หอคำหลวง เป็นอาคารหลักตั้งอยู่ภายในแนวแกนหลักของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 โดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นล้านนา ภายใต้แนวคิดว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ คือ ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ หอคำหลวง ที่มีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานคณะอนุกรรมการ

หอคำหลวง
Ho Kum Luang (Royal Pavilion)
หอคำหลวงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทหอเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมไทย
ที่ตั้งอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เมืองจังหวัดเชียงใหม่
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2547
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และไม้
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกรุ่ง จันตาบุญ
ศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง

อาคารหอคำหลวง เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ 2 ชั้น ด้านบนเป็นส่วนศาลา ส่วนด้านล่างเป็นอาคารอเนกประสงค์ มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร ออกแบบสถาปัตยกรรมโดยรุ่ง จันตาบุญ [1][2] จำลองมาจากภาพหอคำหลวงของเจ้าเมืองเชียงใหม่ในอดีต และออกแบบศิลปกรรมภายในอาคาร โดยศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง เน้นการถึงพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล​อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[3]

หอคำหลวง เป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำละครโทรทัศน์เรื่อง เพลิงพระนาง ที่ออกอากาศและได้รับความนิยมทางช่อง 7 เมื่อต้นปี พ.ศ. 2560 โดยใช้สมมติเป็นหอคำ หรือท้องพระโรงตามเนื้อเรื่อง[4]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2567 หอคำหลวงเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก ได้แก่พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ที่รัฐบาลราชอาณาจักรไทยอัญเชิญมาจากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานที่ประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยเป็นแห่งที่ 2 ต่อจากท้องสนามหลวง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และเป็นจุดหลักประจำภาคเหนือ โดยเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะเมื่อวันที่ 5 - 8 มีนาคม ก่อนอัญเชิญไปประดิษฐานต่อที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือวัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จังหวัดอุบลราชธานี[5]

อ้างอิง

แก้
  1. ทำเนียบผู้มีผลงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรมไทย เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมสถาปนิกสยาม
  2. ‘สถาปนิกถุงปูน’เบื้องหลังหอคำหลวง โบแดงแห่งพืชสวนโลก[ลิงก์เสีย]
  3. "เผยโฉม "หอคำหลวง" อาคารเฉลิมพระเกียรติสุดอลังการ". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-18.
  4. "เผยสถานที่จริง "หอคำหลวง" ที่ถ่ายทำ "เพลิงพระนาง" อยู่จังหวัดนี้นี่เอง". igdara. 2017-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-06. สืบค้นเมื่อ 2017-04-16.
  5. "เปิดสักการะวันแรก ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่". กรุงเทพธุรกิจ. 5 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

18°45′08″N 98°55′24″E / 18.7522198°N 98.9234197°E / 18.7522198; 98.9234197