วินิจ โชติสว่าง
รองศาสตราจารย์ ดร. วินิจ โชติสว่าง อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล[1] และอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ดร.วินิจ โชติสว่าง | |
---|---|
เกิด | 15 มีนาคม พ.ศ. 2482 |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ข้าราชการ |
มีชื่อเสียงจาก | อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล |
หมายเหตุ | |
อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
ประวัติ
แก้วินิจ โชติสว่าง เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2482[2] จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขากสิกรรมและสัตวบาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ระดับปริญญาโท สาขาสัตวศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และปริญญาเอก สาขาเกษตรศึกษา จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์เช่นเดียวกัน
การทำงาน
แก้วินิจ โชติสว่าง เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เคยได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะเกษตรศาสตร์บางพระ และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 ต่อมาหลังจากมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 จัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้น 9 แห่งทั่วประเทศไทย ดร.วินิจ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548[3] แต่ถึงแม้ว่าจะครบวาระลงในปี พ.ศ. 2552 แต่เนื่องจากปัญหาในการสรรหาอธิการบดี จึงทำให้ ดร.วินิจ โชติสว่าง ยังต้องรักษาราชการแทนในตำแหน่งต่อมาจนถึง พ.ศ. 2555
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (นายวินิจ โชติสว่าง)
- ↑ "อธิการบดี มทร.อีสาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2011-06-27.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (จำนวน ๙ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗๐, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓