พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (อังกฤษ: The Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King's 6th Cycle Birthday Anniversary, July 28th, 2024) เป็นชื่องานฉลองที่ประกอบด้วยพระราชพิธี รัฐพิธี และราษฎรพิธี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 โดยเป็นพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบปีนักษัตรครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน ร่วมกันจัดขึ้นโดยรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน และประชาชนชาวไทย
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ | |
---|---|
![]() ธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ | |
วันที่ | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เหตุการณ์ก่อนหน้า | พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 |
ผู้เข้าร่วม |
|
จัดโดย | รัฐบาลไทย |
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ
แก้ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐานัดแรกเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ[1] ต่อมาเศรษฐาได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ในอีก 5 วันถัดมา และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยมีองค์ประกอบดังนี้[2]
พระราชพิธี
แก้ส่วนนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567
แก้เวลา 17.12 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานในการพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ โดยเสด็จในการนี้ด้วย
ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึง ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบรมอัฐิ และพระอัฐิสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระอัครมเหสี และสมเด็จพระบรมราชบุพการี พระสงฆ์ 27 รูป สวดพระพุทธมนต์ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนดูหนังสือเทศน์พระราชทานแก่เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญไปปักที่จงกลธรรมธรรมาสน์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยที่หน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร สำหรับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงธรรม ทรงศีล สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ถวายศีล และถวายพระธรรมเทศนา เรื่อง “ทุลลภธรรมกถา” จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ และทรงทอดผ้าไตร จำนวน 2 เที่ยว เที่ยวละ 14 ไตร พระสงฆ์ที่สวดพระพุทธมนต์ และถวายพระธรรมเทศนา สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ และพระอัฐิเสร็จแล้ว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา แล้วเสด็จฯ ไปทรงกราบพระพุทธรูปประจำพระชนมวารคู่พระบรมอัฐิ และพระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบุพการี ที่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลา และทรงกราบถวายบังคมพระบรมอัฐิ และพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี ที่หน้าพระแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วเสด็จออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ[3]
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567
แก้เวลา 10.27 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกมหาสมาคมทรงรับการถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง โอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลในในนามพระบรมวงศานุวงศ์ จากนั้น เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในนามคณะรัฐมนตรี ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน และประชาชน, วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ในนามรัฐสภา และ อโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา ในนามข้าราชการฝ่ายตุลาการ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคล โดยมีพระเต้าปทุมนิมิตทอง นาก เงิน บรรจุน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ด้านหน้า[4]
จบแล้ว พระราชดำรัส มีความว่า
ท่านทั้งหลายผู้มีความรักในชาติบ้านเมือง ย่อมปรารถนาให้ชาติบ้านเมืองมีความผาสุกมั่นคง และประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ในการนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกท่าน ผู้อยู่ในตำแหน่งสำคัญของชาติ จะต้องบำเพ็ญกรณียกิจทุกอย่าง โดยมีเป้าหมายสูงสุดเป็นอย่างเดียวกัน คือให้ประเทศชาติมีความรุ่งเรืองก้าวหน้าอย่างยั่งยืน อันจะทำให้ประชาชนทุกคนในชาติ มีความสุขความเจริญและความมั่นคงในชีวิตอย่างแท้จริง หากทุกท่านทำความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันในข้อนี้ แล้วตั้งใจปฏิบัติภาระหน้าที่ของตน ให้บรรลุผลเป็นประโยชน์สูงสุด งานของชาติก็จะดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง.[5]
— พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เวลา 17.20 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยเสด็จด้วย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนสัญญาบัตร พัดยศ ผ้าไตร แด่บรรพชิตจีน จำนวน 10 รูป และบรรพชิตญวน จำนวน 9 รูป ที่ทรงตั้งสมณศักดิ์ใหม่ และทรงประเคนพัดรองที่ระลึกพระราชพิธีฯ แด่บรรพชิตจีนและญวน ทรงรับการถวายพระพร แล้วเสด็จเข้าพระอุโบสถ ทรงประเคนพัดรองที่ระลึกแด่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ จำนวน 5 รูป จากนั้น ทรงจุดเทียนพระมหามงคลที่ตั้งอยู่บนธรรมาสน์ศิลา เทียนเท่าพระองค์ในตู้ข้างธรรมาสน์ศิลาด้านพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ เทียนเท่าพระองค์ในตู้ข้างธรรมาสน์ศิลา ด้านพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย เสร็จแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองใหญ่ที่หน้าธรรมาสน์ศิลา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองทิศ แล้วประทับพระราชอาสน์ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) ประธานพระครูพราหมณ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบสมิต ช่อที่ 1 ทรงรับแล้วทรงปัดพระกรซ้าย ทรงรับใบสมิต ช่อที่ 2 แล้วทรงปัดพระกรขวา ทรงรับใบสมิต ช่อที่ 3 แล้วทรงปัดพระอุระจนถึงพระบาท แล้วทรงรับน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์พิธีพราหมณ์และทรงแตะที่พระนลาฏ ทรงรับใบมะตูม ทรงทัดที่พระกรรณขวา จากนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนที่โต๊ะหน้าอาสน์สงฆ์ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ และทรงจุดเทียนที่บัตรเทวดานพเคราะห์บนแท่นซึ่งตั้งอยู่ตรงพระทวารกลาง เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมพระศิวลึงค์ทองคำ ประธานพระครูพราหมณ์ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระศิวลึงค์ทองคำ แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเสด็จลงชานหน้าพระอุโบสถพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้สูงอายุฝ่ายหน้า ฝ่ายใน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานราชสังคหวัตถุ เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับเสด็จ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
เวลา 17.54 น. เสด็จเข้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแล้ว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วประทับพระราชอาสน์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อาลักษณ์อ่านประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล เป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล จากนั้น ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์ พระราชทานใบมะตูม และทรงเจิม พระราชทานพระสุพรรณบัฏ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 2 พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เจ้าพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร และดุริยางค์ เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคนหิรัญบัฏ พัดยศและเครื่องประกอบสมณศักดิ์แด่พระราชาคณะเจ้าคณะรอง และทรงประเคนสัญญาบัตร พัดยศ แด่พระสงฆ์ที่ได้ทรงตั้งสมณศักดิ์ใหม่ ตามลำดับ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เจ้าพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์ เสร็จแล้ว พระราชทานสัญญาบัตรแก่พระครูพราหมณ์ประจำพระราชสำนัก ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก จากนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคนพัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) และสมเด็จพระราชาคณะ จากนั้น ทรงประเคนพัดรองที่ระลึกฯ แด่พระราชาคณะเจ้าคณะรอง และพระราชาคณะ จำนวน 73 รูป เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงจุดเทียนพระมหามงคลที่พระแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เทียนเท่าพระองค์ในตู้ข้างพระแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป เทวรูปเทวดานพเคราะห์องค์อภิบาลพระชนมพรรษา จากนั้น ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพานทองสองชั้น บูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลที่ 9 และพระพุทธรูปประจำพระชนมวารรัชกาลที่ 9 ที่หน้าพระแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ ทรงศีล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) ถวายศีล จบแล้ว พระสงฆ์ 73 รูป เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบททำน้ำพระพุทธมนต์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนที่ฝาครอบพระกริ่งปวเรศ จากนั้น ทรงประเคนพระครอบพระกริ่งปวเรศแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราช แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จบแล้ว ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการหน้าพระแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงรับการถวายความเคารพของผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ[6]
วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567
แก้เวลา 10.15 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ไปในการพระราชกุศลเลี้ยงพระ เทศน์มงคลวิเศษ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฝ้าฯ รับเสด็จ ครั้นเสด็จฯ ถึงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป เทวรูปเทวดานพเคราะห์องค์อภิบาลพระชนมพรรษา ด้านพระราชอาสน์ และด้านพระบรมวงศ์เฝ้าฯ เสร็จแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพานทองสองชั้น บูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 และพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รัชกาลที่ 9 ที่หน้าพระแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ จากนั้น ประทับพระราชอาสน์ พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์จำนวน 73 รูป และพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ 5 รูป ถวายพรพระ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนปิ่นโตภัตตาหารแด่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) ปิ่นโตภัตตาหารนอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ฯ ให้ พระราชวงศ์ องคมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประเคนจนครบ 78 รูป เสร็จแล้ว ทรงจุดเทียนดูหนังสือเทศน์พระราชทานแก่เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญไปปักที่จงกลธรรมมาสน์ ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ถวายศีล และถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเศษ กัณฑ์ 1 เรื่อง “พระมงคลวิเสสกถา” จบแล้ว พระสงฆ์ถวายพระพรคาถาพิเศษ เสร็จแล้ว ทรงพระราชอุทิศปล่อยปลา ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล เสด็จไปทรงปล่อยปลา ณ ท่าราชวรดิฐ จากนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์แด่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) แล้วทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง และพระราชาคณะ จนครบ 78 รูป ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา แล้วเสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการที่หน้าพระแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เสด็จพระราชดำเนินกลับ[7]
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567
แก้เวลา 17.22 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออกพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะทูตานุทูตและผู้แทนฝ่ายกงสุล เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยืนบนพระแท่นออกขุนนางหน้าพระที่นั่งพุดตานถม ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พันโท สมชาย กาญจนมณี รองเลขาธิการพระราชวัง ปฏิบัติหน้าที่สมุหพระราชมณเฑียร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลเบิก ดาตุกโจจี แซมูเอล เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย คณบดีคณะทูต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอบความว่า
ท่านเอกอัครราชทูต ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ท่านทั้งหลายมาชุมนุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ เพื่ออำนวยพรด้วยความปรารถนาดี ในวันเกิดครบ 6 รอบของข้าพเจ้า ขอสนองพรและ ไมตรีจิตของทุกท่าน ด้วยความจริงใจเช่นเดียวกัน คำอำนวยพรที่ท่านคณบดีคณะทูตได้กล่าวในนามของคณะทูตานุทูต กงสุลต่างประเทศ และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศของเรา ให้งอกงามแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นนั้น น่าประทับใจอย่างยิ่ง ประเทศไทยเรามีนโยบายอันแน่นอนเสมอมาที่จะจรรโลงรักษาสัมพันธไมตรีและให้ความร่วมมือกับประเทศผู้เป็นมิตรทั้งปวง เพราะหากนานาประเทศได้ประสานความร่วมมือกัน ด้วยความเมตตาจริงใจและความเคารพนับถือซึ่งกันและกันแล้วมิตรภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างชาติและความผาสุกสงบอันยั่งยืน ก็จะดำรงมั่นคงอยู่ในโลกได้อย่างแท้จริง ข้าพเจ้าจึงใคร่จะกล่าวยืนยันแก่ทุกท่าน ถึงศรัทธาความเชื่อมั่นอันไม่เสื่อมคลายนี้ ทั้งจะพยายามส่งเสริมสัมพันธไมตรีที่มีอยู่ ให้ยิ่งเจริญงอกงามและธำรงยั่งยืนสืบไป ขออำนวยพรให้ท่านและครอบครัวมีความสุขความเจริญ และความสำเร็จในภาระหน้าที่ทุกอย่าง ทั้งขอให้ประเทศและประชากรซึ่งท่านเป็นผู้แทนอยู่ในราชอาณาจักรนี้ มีความรุ่งเรืองไพบูลย์ตลอดไป
จบแล้วพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฏิสันถารกับคณะทูตานุทูตและผู้แทนฝ่ายกงสุล สมควรแก่เวลา เสด็จลงมุขหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ[8]
วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2567
แก้เวลา 15.11 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังท่าวาสุกรี เพื่อประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร โดยเสด็จในการนี้ด้วย
ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ประกอบด้วยเรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ความยาว 1,280 เมตร ความกว้าง 90 เมตร ใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธีรวม 2,412 นาย มีเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรืออัญเชิญผ้าพระกฐิน เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งสำรอง นอกจากนี้ยังมีเรือพระราชพิธีอื่น เช่น เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เป็นต้น[9]
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พุทธศักราช 2567
แก้เวลา 16.32 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร โดยเสด็จในการนี้ด้วย ต่อจากนั้น เสด็จออกจากพระอุโบสถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระมกุฏพันธนเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ ทรงวางพวงมาลัย และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะพระมกุฏพันธนเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ ทรงกราบ เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระมณฑปรอยพระพุทธบาท เสด็จเข้าพระมณฑปรอยพระพุทธบาท ทรงวางพวงมาลัย และทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการท้ายที่นั่งสักการะรอยพระพุทธบาท ทรงกราบ จากนั้น เสด็จออกจากพระมณฑปรอยพระพุทธบาท ไปประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว สนามกีฬาโรงเรียนอนุบาลวัดพระพุทธบาท เพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ[10]
รัฐพิธี
แก้รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 พิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ซึ่งกำหนดจัดที่ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง และ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
- วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงร่วมงานสโมสรสันนิบาต ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
- วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จะทรงเป็นองค์ผู้บัญชาการกองผสมสวนสนาม[11]
กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
แก้สำหรับภาคประชาชน รัฐบาลไทยได้กำหนดขอบเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยมีการผลิตและเผยแพร่สารคดี ข้อมูล ภาพประกอบ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ[12] เช่น การจัดพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย, การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล, การจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน, พิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล, การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล, การจัดพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา, การจัดงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ และการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นต้น[13]
การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก
แก้รัฐบาลไทยได้จัดพิธีสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก ได้แก่พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระธาตุกบิลพัสดุ์" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 19 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพิพิธภัณฑ์กรุงนิวเดลี และพระอรหันตธาตุจากพุทธวิหาร สถูปสาญจี รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่ประเทศไทย ตามโครงการ "ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุจากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง" ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2,567 ปี ที่มีการจัดพิธีสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวกพร้อมกัน[14][15]
การประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร
แก้รัฐบาลอินเดียได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุออกจากท่าอากาศยานกองทัพอากาศปาลาม ประเทศอินเดีย[16] มายังท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ใกล้กับท่าอากาศยานดอนเมือง และกระทรวงวัฒนธรรมได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์[17] จากนั้นในวันถัดมา (23 กุมภาพันธ์) เวลา 16:00 น. มีการจัดริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง และเมื่อเวลา 17:00 น. มีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุขึ้นประดิษฐานบนมณฑปที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) เสด็จเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ และเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานฝ่ายฆราวาส[18] โดยพิธีนี้มีการถ่ายทอดสดทางช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี และเอ็นบีที 2 เอชดี[19]
จากนั้นรัฐบาลไทยได้เปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา จนถึง 3 มีนาคม เวลา 09:00 - 20:00 น.[20] ก่อนขยายเวลาเพิ่มตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็นเวลา 08:00 - 21:00 น.[21] และวันที่ 2 และ 3 มีนาคม เป็นเวลา 07:00 - 21:00 น. ตามลำดับ[22] ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะ พร้อมทั้งพระราชทานไฟประจำทั้งมณฑปหลักบริเวณท้องสนามหลวง และมณฑปส่วนภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 09:00 น.[23]
การประดิษฐานในส่วนภูมิภาค
แก้หลังจากเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุในกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลไทยจะอัญเชิญไปประดิษฐานใน 3 จังหวัดส่วนภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้เข้าสักการะบูชา ได้แก่[20]
- ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 5 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 10-13 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จังหวัดอุบลราชธานี
- ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) จังหวัดกระบี่
โดยเปิดให้ประชาชนสักการะตั้งแต่เวลา 09:00 - 20:00 น. ของทุกวัน และตั้งแต่เวลา 17:00 น. ของแต่ละวัน มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับศาสนิกชน[20] และหลังจากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม ได้จัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุกลับมายังกรุงเทพมหานคร และส่งมอบคืนให้แก่รัฐบาลอินเดีย[24]
พิธีจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์
แก้วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:59 น. กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วราชอาณาจักร ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ จำนวน 107 แหล่ง ซึ่งเป็นแหล่งเดียวกับที่เคยใช้ทำน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เพื่อนำมาจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ[25] จากนั้นได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์มาประกอบพิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ ณ พระอารามสำคัญของจังหวัดต่าง ๆ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม[26] และจัดพิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำพระพุทธมนต์ในเวลาเที่ยงของวันที่ 8 กรกฎาคม[27] ก่อนทั้ง 76 จังหวัดจะส่งคนโทน้ำไปเก็บรักษาไว้ที่ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม[28] ส่วนกรุงเทพมหานครได้ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง และนำไปเก็บรักษาที่กระทรวงมหาดไทยทันทีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม[29] จากนั้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ได้เชิญคนโทน้ำของทั้ง 76 จังหวัด รวมถึงของกรุงเทพมหานคร ไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร[30] และประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์รวมเมื่อเวลา 15:20 น. โดยมีสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส[31]
พิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์
แก้เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เหล่าทัพโดย กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณจึงกราบบังคมทูลพระกรุณาเชิญเสด็จพระราชดำเนินในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เป็นครั้งแรกในรัชกาล[32]
วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567
เวลา 17.20 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พระลานพระราชวังดุสิต ในโอกาสนี้ พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเป็นองค์ผู้บังคับกองผสม และพลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงเป็นองค์ผู้บังคับกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ ในพิธีดังกล่าว ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงรอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ พลับพลาที่ประทับ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ทางประตูภูธรลีลาศ ถึงยังพระลานพระราชวังดุสิต องค์ผู้บังคับกองผสม พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงสั่งกองผสมถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากนั้น องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงวิ่งจากแถวหน้ากองบัญชาการกองผสม ไปยังจุดถวายความเคารพ องค์ผู้บังคับกองผสมถวายความเคารพ กราบบังคมทูลรายงาน และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ทรงตรวจพลสวนสนา องค์ผู้บังคับกองผสม ถวายรายงาน ความว่า
ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นผู้บังคับกองผสม นำทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จำนวน 11 กองพัน ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพลสวนสนาม พระพุทธเจ้าข้าขอรับ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
เมื่อองค์ผู้บังคับกองผสม กราบบังคมทูลรายงานจบแล้ว เสด็จฯ ไปยังรถยนต์พระที่นั่ง ประทับยืนบนรถยนต์พระที่นั่งตรวจพล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับยืนบนรถยนต์พระที่นั่ง ทรงตรวจพลสวนสนามโดยรถยนต์พระที่นั่งจำนวน 11 กองพัน ซึ่งประกอบด้วย กรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์, กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ, กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์, กองพันทหารอากาศโยธิน 3 กรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน, กองพันทหารม้าที่ 25 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์, กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 102 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์, กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 และกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
เมื่อทรงตรวจพลสวนสนามเสร็จ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นพลับพลาที่ประทับ ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ ประทับพระราชอาสน์ ณ พระที่นั่งชุมสาย พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงวิ่งกลับมาประจำจุดยืนหน้าแถว กองบัญชาการกองผสม และทรงสั่ง กองผสมเรียบ-อาวุธ แตรเดี่ยวเป่าสัญญาณเตรียมตัว 2 จบแล้ว องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงสั่งกองผสมจัดแถวเตรียมสวนสนาม ทรงสั่งกองผสมแบก-อาวุธ แตรเดี่ยวเป่าสัญญาณหน้าเดิน 2 จบ ขณะนั้นวงดุริยางค์บรรเลงเพลงมาร์ชราชวัลลภ อันอันเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 7 ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ. 2491 ชื่อ “ราชวัลลภ” และพระราชทานให้เป็นเพลงประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เพื่อไว้ใช้ในพิธีสวนสนาม แล้วองค์ผู้บังคับกองผสม และพลสวนสนามจึงเริ่มเดินพร้อมกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับยืน ณ มุขพลับพลาพิธี หน้าพระที่นั่งชุมสาย ทรงรับการถวายความเคารพจากองค์ผู้บังคับกองผสม ธงชัยเฉลิมพล และกำลังพลสวนสนาม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงร่วมประทับยืน ณ มุขพลับพลาพิธีหน้าพระที่นั่งชุมสาย พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงสวนสนามผ่านพลับพลาที่ประทับ เสด็จขึ้นพลับพลาที่ประทับ แล้วประทับยืน ณ หน้าพระที่นั่งชุมสาย ทรงรับการถวายความเคารพจากแถวทหาร กรมสวนสนาม จำนวน 4 กรม 11 กองพัน ตามลำดับ
จากนั้นเวลา 17.55 น. พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับกองพันทหารม้ารักษาพระองค์” ทรงม้า “Fürst Henry” (ฟรุ๊ต เฮนรี่) อายุ 14 ปี เพศผู้ตอน สีดำ สายพันธุ์ ดัตช์ วอร์มบลัด (KWPN) จากประเทศเนเธอร์แลนด์ นำขบวนกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ 1 กองพันเข้ามายังหน้าพลับพลาพิธี
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ประทับพระราชอาสน์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลโทรัฐพล ธูปประสม เจ้ากรมสารบรรณทหาร เข้าเฝ้าฯทูลเกล้าถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พันโทหญิงวลัยลักษณ์ อาวรณ์ หัวหน้าปรับปรุงโครงการ สำนักงานปลัดบัญชีทหาร เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
สําหรับพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์นั้น เป็นพิธีที่มีความหมายอย่างยิ่งต่อ ทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าทัพ ที่จะเป็นโอกาสพิเศษในการถวายความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ผู้เป็นจอมทัพไทย โดยได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช 2496 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปพระราชทานธงชัยเฉลิมพลแก่หน่วยทหาร ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันสถาปนากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต ซึ่งพระองค์เสด็จพระราชดําเนินทรงตรวจพลสวนสนาม รับการถวายความเคารพจากขบวนทหารจํานวน 4 กองพัน โดยทรงพระดําเนินในฉลองพระองค์ เครื่องแบบเต็มยศของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ที่จัดขึ้นเป็นประจําทุกปีอย่างต่อเนื่องนับแต่นั้นมา
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร-ตํารวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และวันกองทัพไทย ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี นับเป็นครั้งแรกที่มีการสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนร่วมกัน ระหว่างกําลังพลของทหารและตํารวจ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จึงถือเป็นโอกาสอันสําคัญยิ่งของหน่วยทหารรักษาพระองค์ จากเหล่าทัพต่างๆ ที่พร้อมใจกันกระทําพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการแสดงให้ประชาชน ชาวไทยได้ประจักษ์ว่า ทหารรักษาพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่ ดํารงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ และถวายพระเกียรติยศสูงสุด แด่พระมหากษัตริย์ด้วยชีวิต[33]
การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว)
แก้รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนได้เห็นชอบร่วมกันให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเขี้ยวแก้ว จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มาประดิษฐานในประเทศไทยที่กรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราว เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์จีน–ไทย ในปี พ.ศ. 2568 โดยเป็นครั้งที่ 17 ที่รัฐบาลจีนอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปประดิษฐานในต่างประเทศ และเป็นครั้งที่ 2 ที่ประดิษฐานในประเทศไทย โดยครั้งเรกเคยประดิษฐานเมื่อปี พ.ศ. 2545 ที่พุทธมณฑล[34]
รัฐบาลไทยได้จัดสร้างมณฑปประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วที่ท้องสนามหลวง มีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและศิลปะจีน โดยมีพิธีบวงสรวงเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567[35] จากนั้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นำคณะจากประเทศไทยเดินทางไปยังวัดหลิงกวงเพื่อรับมอบพระเขี้ยวแก้ว และอัญเชิญออกจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง มายังท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ในประเทศไทย จากนั้นอัญเชิญไปตามขบวนรถผ่านสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์จีน–ไทย และสิ้นสุดที่ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์[36] ต่อจากนั้นมีริ้วบวนจำนวน 24 ริ้วขบวน อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปต่อและนำขึ้นประดิษฐานบนมณฑปที่ท้องสนามหลวงเมื่อเวลา 17:30 น. โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส[37] โดยพิธีนี้มีการถ่ายทอดสดทางเอ็นบีที 2 เอชดี[38]
จากนั้นรัฐบาลไทยได้เปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระเขี้ยวแก้วตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 9, วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ จนถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 07:00 - 20:00 น. ก่อนส่งมอบคืนให้แก่รัฐบาลจีนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์[39] ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะ พร้อมทั้งพระราชทานไฟประจำมณฑปเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.11 น.[40]
เพลงเฉลิมพระเกียรติ
แก้ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ได้มีการแต่งเพลงเฉลิมพระเกียรติขึ้นมาทั้งหมด 2 เพลง ได้แก่
ปณิธานของใจ
แก้เพลง ปณิธานของใจ เป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จัดทำขึ้นโดย บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติและเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยร่วมกันดูแลรักษาแผ่นดินไทยให้เติบโต ร่มเย็น ใต้ร่มพระบารมีของพระองค์ ประพันธ์คำร้องโดย วิเชียร ตันติพิมลพันธ์ ทำนองโดย สราวุธ เลิศปัญญานุช ขับร้องโดย ศรัณย์ คุ้งบรรพต[41] และ บริษัท มิวซิกมูฟ จำกัด ยังได้จัดทำเพลงนี้ในเวอร์ชั่นรวมศิลปินอีกด้วย ขับร้องโดย สหรัถ สังคปรีชา, วฤตดา ภิรมย์ภักดี, อานนท์ สายแสงจันทร์, กุลกรณ์พัชร์ เมอร์นาร์ด, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล และ รณเดช วงศาโรจน์ โดยทั้ง 2 เวอร์ชั่นนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธี
ตามรอยความดี
แก้เพลง ตามรอยความดี เป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จัดทำขึ้นโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยร่วมกันทำความดีตามแนวพระราชดำริของพระองค์ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย ปิติ ลิ้มเจริญ และเรียบเรียงเสียงประสานโดย สราวุธ เลิศปัญญานุช ขับร้องโดยศิลปินจำนวน 23 คน เช่น ธงไชย แมคอินไตย์, ใหม่ เจริญปุระ, รัดเกล้า อามระดิษ, พลพล พลกองเส็ง นภัสสร สุวรรณานนท์ ปิยนุช เสือจงพรูเป็นต้น โดยเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2567[42]
ตราสัญลักษณ์
แก้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ | |
---|---|
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เริ่มใช้ | 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
เครื่องยอด | พระมหาพิชัยมงกุฎ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร |
โล่ | อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. อยู่บนรูปทรงของเพชรสีขาบ ล้อมรอบด้วยเพชร 72 เม็ด เท่าพระชนมพรรษาฯ |
ประคองข้าง | คชสิงห์ ราชสีห์ และ พญานาค |
คำขวัญ | พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ |
ส่วนประกอบอื่น | ฉัตร 7 ชั้น สองข้าง ดอกจำปา อุณาโลม เลข ๑๐ เพชร แถบสีเขียว ลวดลายเฟื่องอุบะและลวดลายดอกรวงผึ้ง ตัวเลข ๗๒ ไทย |
การใช้ | พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 |
ตราสัญลักษณ์ของพระราชพิธีนี้ ประกอบด้วย อักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. อยู่ตรงกลาง อักษร ว ใช้สีขาวนวล สีแห่งวันจันทร์วันพระบรมราชสมภพ ตามคติมหาทักษา อักษร ป ใช้สีเหลือง วันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และอักษร ร ใช้สีฟ้า วันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อยู่บนรูปทรงของเพชร อันหมายถึง พระปรมาภิไธย “มหาวชิราลงกรณ” เพชรสีขาบ (สีน้ำเงินแก่อมม่วง) อันเป็นสีของพระมหากษัตริย์ ภายนอกกรอบของเพชร ประกอบด้วยแถบสีเขียว ซึ่งเป็นสีแห่งเดชวันพระบรมราชสมภพ ประดับด้วยเพชร 72 เม็ด หมายถึง พระชนมพรรษา 72 พรรษา
เบื้องบนของตราสัญลักษณ์ ประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ แสดงถึงการทรงเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แสดงถึงพระบรมเดชานุภาพแผ่กระจายไปไกลทั่วทุกหนแห่ง เพื่อปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ทั่วทั้งแผ่นดิน ยอดจงกลฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์ ดอกจำปาทองห้อยระบายชั้นล่างนพปฎลมหาเศวตฉัตร 8 ดอก หมายถึง พระบารมีแผ่ไปทั่วทั้ง 8 ทิศ เลข ๑๐ ไทย ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
เบื้องล่างปลายแถบแพร เบื้องขวามีรูปคชสีห์กายสีม่วงชมพูประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึงข้าราชการฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดิน เบื้องล่างประกอบด้วยลวดลายพญานาคกายสีเขียว อันแสดงถึงนักษัตรปีมะโรงอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ แพรแถบสีส้มขลิบทองซึ่งเป็นสีแห่งมูละของวันพระบรมราชสมภพ ภายในแพรแถบมีข้อความว่า "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗" ใต้อักษรพระปรมาภิไธย ประกอบด้วยตัวเลข ๗๒ ไทย หมายถึงพระชนมพรรษา ลวดลายเฟื่องอุบะและลวดลายดอกรวงผึ้ง ดอกไม้ประจำพระองค์มีสีทอง อันหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนและประเทศชาติ[43]
การใช้ตราสัญลักษณ์
แก้คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้ขอความร่วมมือให้สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องแสดงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีนี้ตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 00:01 น. และให้แสดงตราสัญลักษณ์นี้ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2567 นั่นคือ ให้แสดงจนถึงเมื่อวันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 24:00 น.[44]
การมอบตราสัญลักษณ์
แก้รัฐบาลไทยได้จัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 16:00 น. โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ การจัดงานในครั้งนี้และมอบให้แก่หน่วยงานของรัฐบาล 19 กระทรวง สำนักนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด (ผ่านระบบ ZOOM) และสื่อมวลชน 35 หน่วย[45]
สิ่งที่ระลึก
แก้สถานที่
แก้สะพานทศมราชัน
แก้สะพานทศมราชัน เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเส้นทางทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ภายใต้การดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลพิจารณาให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลทั้งหมด 2 วาระ คือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในช่วงเริ่มก่อสร้าง และพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในช่วงการเปิดสะพาน โดยมีการออกแบบสะพานให้สื่อถึงพระองค์ในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้[46][47]
- ชื่อสะพาน "ทศมราชัน" เป็นชื่อพระราชทาน หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10
- ยอดเสาสะพาน เปรียบเสมือนฝ่าพระหัตถ์ของพระองค์
- ตราพระปรมาภิไธยย่อ วปร. บนคานสะพาน (ต่อมาปรับเปลี่ยนเนื่องจากพระองค์พระราชทานตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำมาติดตั้งบนคานสะพานแทน)
- สายเคเบิลสีเหลือง สีประจำวันจันทร์ วันพระบรมราชสมภพของพระองค์
- ประติมากรรมพญานาค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมะโรง นักษัตรประจำปีพระบรมราชสมภพของพระองค์ คือ พ.ศ. 2495
- เสาขึงรั้วกันกระโดด สื่อถึงต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์
โดยกำหนดเดิม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสะพานทศมราชันในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งตรงกับช่วงพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ[47] ก่อนจะเลื่อนออกไปเพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยติดตั้งตราสัญลักษณ์พระราชพิธีที่ได้รับพระราชทานลงมา พร้อมทั้งป้ายชื่อสะพาน และรอให้การก่อสร้างทางขึ้นลงฝั่งสุขสวัสดิ์เสร็จสมบูรณ์[48] โดยเสด็จมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567[49] และเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568[50]
ซุ้มประตูวชิรสถิตและวชิรธำรง 72 พรรษา
แก้ซุ้มประตูวชิรสถิตและวชิรธำรง 72 พรรษา เป็นซุ้มประตูที่จัดสร้างโดยสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์จีน–ไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง บริเวณจุดแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 2 จุด คือ ซุ้มประตูวชิรสถิต 72 พรรษา หรือ "ซุ้มหัวมังกร" ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานดำรงสถิตข้ามคลองรอบกรุง (คลองถม) และ ซุ้มประตูวชิรธำรง 72 พรรษา หรือ "ซุ้มหางมังกร" ตั้งอยู่บริเวณแยกหมอมี โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี มาทรงเปิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2568
อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แก้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรือ Satellite 1 : SAT-1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568[51][52]
เหรียญและแพรแถบที่ระลึก
แก้เหรียญราชอิสริยาภรณ์ ลักษณะเป็นเหรียญกลม ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร ทําด้วยเงิน ด้านหน้ากลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบ เต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ด้านหลัง กลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗” ด้านหน้าขอบนอกเหรียญเบื้องบนมีเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องหลังประดิษฐานพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เบื้องล่างด้านขวามีเลข ๗ ด้านซ้ายมีเลข ๒ ด้านหลังขอบนอกเหรียญ มีห่วงสําหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบกว้าง 32 มิลลิเมตร พื้นของแพรแถบเป็นสีขาวนวล หมายถึง น้ำพระราชหฤทัยอันบริสุทธิ์ผุดผ่องประกอบไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาที่เปี่ยมล้น ที่พระองค์มอบสู่พสกนิกรของพระองค์ ทั้งสองข้างมีริ้วสีเหลืองข้างละ 2 ริ้ว สีเหลืองเป็นสีประจําวัน พระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ และมีริ้วสีม่วงข้างละ 1 ริ้ว ริ้วสีม่วงเป็นสีประจําวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงเคียงคู่บุญบารมีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สําหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ[53]
เข็มที่ระลึก
แก้เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานเดียวที่ดำเนินการจัดทำเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ สำหรับจำหน่ายให้แก่ประชาชนเพื่อใช้ประดับ และเก็บไว้เป็นที่ระลึกในราคาเข็มละ 300 บาท โดยนำเงินรายได้ภายหลังหักค่าใช้จ่าย เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ ได้จัดทำโดยช่างฝีมือผู้มีความชำนาญ จัดทำด้วยความประณีต ละเอียดอ่อน สวยงาม สมพระเกียรติ และมีคุณค่า เหมาะสำหรับเก็บไว้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ ทั้งนี้ สามารถสั่งจองได้ที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป โดยจองผ่านเว็บไซต์ Thailandpostmart.com หรือที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ ซึ่งผู้สั่งจองจะได้รับเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ ประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567[54]
และในการนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ร่วมกับบิ๊กซี จำหน่ายเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ ให้กับประชาชนทั่วไปในราคาเข็มละ 300 บาท โดยเริ่มจำหน่ายที่บิ๊กซี 208 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป[55] และสามารถสั่งจองได้ที่บิ๊กซีมินิทุกสาขาทั่วประเทศ (โดยสั่งจองล่วงหน้า 7 วัน) [ต้องการอ้างอิง]
เสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ ฯ
แก้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดสั่งจองเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 อีกทั้งยังมีการอนุญาตให้ผลิตเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งตอนนี้มีร้านค้าที่ได้รับอนุญาตให้จัดทำเสื้อประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนสามารถหาซื้อได้ตามสะดวก[ต้องการอ้างอิง]
แสตมป์พระราชพิธี
แก้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำแสตมป์เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ออกจำหน่าย 2 ชุด ดังนี้[56]
- แสตมป์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ในฉลองพระองค์ครุยบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ บนพื้นหลังสีเหลือง อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ ประกอบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีฯ โดยใช้เทคนิคการพิมพ์พิเศษปั๊มดุนนูนบริเวณตราสัญลักษณ์ดังกล่าว พร้อมซิลค์สกรีนกลิตเตอร์สีทอง บริเวณฉลองพระองค์ จำหน่ายราคาดวงละ 25 บาท (เต็มแผ่น 4 ดวง) ซองวันแรกจำหน่าย 58 บาท มีกำหนดวางจำหน่ายในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2568
- แสตมป์ที่ระลึกซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เป็นแสตมป์ที่ระลึกที่จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพิธีเปิดซุ้มประตูวชิรสถิตและวชิรธำรง 72 พรรษา ที่จัดสร้างโดยสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีทั้งหมด 4 แบบ นำเสนอภาพด้านหน้า - หลังซุ้มประตูทั้ง 2 ซุ้ม จำหน่ายราคาชุดละ 30 บาท (10 บาท 2 ดวง และ 5 บาทอีก 2 ดวง) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2568 ซึ่งตรงกับวันเปิดซุ้มประตูดังกล่าว
ธนบัตรที่ระลึก
แก้วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงข่าวการออกใช้ธนบัตรที่ระลึก เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสแลกธนบัตรไว้เป็นที่ระลึก และมีส่วนร่วมในการแสดงความจงรักภักดี โดย ธปท. จัดทำธนบัตรที่ระลึกในชนิดราคา 100 บาท จำนวนทั้งสิ้น 10 ล้านฉบับ ออกแบบธนบัตรเป็นแนวตั้ง เพื่อให้พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความโดดเด่น งดงาม มีความพิเศษแตกต่างจากธนบัตรหมุนเวียนทั่วไป และจัดพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง บนวัสดุพอลิเมอร์ เพื่อให้มีความทนทาน รวมทั้งมีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงอย่างครบถ้วนธนบัตรที่ระลึกนี้สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยจ่ายแลกในราคาฉบับละ 100 บาท พร้อมกันนี้ ธปท. ได้จัดทำแผ่นพับสำหรับธนบัตรที่ระลึกดังกล่าว จำนวน 2 ล้านชุด เพื่อจำหน่ายในราคาชุดละ 10 บาท โดยรายได้จากการจำหน่ายแผ่นพับทั้งหมด จะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจ สามารถติดต่อขอแลกธนบัตรที่ระลึกนี้ได้ที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รวมถึงศูนย์การเรียนรู้ ธปท. ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป[57]
มหรสพสมโภช
แก้รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม จัดมหรสพสมโภชเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ระหว่างวันที่ 11–15 กรกฎาคม ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง[58] ประกอบด้วย พิธีบวงสรวงเทพยดา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม เวลา 8:19 น., ริ้วขบวนเฉลิมพระเกียรติฯ ในพิธีเปิดงาน, นิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ, การจัดแสดงสวนแสงเฉลิมพระเกียรติฯ, การแสดงบนเวทีย่อยระหว่างเวลา 17:00–18:30 น. และ ตลาดวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นต้น[59]
พิธีต่อเนื่อง
แก้พระราชพิธีสมมงคล
แก้หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบแล้ว ยังมีพระราชพิธีที่จัดขึ้นต่อเนื่องคือ พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2568 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 ที่เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 26,469 วันเท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[60] อนึ่ง พระราชพิธีนี้เคยจัดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2543[61]
พิธีบายศรีทูลพระขวัญ
แก้วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2568 มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือร่วมกับเจ้านายฝ่ายเหนือและจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดพิธีบายศรีทูลพระขวัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ถนนพระปกเกล้า อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[62]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "'ประชุม ครม.' แบบ 'เศรษฐาสไตล์' ข้อสั่งการมาก-ทำงานเร็ว-กำหนดเวลาตามงาน". กรุงเทพธุรกิจ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 ตุลาคม 2566". รัฐบาลไทย. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บําเพ็ญพระกุศลทักษิณานุปทาน เฉลิมพระชนมพรรษาในหลวง 6 รอบ เปิดให้พสกนิกรร่วมถวายพระพร". www.thairath.co.th. 2024-07-28.
- ↑ ปีติ ในหลวง เสด็จออกมหาสมาคม มีพระราชดำรัสขอบใจ ทรงให้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศ https://www.matichon.co.th/royal-celebration/news_4705821https://royalcelebration.matichon.co.th/ceremony/2785/
- ↑ "พระราชดำรัส ในหลวง เสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ". www.thairath.co.th. 2024-07-28.
- ↑ ในหลวง เสด็จฯ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
- ↑ ในหลวง พระราชินี เสด็จฯ การพระราชกุศลเลี้ยงพระ เทศน์มงคลวิเศษ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
- ↑ "คณะทูตานุทูต ถวายพระพรชัย ณ พระที่นั่งจักรี เนื่องในโอกาส ปีติ "มหามงคล" พระชนม์ 6 รอบ". www.thairath.co.th. 2024-07-31.
- ↑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิดกำหนดการพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณทหารรักษาพระองค์ 2567 (amarintv.com)
- ↑ "รัฐบาลเชิญชวนประดับธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา6รอบปี2567". โพสต์ทูเดย์. 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รัฐบาล เตรียมจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ "ในหลวง" 28 ก.ค. 2567". ไทยรัฐ. 8 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อัญเชิญ 'พระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ' จากอินเดียมาไทย". มติชน. 7 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วธ.จัดขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุยิ่งใหญ่". ไทยรัฐ. 20 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุฯ จากอินเดียถึงไทยแล้ววันนี้". ฐานเศรษฐกิจ. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ จากอินเดียถึงไทยแล้ว (ภาพชุด)". มติชน. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สมเด็จพระสังฆราช เสด็จอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานที่ท้องสนามหลวง". ข่าวสด. 23 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ถ่ายทอดสดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ สนามหลวง". ฐานเศรษฐกิจ. 23 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 20.0 20.1 20.2 "เปิดสักการะพระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ 24 ก.พ.-3 มี.ค." ไทยพีบีเอส. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ขยายเวลาสักการะ "พระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ" ณ ท้องสนามหลวง เป็นเวลา 08.00-21.00 น." พีพีทีวี. 27 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ศรัทธาหลั่งไหล ขยายเวลาไหว้พระบรมสารีริกธาตุที่สนามหลวงอีกครั้ง ใน 2 วันสุดท้าย เป็น 07.00-21.00 น." ผู้จัดการออนไลน์. 1 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ในหลวง ทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย พระราชทานไฟ ณ 4 มณฑป ถวายเป็นพุทธบูชา". ไทยโพสต์. 26 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สร้างมงคลชีวิต 24 ก.พ.นี้ ร่วมสักการะ "พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ" ณ ท้องสนามหลวง". พีพีทีวีออนไลน์. พีพีทีวี. 20 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กระทรวงมหาดไทยร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ". พีพีทีวี. 5 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ทั่วประเทศจัดพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เรียบร้อย พรุ่งนี้เตรียมสมโภช". มติชน. 7 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำพระพุทธมนต์ ฤกษ์ 12.00 น. วันนี้". มติชน. 8 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เชิญคนโทน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ 76 จังหวัด เก็บรักษาไว้ที่มหาดไทย". ไทยโพสต์. 14 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กทม. ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์-อัญเชิญคนโทน้ำศักดิ์สิทธิ์". ประชาชาติธุรกิจ. 13 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มหาดไทย เชิญคนโทน้ำพระพุทธมนต์ไปวัดโพธิ์ เตรียมประกอบพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์ 16.30 น.วันนี้". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "นายกฯ ประธานพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ". ไทยรัฐ. 25 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ หมายกำหนดการที่ ๑๗/๒๕๖๗ หมายกำหนดการพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
- ↑ isarin (2024-12-03). "ในหลวง เสด็จฯ พิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณ ทหารราชวัลลภ เทิดไท้จอมราชา". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "อัญเชิญ "พระเขี้ยวแก้ว" จากจีน-ไทย 4 ธ.ค.-14 ก.พ.68". ไทยพีบีเอส. 29 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รัฐบาลบวงสรวงสร้างมณฑปประดิษฐาน 'พระเขี้ยวแก้ว' จากจีน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว". มติชน. 30 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พระเขี้ยวแก้วจากจีน ถึงไทยแล้ว อัญเชิญประดิษฐานที่ท้องสนามหลวง". ประชาชาติธุรกิจ. 4 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พระเขี้ยวแก้ว ประดิษฐาน มณฑปพิธีท้องสนามหลวง เปิดสักการะ5 ธ.ค.67-14 ก.พ.68". ข่าวสด. 4 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ถ่ายทอดสด พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว มาประดิษฐานที่ไทย". กรุงเทพธุรกิจ. 4 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เชิญชวนประชาชนร่วมสักการะ 'พระเขี้ยวแก้ว' ตั้งแต่วันนี้ – 14 ก.พ. 68". เดอะสแตนดาร์ด. 5 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ในหลวง-พระราชินี เสด็จฯ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว)". สำนักข่าวไทย. 12 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ แต่งเพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในชื่อ ปณิธานของใจ". ข่าวช่อง 7HD. 28 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "จีเอ็มเอ็ม มิวสิค รวมใจศิลปินชั้นนำกว่า 20 ชีวิต ร่วมถ่ายทอดบทเพลง "ตามรอยความดี" เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567". ผู้จัดการออนไลน์. 25 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2024.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567". มติชน. 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เผยแพร่ตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567". สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่. 4 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รัฐบาลจัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567". กรมประชาสัมพันธ์. 26 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โครงการทางพิเศษสายพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่4". ยูทูบ. 11 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 47.0 47.1 "ปลื้มปีติ! พระราชทานชื่อ "ทศมราชัน" สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ข้ามเจ้าพระยา". เดลินิวส์. 30 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ติดตั้งป้ายชื่อสะพาน "ทศมราชัน" พร้อมตราสัญลักษณ์ฯ บนยอดเสาสะพานแล้ว เตรียมเปิดบริการ ธ.ค.นี้". เดลินิวส์. 24 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ในหลวง-พระราชินี ทรงเปิด "สะพานทศมราชัน" ทางพิเศษสายพระราม 3". ผู้จัดการออนไลน์. 14 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""กทพ." เปิดให้บริการแล้ว "สะพานทศมราชัน" เชื่อม "ทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง"". ฐานเศรษฐกิจ. 29 มกราคม 2025. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Pornchanok (2025-03-20). "ในหลวง-พระราชินี เสด็จฯ สนามบินสุวรรณภูมิ ทรงเปิดอาคาร SAT-1". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2025-04-01.
- ↑ Pulbangyung, Punnat. ""ในหลวง-ราชินี" เสด็จฯเปิด 20 มี.ค. มิ่งมงคลSat1-รันเวย์3"สุวรรณภูมิ"". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 2025-04-01.
- ↑ พระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
- ↑ "เปิดสั่งจอง เข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว". ไทยโพสต์. 29 มีนาคม 204. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ สยามรัฐ (1 June 2024). "บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำหน่ายเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว". สยามรัฐ. สยามรัฐ. สืบค้นเมื่อ 28 November 2024.
- ↑ "ไปรษณีย์ไทย เปิดจำหน่ายแสตมป์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา". ประชาชาติธุรกิจ. 23 มกราคม 2025. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ไทยรัฐ (21 June 2024). "ธนบัตรที่ระลึก เทิดพระเกียรติในหลวง เฉลิมพระชนม์ 6 รอบ แบงก์ชาติผลิตพิเศษ". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 28 November 2024.
- ↑ "จัดใหญ่ "มหรสพสมโภช" เฉลิมพระเกียรติ "ในหลวง" ครบ 6 รอบ ณ ท้องสนามหลวง". ผู้จัดการออนไลน์. 6 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รัฐบาลจัดมหรสพสมโภชครั้งยิ่งใหญ่ 5 วันเต็ม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 11-15 ก.ค.นี้ ณ ท้องสนามหลวง". ผู้จัดการออนไลน์. 12 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รัฐบาลเตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติในหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่า รัชกาลที่ 1". ไทยโพสต์. 18 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Laika (2019-09-10). "พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช". vajirayana.org.
- ↑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีบายศรีทูลพระขวัญ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ถนนพระปกเกล้า อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
- หมายกำหนดการที่ ๑๗/๒๕๖๗ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
ก่อนหน้า | พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 (4–6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
พระราชพิธีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567) |
รอประกาศ |