดตั้งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีสำนักงานคณบดีตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สถาปนา27 พฤศจิกายน 2549[1]
คณบดีผศ.ดร.ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์
ที่อยู่
เว็บไซต์http://sat.rmutl.ac.th

ประวัติ แก้

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งรวมเอาวิทยาเขตต่างๆ ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เข้าด้วยกันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรขึ้น เพื่อจัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีการจัดการศึกษาใน 6 เขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย น่าน พิษณุโลก และตาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มีการดำเนินการผลิตนักศึกษาด้วยหลักสูตรของคณะใน 4 เขตพื้นที่คือ พิษณุโลก ลำปาง น่าน และตาก

รายนามคณบดี แก้

  1. นายวินิจ นุ่มฤทธิ์ (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554)
  2. รศ.ดร.สมชาติ หาญวงศา (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557)
  3. นายยรรยง เฉลิมแสน (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562)
  4. รศ.ดร.สุนทร วิทยาคุณ (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566)
  5. ผศ.ดร.ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)

หลักสูตรที่เปิดสอน แก้

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เปิดทำการสอนทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 6 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีจำนวน 6 หลักสูตร และระดับบัณฑิตศึกษาในระดับปริญญาโทจำนวน 2 หลักสูตร นับเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่เปิดทำการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ในปีการศึกษา 2566 มีจำนวนนักศึกษารวม 1,157 คน จำแนกเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 122 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรี 1,012 คนและนักศึกษาระดับปริญญาโท 23 คน[2]

ปัจจุบันมีสาขาและหลักสูตรที่เปิดทำการสอน ดังนี้[3]


หน่วยงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท
สาขาเกษตรศาสตร์

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • หลักสูตรเกษตรศาสตร์ (วิชาเอกพืชศาสตร์/สัตวศาสตร์/ประมง)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาอุตสาหกรรมเกษตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
  • หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร
  • หลักสูตรเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
  • หลักสูตรธุรกิจอาหารและโภชนาการ
  • หลักสูตรครื่องจักรกลเกษตร

จำนวนคณาจารย์ แก้

ในปีการศึกษา 2562 มีจำนวนอาจารย์ประจำจำนวนรวม 268 คน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ จำนวน 14 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 86 คนและอาจารย์ที่่ยังไม่มีตำแหน่งวิชาการ จำนวน 168 คน

จำนวน (คน)
1. วุฒิปริญญาเอก วุฒิปริญญาโท วุฒิปริญญาตรี
108.5 155 4.5
สัดส่วนวุฒิ (ร้อยละ)
2. วุฒิปริญญาเอก วุฒิปริญญาโท วุฒิปริญญาตรี
40.48 57.83 0.01

หมายเหตุ: รายการที่ 1: ทศนิยมหมายถึงมีระยะเวลาปฏิบัติงานไม่ถึง 1 ปี

กิจกรรมนักศึกษา แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับคณะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[4] ได้แก่

  • สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
  • ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน

การรับรองมาตรฐานการศึกษา แก้

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2562 มีผลการประเมินมาตรฐานในภาพรวมอยู่ในระดับ "ดีมาก" (ได้คะแนน 4.58 จากคะแนนเต็ม 5) โดยองค์ประกอบที่ 1: การผลิตบัณฑิต มีผลการประเมินในระดับดี (4.41) องค์ประกอบที่ 2: การวิจัย มีผลการประเมินในระดับดี (4.35) องค์ประกอบที่ 3: การบริการวิชาการ มีผลการประเมินในระดับดีมาก (5.0) องค์ประกอบที่ 4: การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีผลการประเมินในระดับดีมาก (5.0) และองค์ประกอบที่ 5: การบริหารจัดการ มีผลการประเมินในระดับดีมาก (5.0)[5]

อ้างอิง แก้

  1. กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๙ (กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘)
  2. สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
  3. http://sat.rmutl.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=12&Itemid=26
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  5. รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพภายนอก ประจำปีการศึกษา 2550