มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เป็นสถาบันการศึกษาวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งขึ้น โดยได้รับการสถาปนาและวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส "กาญจนาภิเษก" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาสู่ท้องถิ่นชนบท [1] โดยมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานในเขตภาคเหนือตอนบน และในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 ชาติ ที่เรียกว่า "เขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" โดยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และด้านบริการเพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และสังคมภูมิภาค เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
พระมหาพิชัยมงกุฎ
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมทร.ล้านนา ชร. / RMUTL CR
ประเภทวิทยาเขต
สถาปนา3 มกราคม พ.ศ. 2539
อธิการบดีรองศาสตราจารย์วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ
ที่ตั้ง
99 หมู่ 10 ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
สี สีขาว
 สีแดง
เว็บไซต์chiangrai.rmutl.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จัดตั้งขึ้นบริเวณ "นิคมแม่ลาว" อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่รวม 5,000 ไร่ เป็นพื้นที่ภูเขา 3,500 ไร่ พื้นที่ราบ 1,500 ไร่ โดยมีพื้นที่ใช้สอยปัจจุบัน 740 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา

ปัจจุบันวิทยาเขตเชียงราย มีจำนวนนักศึกษากว่า 1,439 คน[2]

รายนามผู้บริหาร

แก้
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเชียงราย
รายนามผู้อำนวยการ การดำรงตำแหน่ง
1. นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล พ.ศ. 2538 - พ.ศ.2544
2. นายธวัช ณ เชียงใหม่ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545
3. นายบุญธรรม เร็วการ พ.ศ. 2545 - พ.ศ.2546
4. นายประหยัด อิ่มอุดม พ.ศ. 2546 – พ.ศ.2547
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย
รายนามรองอธิการบดีเขตพื้นที่ การดำรงตำแหน่ง
5. นายอุดม สุธาคำ พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2548
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อวยพร   บัวใบ พ.ศ. 2548  - พ.ศ. 2551
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสาร  รุจิระศักดิ์ พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2556
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม       สุธาคำ พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2560
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิติพงษ์   สมไชยวงค์ พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2561
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ       มูลปา พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2562
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนากร    สร้อยสุวรรณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565
12. รองศาสตราจารย์วิเชษฐ     ทิพย์ประเสริฐ พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

หลักสูตรที่เปิดสอน

แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จำแนกตามระดับการศึกษา ได้แก่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี โดยมีคณะที่เปิดสอนจำนวนทั้งสิ้น 3 คณะ ได้แก่

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 4 ปี (วศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาคพิเศษ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (วิศวกรรมโลจิสติกส์)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (วิศวกรรมอุตสาหการ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี (บธ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจ
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการตลาดและการตลาดติจิทัล
  • สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 4 ปี (บช.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาการบัญชี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

แก้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ (ปวช. 3 ปี)

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเตรียมวิศวกรรมศาสตร์

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

แก้

ตรามหาวิทยาลัย

แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชนุญาตให้อัญเชิญพระราชลัญจกรและพระมหาพิชัยมงกุฎมาเป็นตรามหาวิทยาลัย โดยลักษณะของตรามหาวิทยาลัยคือ เป็นรูปพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลเดช ล้อมรอบด้วยดอกบัวแปดกลีบ ด้านบนมีเลขเก้าไทยประดิษฐานอยู่ อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านล่างทำเป็นรูปโค้งรองรับตราพระราชลัญจกร จารึกชื่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีดอกไม้ทิพย์อยู่ด้านหัวและด้านท้ายของชื่อมหาวิทยาลัย

 
ดอกลีลาวดี

สีประจำเขตพื้นที่

แก้
  • สีประจำเขตพื้นที่ ได้แก่ สีขาว - แดง

ดอกไม้ประจำเขตพื้นที่

แก้

หน่วยงานของนักศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[3] ได้แก่

  • หน่วยดำเนินกิจกรรม
    • สโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ มีนายกสโมสรนักศึกษาคณะในเขตพื้นที่ และผู้แทนนักศึกษา เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
    • สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
    • ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน
  • หน่วยตรวจสอบ
    • สภานักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นตัวแทนรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของนักศึกษา ควบคุม ตรวจสอบการบริหารงานและการดำเนินงานขององค์กรนักศึกษา (สโมสรนักศึกษา และชมรม) เป็นศูนย์กลางในการรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งวิทยาเขตสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  2. สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้