คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็น 1 ใน 4 คณะที่จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกของมหาวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[1] เพื่อทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาศิลปกรรม เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสถาปัตยกรรมศาสตร์

คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
faculty of Art and Architecture
สถาปนา27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
คณบดีอาจารย์นที สัมปุรณะพันธ์
ที่อยู่
สี  สีดำ สีส้ม
เว็บไซต์http://arts.rmutl.ac.th

ที่ตั้ง

แก้

ปัจจุบันสำนักงานคณบดี ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 (หลังวัดเจ็ดยอด)

สถานที่จัดการเรียนการสอน

แก้

คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีสถานที่จัดการเรียนการสอน 3 แห่ง และกำลังดำเนินการขยายพื้นที่อีก 1 แห่ง คือ

หน่วยงานและหลักสูตร

แก้


หน่วยงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท
สาขาศิลปกรรม

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์

สาขาสถาปัตยกรรม

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาการออกแบบ

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขาออกแบบสื่อสาร วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์
  • สาขาออกแบบสื่อสาร วิชาเอกมัลติมีเดีย

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาออกแบบอุตสาหกรรม
  • สาขาออกแบบสิ่งทอ
  • สาขาออกแบบเครื่องเรือน
สาขาเทคโนโลยีศิลป์

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาเทคโนโลยีเซรามิก
  • สาขาเทคโนโลยีเครื่องประดับ

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์
  • สาขาออกแบบบรรจุภัณฑ์

กิจกรรมนักศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับคณะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[3] ได้แก่

  • สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
  • ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน

การรับรองมาตรฐานการศึกษา

แก้

คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2550 ใน 2 กลุ่มวิชา คือ[4]

  1. กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม ได้รับผลการประเมิน "รับรอง" ในระดับการประเมิน "ดี" คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.83
  2. กลุ่มสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับผลการประเมิน "รับรอง" ในระดับการประเมิน "ดี" คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.82

รายนามคณบดี

แก้
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยรัตน์ ปานสุวรรณจิตร์ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2557
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร ฝั้นชมภู พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระ จูน้อยสุวรรณ พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2565
  4. อาจารย์นที สัมปุรณะพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๙ (กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘)
  2. การศึกษาเตรียมการจัดการเรียนการสอนพื้นที่ดอยสะเก็ด
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  4. รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพภายนอก ประจำปีการศึกษา 2550

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้