วิทยาเขต (อังกฤษ: campus) เป็นสถานที่ที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการศึกษา ซึ่งอาจจะประกอบด้วยห้องสมุด หอพัก อาคารต่าง ๆ ในรูปแบบเช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัย

"วิทยาเขต" ถูกใช้เรียกครั้งแรกโดยวิทยาลัยนิวเจอร์ซีย์ (มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในปัจจุบัน) ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 18 ต่อมามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา จึงได้นำคำว่า วิทยาเขต มาเรียกชื่อสถานที่จัดการศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย โดยระบบการจัดการบริหารแบบวิทยาเขตอาจแบ่งเป็นสองแบบตามความหมายภาษาอังกฤษอันได่แก่ University System (วิทยาเขตแบ่งแยกออกจากกันเปรียบเสมือนคนละมหาวิทยาลัยและใช้ชุดบริหารและทรัพยากรแยกกันเพียงแต่ใช้ชื่อร่วมกันเท่านั้น เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน ศรีราชา เป็นต้น) และ Multiple-Campus University (วิทยาเขตแบ่งแยกโดยสถานที่โดยยังอยู่ภายใต้การบริหารงานของ 1 มหาวิทยาลัย - สมาชิกในวิทยาเขตทุกวิทยาใช้ทรัพยากรร่วมกันกับส่วนกลางและมีการแบ่งปันกันภายในมหาวิทยาลัยและไม่แบ่งแยก เพียงแต่สถานที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันเท่านั้น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต)

ในประเทศไทย แก้

ในประเทศไทย วิทยาเขต บางครั้งอาจหมายถึง หน่วยงานในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันอื่น ๆ ซึ่งมีพื้นที่แยกออกไปจากต้นสังกัด และมีการจัดการเรียนการสอน การบริหารงานที่ขึ้นตรงกับต้นสังกัด โดยส่วนใหญ่จะถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัย ว่าจะต้องประกอบด้วยส่วนงานของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตามที่สภามหาวิทยาลัยกําหนด อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้กำหนดว่าต้องมีตั้งแต่สองส่วนงานขึ้นไป[1] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกำหนดให้มีส่วนราชการที่เทียบเท่าระดับคณะขึ้นไป ตั้งแต่สองส่วนราชการ[2] มหาวิทยาลัยสวนดุสิตกำหนดให้มีส่วนงานของมหาวิทยาลัยตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด[3] เป็นต้น

ในอีกความหมายหนึ่ง อาจใช้คำเรียกอย่างอื่นที่มีความหมายโดยนัยเป็นแค่สถานที่จัดการเรียนการ หรือในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จะใช้หลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549[4]

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้