ชัยยง เอื้อวิริยานุกูล
นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล (19 มีนาคม พ.ศ. 2492 — ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาคนแรก สมรสกับนางปราณี เอื้อวิริยานุกูล มีบุตร 2 คน คือ ดร.ขวัญชัย เอื้อวิริยานุกูล และ ดร.สุนิตา เอื้อวิริยานุกูล เริ่มต้นชีวิตราชการ เมื่อปีการศึกษา 2516 เป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชาช่างไฟฟ้า คณะวิชาไฟฟ้า วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติการศึกษา
แก้นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และระดับปริญญาโทครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) สาขาการบริหารอาชีวและเทคนิคศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และได้เข้ารับการอบรมประกาศนียบัตร สาขาไฟฟ้ากำลัง จากสถาบัน Deutsche Stiftung fur Entwicklung (DSE) ประเทศเยอรมัน
ประวัติการทำงาน
แก้นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ในตำแหน่งครูตรี สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการบริหาร นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล ได้รับตำแหน่งในการบริหารเป็นรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (คลองหก) ผู้อำนวยการวิทยาเขตเชียงราย ผู้อำนวยการวิทยาเขตภาคพายัพ ผู้ช่วยอธิการบดี ดูแลกิจการหน่วยงานของสถาบันในกลุ่มภาคเหนือ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ฝ่ายบริหาร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งนายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดีคนแรก[1]
ด้านการวิจัยนายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารงานวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ผลงาน รางวัล
แก้นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปีการศึกษา 2547 นอกจากนั้นยังได้รับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2549 [2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล [จำนวน ๙ ราย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๘๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๔๒, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
ก่อนหน้า | ชัยยง เอื้อวิริยานุกูล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
- | อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556) |
รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ |